บริษัท บ้านปู (จำกัด) มหาชน ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ พร้อมแล้วที่จะส่งมอบทั้งความสนุกและสาระให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าผ่านบอร์ดเกม "EV City - ยานยนต์ไฟฟ้ามหานคร" ซึ่งเป็นการนำผลงานของน้องๆ ทีม TU Next นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ชนะการแข่งขันการประกวดบอร์ดเกมในโครงการ "Energy on Board by BANPU B-Sports Thailand 2021" ในหัวข้อ "Driving Thailand's E-mobility" เดิน (บอร์ด) เกม
ขับเคลื่อนอนาคตยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย มาพัฒนาต่อยอดร่วมกับบอร์ดเกมไนท์ (Board Game Night) หรือ BGN เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าให้กับคนรุ่นใหม่ผ่านบอร์ดเกม
นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส - สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ในระยะเวลากว่า 4 ปีที่บ้านปูได้ดำเนินโครงการ BANPU B-Sports Thailand เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ผ่านบอร์ดเกม ด้วยจุดประสงค์เริ่มต้นที่ต้องการให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ได้เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาทักษะด้าน Soft Skills และได้เรียนรู้เรื่องพลังงานที่สอดแทรกไปกับกิจกรรมในการออกแบบบอร์ดเกม ปลายปีที่ผ่านมาเราจึงได้จัดการประกวดบอร์ดเกม Energy on Board ขึ้น ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ "EV City - ยานยนต์ไฟฟ้ามหานคร" ที่ถ่ายทอดเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้คนให้ความสนใจ ออกมาเป็นเกมในรูปแบบใหม่ที่สนุกสนานและเข้าใจง่าย"
เบื้องหลังความสำเร็จของการสร้างสรรค์บอร์ดเกมนี้ มาจากไอเดียของน้องๆ ทีม TU Next และทีมงานจากกลุ่มธุรกิจยานพาหนะไฟฟ้าของบ้านปู ที่ร่วมแนะนำแนวทางและแบ่งปันความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้กับน้องๆ สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบ้านปูที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การส่งมอบพลังงานที่สะอาดและฉลาดยิ่งขึ้นตามกลยุทธ์ Greener & Smarter และการเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย รวมไปถึงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้กับคนทั่วไป บ้านปูจึงมุ่งหวังว่า บอร์ดเกม EV City จะเป็นจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจให้คนที่ได้เล่นเกม อยากมีส่วนร่วมในการผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยและเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ในอนาคต
ด้านนายอภิรักษ์ แก้วพวง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์ และนางสาว บำเพ็ญพร โซ่เงิน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยสหวิทยาการ สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ออกแบบเกม EV City กล่าวว่า "เกมนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากนโยบาย 30/30 ของภาครัฐ ที่ตั้งใจจะผลักดันให้ประเทศไทยผลิตยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ หรือ Zero Emission Vehicle (ZEV) ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ในประเทศ ภายในปี ค.ศ. 2030 ความท้าทายของเกมนี้คือ ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นบริษัทผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) และชาร์จจิ้ง สเตชั่น (Charging Station) ตามความต้องการของตลาด อีกทั้งยังต้องผลัดกันแสดงบทบาทเป็น "นายกสมาคมขับเคลื่อนอุตสาหกรรม EV แห่ง EV City" เพื่อกำหนดนโยบายต่างๆ อันจะเป็นตัวแปรสำคัญต่ออุตสาหกรรมและผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า โดยกลไลและการเดินเรื่องของเกมอ้างอิงจากสิ่งที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น การ์ดนโยบายสมาคม การ์ดความต้องการยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ และชาร์จจิ้ง สเตชั่น รวมถึงหลักอุปสงค์และอุปทานที่เกี่ยวข้องกับความผันผวนของราคาต้นทุนของอุปกรณ์ต่างๆอีกด้วย โดยผู้เล่นที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด ร่วมผลักดันอนาคตยานยนต์ไฟฟ้าของเมืองให้เติบโตตามเป้าหมาย และสร้างรายได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ"
และก่อนที่จะกลายมาเป็นบอร์ดเกม EV City ฉบับสมบูรณ์ เกมนี้ได้ถูกพัฒนางานศิลป์โดย นายภูวดล ทองนวม หรือคุณบุ่ย ผู้วาดภาพประกอบเกม ซึ่งได้เล่าให้เราฟังว่า "ความท้าทายของการวาดภาพประกอบเกมนี้คือ การทำให้เรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่มีรายละเอียดมากและดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อน กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายขึ้น จึงเลือกที่จะใช้การออกแบบในรูปแบบของไอโซเมตริก (Isometric) หรือภาพลักษณะสามมิติที่กำหนดมุมที่มองเห็นเป็นจุดเริ่มต้น มีมุมเอียงและสัดส่วนที่แน่นอน ทำให้เห็นรายละเอียดด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนชัดเจน เพื่อลดทอนรายละเอียดของเมือง ทำให้เห็นพื้นที่เกมและผังเมืองทั้งหมดจากมุมสูง ผู้เล่นสามารถมองภาพรวมของการสร้างส่วนประกอบต่างๆ ของเมืองได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งเนื้อเรื่องของเกม EV City มีความสนุก อิงกับสถานการณ์จริง จึงถือเป็นอีกหนึ่งเกมที่น่าติดตาม และน่าจะโดนใจคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจเรื่องยานยนต์ไฟฟ้า"
เตรียมพร้อมรับความสนุกกับบอร์ดเกม 'EV City - ยานยนต์ไฟฟ้ามหานคร' กันได้เร็วๆ นี้ ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ จากโครงการได้ที่เฟซบุ๊ก BANPU B-Sports Thailand: https://www.facebook.com/BanpuBSportsThailand
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน
รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives
—
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...
สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย
—
พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...
แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง
—
นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประ...
สวทช. คว้า 2 รางวัลผลิตสื่อสร้างสรรค์จากเวที Commu Max Competition จากผลงาน Thailand's Food Bank และ Innovation Grows@TSP
—
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนง...
AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน
—
นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ
—
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...
อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม
—
อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...
นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์
—
ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...