เหงื่อออกมือไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าอาการ "เหงื่อออกมือ" อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากอาการของโรคหัวใจที่พบกันอยู่เป็นประจำ คือ เหนื่อยง่าย หายใจเข้าได้ลำบาก มีอาการหอบหรือเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือปลายมือปลายเท้าและริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ เหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นและเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ

เหงื่อออกมือไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจ

ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกผู้เชี่ยวชาญด้านผ่าตัดส่องกล้องจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ได้อธิบายถึงอาการของโรคหัวใจว่า ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกและมีอาการปวดร้าวไปบริเวณคอหรือแขนซ้ายได้ ในบางรายอาจมีภาวะเหนื่อยง่าย ใจสั่น หรือ เหงื่อออกร่วมด้วยได้ โดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นขณะที่ผู้ป่วยกำลังทำงานหรือออกกำลังกาย เหงื่อออกมือไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจ

แต่ในทางกลับกัน โรคเหงื่อออกที่มือนั้น ( hyperhidrosis ) ผู้ป่วยมักจะเป็นที่มือทั้ง 2 ข้าง และคนไทยจะป่วยเป็นโรคนี้โดยเฉลี่ย 3% ของประชากรของประเทศ คิดเป็นง่าย ๆ หากประเทศไทยมีประชากร 70 ล้านคน จะมีผู้ป่วยโรคนี้ ถึง 2.1 ล้านคน และสามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเท่า ๆ กัน โดยลักษณะของโรคนี้มักไม่มีอาการดังกล่าวร่วมด้วย อีกทั้งมักจะเป็นที่มือทั้ง 2 ข้าง ในบางรายอาจมีอาการบริเวณเท้า หรือ บริเวณรักแร้ร่วมด้วยได้ ซึ่งอาการที่จะเกิดไม่สัมพันธ์ต่ออุณหภูมิ เวลาหรือการออกำลังกาย อย่างไรก็ตามภาวะนี้ เราต้องแยกจากโรคที่มีสาเหตุ (Secondary hyperhidrosis) เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ เบาหวาน ตั้งครรภ์ โรคระบบประสาทหรือการรับประทานยาบางชนิด อาจมีผลทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกที่มือได้

ปัจจุบันการรักษาโรคเหงื่อออกที่มือนั้น มีวิธีการรักษาได้หลายแบบตั้งแต่ยารับประทาน สเปรย์ทามือหรือฉีดยา botulinum toxin อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาที่ทำให้หายขาดที่ดีสุด คือ การรักษาโดยการผ่าตัด ( Thoracoscopic sympathectomy ) ทำได้โดยการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กขนาด 1 เซ็นติเมตร ข้างลำตัวทั้ง 2 ข้างเพื่อเข้าไปเส้นประสาทอัตโนมัติ ( Sympathetic chain ) บริเวณช่องซี่โครงที่ 4 และ 5 อย่างไรก็ตามการผ่าตัดอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า ภาวะเหงื่อทดแทน ( Compensatory hyperhidrosis) ซึ่งพบเหงื่อทดแทนบริเวณที่ลำตัวหรือต้นขาได้

ภาวะโรคเหงื่อออกที่มือ นับว่าเป็นสัญญาณที่ผิดปกติ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ผู้ป่วยท่านใดที่พบเจอแนะนำควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ตรงจุดหรือสามารถสอบถามข้อมูลได้ผ่านทางเฟซบุ๊กผ่าตัดปอด หรือ lineofficial; @lungsurgerythหรือรับชมได้ที่ www.youtube.com/watch?v=ILReCho3R04&t=42s&ab_channel=คณะแพทยศาสตร์


ข่าวโรงพยาบาลวชิรพยาบาล+คณะแพทยศาสตร์วันนี้

วชิรพยาบาล จัดกิจกรรมโครงการ Vajira Hand Washing Day "Six steps Five Moments" เนื่องในวันล้างมือโลก

16 ตุลาคม 2566 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยงานควบคุมโรคติดเชื้อ จัดกิจกรรมโครงการ Vajira Hand Washing Day "Six steps Five Moments" เนื่องในวันล้างมือโลก (Global Hand Hygiene) โดยมี ผศ.นพ.จักราวุธ มณีฤทธิ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน รศ.พญ.ปนัดดา สุวรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิรพยาบาล เป็นผู้กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มอบรางวัลกิจกรรมการประกวดคลิปวิดีโอเพื่อการประชาสัมพันธ์

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศ... ถ้าป่วยเป็นมะเร็งปอดผมจะรอดมั้ยครับ? — รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพ...

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย... กทม.เตรียมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 นักท่องเที่ยวต่างชาติตามแนวทางที่ สธ.กำหนด — นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวกรณีกระทรวงสา...

โดย ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกเชี... มะเร็งปอดภัยอันตรายที่ไม่มีอาการ — โดย ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกเชี่ยวชาญด้านผ่าตัดส่องกล้องโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ปัจจุบันโรคมะเร็งปอดยังคงเป็นสา...

นายธนัตถ์ ศรุติอังกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่... ที่ปรึกษารมว.เกษตรฯส่งมอบเสบียงและชุด PPE ให้โรงพยาบาลวชิรพยาบาล — นายธนัตถ์ ศรุติอังกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ดร.อภิชาติ สุดแส...