นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี (ที่ 4 จากซ้าย) นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (ที่ 3 จากซ้าย) นายไกรยสิทธิ์ อินทรพาณิชย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากซ้าย) นายคเณศ กาญจนแก้ว กรรมการผู้จัดการบริษัท อัลฟ่า คอม จำกัด (ที่ 4 จากขวา) ดร.พรรณวิกา พรรณโณภาศ นักวิจัยวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า (FRC) สถาบันวิทย
สิริเมธี (VISTEC) (ที่ 3 จากขวา) และดร. วนิดา เพ็ชรสังข์ ผู้อำนวยการโครงการ BLUE ENGENE บริษัท อัลฟ่า คอม จำกัด (ที่ 2 จากขวา) ร่วมพิธีเปิด "ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ (Mobile lab) ตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่ปนเปื้อนในสินค้าเกษตรส่งออก ด้วยเทคนิค CRISPR" โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
กรมวิชาการเกษตร และ บริษัท อัลฟ่า คอม จำกัด บริษัทย่อยของ ปตท. เพื่อสนับสนุนการทำงานของภาครัฐในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในผลไม้ส่งออก โดย Mobile lab นี้ เป็นการเก็บตัวอย่างและตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยเทคนิค CRISPR (คริสเปอร์) ซึ่งเป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID - 19) ได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนย้าย เพื่อให้บริการตรวจตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เสริมประสิทธิภาพการค้นหาเชิงรุก
โดยจะเริ่มนำร่องให้บริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่อาจปนเปื้อนอยู่บนทุเรียนที่เตรียมส่งออกในพื้นที่เขตภาคตะวันออก จำนวน 2,000 ตัวอย่าง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะยังไม่มีห้องแลบตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ปนเปื้อนในสินค้าเกษตร ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากประเทศจีน แต่ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและประเทศคู่ค้า อีกทั้งบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจและธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยในเวทีโลกให้เติบโต แข็งแกร่ง และเป็นศูนย์กลางการส่งออกทางการเกษตรที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียนต่อไป
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พาคลายข้อกังขากับบทความ "น้ำท่วมอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่" เคยสงสัยหรือเปล่าว่าหากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำจะไหลลงไปในอุโมงค์ของรถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่ ความรู้ทางวิศวกรรมได้เตรียมการป้องกันไว้อย่างไร เนื่องจากจุดที่น้ำสามารถเข้าไปได้มีอยู่ 3 จุด คือจุดแรก ทางเข้า-ออกสถานี จุดที่สอง คือ อาคารระบายอากาศ และจุดที่สาม คือ จุดที่รถไฟฟ้าใช้ในการขึ้นลงเพื่อซ่อมบำรุง หาคำตอบเติมเต็มความรู้กันได้ที่คลังความรู้ SciMath สสวท. https://www.scimath.org
วว. จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ …เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านการปกป้องดิน
—
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึ...
สสวท. ชวนครูเตรียมพร้อมรับเปิดเทอมกับ "ระบบจัดการเรียนรู้ออนไลน์ My IPST"
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนคุณครูเตรียมพร้อมรับเปิ...
FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
—
สถาบันเพิ่มผลผลิต...
สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น
—
สวทช. จับมือมูลนิธิ SO...
กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน
—
กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค...
สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...
วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
—
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...
วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...