บริษัทอวกาศจีนคว้ารางวัลจากการแข่งขัน AI ระดับนานาชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สตาร์.วิชัน แอโรสเปซ กรุ๊ป ลิมิเต็ด (STAR.VISION AEROSPACE GROUP LIMITED) บริษัทนวัตกรรมเทคโนโลยีอวกาศสัญชาติจีน ได้รับรางวัลที่สองจากการแข่งขันการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบสำหรับโลกและสภาพแวดล้อม (Multimodal Learning for Earth and Environment หรือ MultiEarth 2022) ในระหว่างการประชุมว่าด้วยคอมพิวเตอร์วิทัศน์และการรู้จำแบบ (Computer Vision and Pattern Recognition หรือ CVPR 2022) ของสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (IEEE) นอกจากนั้นยังคว้ารางวัลชนะเลิศในการแข่งขันจำแนกพันธุ์พืช "CropHarvest 2022" โดยใช้ชุดข้อมูลทดสอบจากประเทศเคนยา โตโก และบราซิล

บริษัทอวกาศจีนคว้ารางวัลจากการแข่งขัน AI ระดับนานาชาติ

การแข่งขัน MultiEarth 2022 ซึ่งจัดโดยเอ็มไอที ลินคอล์น ลาบอราทอรี (MIT Lincoln Laboratory) มุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการสังเกตการณ์โลกและสภาพแวดล้อม เช่น การลดลงของป่าฝนแอมะซอน โดยทางผู้จัดการแข่งขันระบุว่า "การทำลายป่าฝนแอมะซอนมีส่วนมากที่สุดที่ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง เกิดการสูญเสียถิ่นที่อยู่ของสัตว์ รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเนื่องจากพื้นที่ส่วนมากของป่าเข้าถึงได้ยาก การสำรวจจากระยะไกลด้วยดาวเทียมจึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของป่าแอมะซอน" ทั้งนี้ การแข่งขันนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อผนึกกำลังนักวิจัยในแวดวงวิชาการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายจากระยะไกลที่รวบรวมโดยเซนเซอร์มากมายหลายตัว เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

บริษัทสัญชาติจีนแห่งนี้คว้ารางวัลสองประเภทจากการแข่งขัน MultiEarth 2022 ได้แก่ "ความสมบูรณ์ของเมทริกซ์" (matrix completion) และ "การแปลงภาพหลากหลายรูปแบบ" (multimodal image translation) ซึ่งนำเสนอมุมมองใหม่ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของป่าฝนในระยะยาว และช่วยแก้ไข "ปัญหาน่าปวดหัว" ที่มักพบบ่อยในการเก็บภาพถ่ายดาวเทียมแบบออปติคอลเมื่อมีเมฆปกคุลมหนาแน่น

การประชุมว่าด้วยคอมพิวเตอร์วิทัศน์และการรู้จำแบบ (CVPR) ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นการแข่งขัน AI ที่มีชื่อเสียงที่สุดโลก เป็นกิจกรรมทางเทคนิคซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (IEEE) สำหรับผู้ที่เคยชนะการแข่งขันนี้มีทั้งบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่างกูเกิล (Google) และอาลีบาบา (Alibaba) รวมถึงองค์กรวิจัยชั้นนำจากทั่วโลก

บริษัทสตาร์.วิชันมีสำนักงานใหญ่อยู่ในนครหางโจวทางตะวันออกของจีน โดยมีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาดาวเทียมสำรวจระยะไกลเทคโนโลยี AI และบริการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ บริษัททุ่มเทให้กับการบูรณาการเทคโนโลยี AI สุดล้ำเข้ากับอุตสาหกรรมอวกาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง  

ดร. หย่าซู่ คัง หัวหน้าทีม AI ของสตาร์.วิชัน กล่าวว่า บริษัทหวังว่าจะใช้เทคโนโลยีอวกาศในการ "พัฒนาโลกจากห้วงอวกาศ" พร้อมกับกล่าวเสริมว่า "ในฐานะบริษัทอวกาศ เราได้เข้าร่วมการแข่งขันชั้นนำระดับนานาชาติเป็นครั้งแรกร่วมกับบริษัท AI ชื่อดังและผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากมาย การได้รับรางวัลจึงสร้างกำลังใจให้เราอย่างมาก และทำให้เรามีความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้นในการพัฒนาดาวเทียมสำรวจระยะไกลและการให้บริการด้วยเทคโนโลยี AI"

รูปภาพ -https://mma.prnewswire.com/media/1850030/1.jpg


ข่าวอิเล็กทรอนิกส์+ระดับนานาชาติวันนี้

ZEISS เปิดตัวสำนักงานใหม่เพื่อขยายก้าวถัดไปในการดำเนินธุรกิจในกรุงเทพฯ

ZEISS ผู้นำระดับนานาชาติในด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมออปติกและออปโตอิเล็กทรอนิกส์ (Optics and Optoelectronics) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนีและมีการดำเนินงานกว่า 50 ประเทศ ผลิตภัณฑ์ของ ZEISS ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกก่อนปี 1917 โดยบริษัท บี.กริม จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม 1991 ZEISS และ บี.กริม ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท ค [email protected]าร์ล ไซส์ จำกัด (Carl Zeiss Co., Ltd.) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนและเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็ว สำนักงานของ ZEISS ได้ขยายพื้นที่จาก

นายพิชิต บูรพวงศ์ (แถวล่างที่ 3 จากซ้าย) ... CH จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568ผู้ถือหุ้นโหวตผ่านทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.10 บาท/หุ้น — นายพิชิต บูรพวงศ์ (แถวล่างที่ 3 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริษัท...

นางพรนิภา เริงหิรัญ (ตรงกลาง) รองประธานกร... SVR ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 — นางพรนิภา เริงหิรัญ (ตรงกลาง) รองประธานกรรมการบริษัท เป็นประธานที่ประชุม นายรณฤทธิ์ ฐิติสุริยารักษ์ (ที่2จากซ้าย)...

เคาะออกวอร์แรนท์ แจกผู้ถือหุ้นเดิม 5:1 A5... ผู้ถือหุ้น A5 ไฟเขียว จ่ายปันผลหุ้นละ 0.10 บาท — เคาะออกวอร์แรนท์ แจกผู้ถือหุ้นเดิม 5:1 A5 จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์...

รศ.ดร. นริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการบริษัท ด... FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น — รศ.ดร. นริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการบริษัท ดร. วิกร ภูวพัชร์ ป...

นายกฤษณะ บุญยะชัย (ที่ 4 จากขวา) ประธานกร... ผู้ถือหุ้น TQR โหวตหนุนจ่ายปันผลปี 67 อีก 0.216 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น — นายกฤษณะ บุญยะชัย (ที่ 4 จากขวา) ประธานกรรมการ, นายชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์...

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี (ที่ 4 จากซ้าย) ... "WAVE" จัดประชุม E-AGM ประจำปี 2568 โชว์วิสัยทัศน์ "การปรับโมเดลธุรกิจ" — นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริษัท นายถิรพงศ์ คำเรืองฤ...

นายเสรี จินตนเสรี (แถวหน้าที่ 2 จากซ้าย) ... PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น — นายเสรี จินตนเสรี (แถวหน้าที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท ไพลอน ...