กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เผยข้อมูลสถิติสาธารณภัยปี พ.ศ. 2565 ในรอบ 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน 2565 พบว่า ประเทศไทยได้เกิดสาธารณภัย แยกเป็น 8 ประเภทภัย ได้แก่ อุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม อัคคีภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในสัตว์ อาคารถล่ม และสารเคมี ซึ่งมีรายละเอียดโดยสรุปแยกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
ด้านพื้นที่ประสบสาธารณภัย ภาพรวมประเทศไทยมีพื้นที่ประสบสาธารณภัย รวม 13,370 หมู่บ้าน/ชุมชน โดยมีพื้นที่ประสบวาตภัยมากที่สุด จำนวน 9,704 หมู่บ้าน/ชุมชน ใน 75 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร รองลงมา ได้แก่ อุทกภัย มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 2,580 หมู่บ้าน/ชุมชน ใน 26 จังหวัด อัคคีภัย มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 956 หมู่บ้าน/ชุมชน ใน 72 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร โรคระบาดในสัตว์ (ลัมปี สกิน) มีพื้นที่ประสบภัย 72 หมู่บ้าน/ชุมชน ใน 3 จังหวัด สารเคมี มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 7 หมู่บ้าน/ชุมชน ใน 4 จังหวัด อาคารถล่ม มีพื้นที่ประสบภัย 6 หมู่บ้าน/ชุมชน ใน 3 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ดินโคลนถล่ม มีพื้นที่ประสบภัย 4 หมู่บ้าน/ชุมชน ใน 4 จังหวัด ทั้งนี้ ไม่มีพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งในภาพรวมแต่ละประเภทภัยส่วนใหญ่มีพื้นที่ประสบสาธารณภัยเพิ่มมากขึ้น
ด้านความเสียหาย แบ่งออกได้เป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่อยู่อาศัย 73,744 หลัง กลุ่มสถานที่ธุรกิจ 332 แห่ง กลุ่มพื้นที่การเกษตร 119,496 ไร่ กลุ่มปศุสัตว์ 1,352 ตัว กลุ่มประมง 278 บ่อ กลุ่มคมนาคม 1,106 แห่ง กลุ่มสาธารณประโยชน์ 364 แห่ง กลุ่มสาธารณูปโภค 183 แห่ง
ด้านผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ภาพรวมประเทศไทยมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากสาธารณภัย จำนวน 184 ราย แบ่งเป็น ผู้เสียชีวิต 59 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 125 ราย ใน 5 ประเภทภัย ได้แก่ อัคคีภัย 114 ราย วาตภัย 32 ราย อาคารถล่ม 21 ราย อุทกภัย 13 ราย และดินโคลนถล่ม 4 ราย
สำหรับข้อมูลสถิติสาธารณภัยที่ได้รวบรวมในครั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จะนำข้อมูลไปใช้ในการประกอบการพิจารณาและนำไปวางแผนในการบริหารจัดการสาธารณภัยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยในปัจจุบันของแต่ละพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลสถิติสาธารณภัยได้ที่ศูนย์ข้อมูลสาธารณภัยผ่านเว็บไซต์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย www.disaster.go.th นอกจากนี้ สามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน "THAI DISASTER ALERT" และหากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ "ปภ.รับแจ้งเหตุ1784" โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าวความพร้อมทดสอบการแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast
กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
—
นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
—
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...
'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...
สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์
—
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...
กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด
—
นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...
มท.1 มอบโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน ตามโครงการ "มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน" ในพื้นจังหวัดกาญจนบุรี
—
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ...
ธนชาตประกันภัย ห่วงความปลอดภัยนักดื่ม ด้วยบริการ "U Drink I Drive" สิทธิพิเศษให้ลูกค้า เมาไม่ขับ ส่งคนไปรับ-ขับพากลับบ้าน
—
ธนชาตประกันภัย ตอกย้ำบทบาทภาคี...