ถ้าป่วยเป็นมะเร็งปอดผมจะรอดมั้ยครับ?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาลกล่าวว่า ในยุคฝุ่น PM.25 มหันตภัยด้านมลพิษคุกคามคนไปทั่วโลก ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งปอดมากขึ้น … ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษามากขึ้น อีกทั้งยังพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่มีอายุที่น้อยลงมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีคำถามยอดฮิต เช่น ผมเจอมะเร็งปอด แล้วผมอยู่นานรึเปล่า? แล้วจะมีโอกาสรอดหรือมั้ย ? ซึ่งจากสถิติของข้อมูลจากสถาบันมะเร็งนานาชาติ พบว่าหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก คือ "มะเร็งปอด" และมีอัตราการตายจากโรคมะเร็งที่สูงที่สุด ก็คือ "โรคมะเร็งปอด" นั่นเอง

ถ้าป่วยเป็นมะเร็งปอดผมจะรอดมั้ยครับ?

ในส่วนของมะเร็งชนิดอื่น ๆ เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการและมักมาหาแพทย์ด้วยความรวดเร็วขึ้น เนื่องจาก มะเร็งเต้านมอยู่ภายนอกสามารถคลำได้ เจอได้ก่อนที่จะลุกลาม ส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีอาการเตือนเป็นช่วง ๆ เช่น ถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีเลือดออก ส่วนมะเร็งปอด โดยส่วนมากแล้วคนไข้มักจะมาหาแพทย์ด้วยระยะที่เป็นมากแล้ว เพราะปอดเป็นอวัยวะภายในและมักไม่มีการแสดงอาการในระยะแรก โดยปอดมีพื้นที่เยอะ ก้อนมะเร็งแค่ 1 เซนติเมตรหรืออาจไม่ถึง 1% ของพื้นที่ปอด ซึ่งกว่าที่จะมีอาการก็มักจะเป็นมากแล้ว ดังนั้นการรักษาเลยได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ผู้ป่วยที่มาครั้งแรกจากโรคมะเร็งปอดจำนวนกว่า 60 - 70% มักจะตรวจเจออุบัติการณ์ของโรคในระยะที่ 4 ส่วนระยะที่ 3 จะอยู่แค่ประมาณ 20%และในระยะที่ 1 - 2 จะอยู่รวมกันประมาณ 15 - 20% เท่านั้น

ปัจจุบันวิธีการตรวจที่มีการศึกษาและยืนยันว่าจะช่วยลดอัตราการตายของมะเร็งปอด คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดรังสีต่ำ (Low-dose Computed Tomography: LDCT ) ซึ่งจะช่วยให้วินิจฉัยก้อนมะเร็งได้รวดเร็วขึ้น วิธีการนี้มักจะเหมาะสมกับคนไข้ที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งสูง เช่น คนไข้ที่สูบบุหรี่หนักและเป็นเวลานาน โรคมะเร็งปอดนั้นเราสามารถรักษาได้ทั้งการผ่าตัดและการให้ยารักษา เช่น การใช้ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้าหรือการฉายแสง โดยเฉพาะคนไข้ที่เจอโรคในระยะเริ่มต้น การผ่าตัดมักมีโอกาสหายขาดได้มาก อีกทั้งยิ่งเป็นการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง เช่น การผ่าตัดแบบจุดเดียวจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนกว่าการผ่าตัดแบบเปิด เวลาผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้ว มักจะถูกมองว่าเค้าอาจจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน แต่รู้หรือไม่ว่าในโลกปัจจุบันไม่ใช่เป็นแบบนั้นอีกแล้ว เรามีการรักษาโรคมะเร็งปอดที่รักษาให้หายขาดได้ หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็งปอดที่แพร่กระจายแล้ว คนไข้ก็ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีชีวิตที่ยืนยาว สามารถที่จะมีชีวิตอยู่อย่างใกล้เคียงเป็นปกติได้

สำหรับในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา โอกาสรอดชีวิตที่ 5 ปี ของคนไข้มะเร็งปอดเมื่อระยะที่ 1 จะมีมากถึง 80-90% และ ระยะ 2 โอกาสรอด 50-70% ส่วนในระยะ 3 โอกาสรอด 30-50% และในระยะ 4 โอกาสรอด 0 - 20% โดยการรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยามุ่งเป้าสำหรับผู้ป่วยที่มีลักษณะทางพันธุกรรมของมะเร็งปอด เช่น EGFR,ALK,ROS-1 นั้น ๆ ทำให้คนไข้มีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น และผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือผู้ป่วยต้องเข้าถึงการรักษาให้เร็วที่สุดและต้องร่วมมือในการรักษาและ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "อย่าหลงทาง" ถ้าผู้ป่วยหลงทางไปรักษาในวิธีที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาส ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ ผู้ป่วยต้องไม่เสียโอกาส ต้องรีบใช้โอกาสที่จะรักษาให้หายและรักษาโรคมะเร็งปอดนี้ไว้ให้ได้


ข่าวผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด+โรงพยาบาลวชิรพยาบาลวันนี้

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ที่ รพ. บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์

มะเร็งปอด หนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดจะไม่ค่อยมีอาการแสดงในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ ขอแนะนำโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ตรวจหาความผิดปกติของปอด Low Dose CT Scan เพื่อคัดกรองมะเร็งปอด ซึ่งได้รับปริมาณรังสีน้อย แม่นยำปลอดภัย ตรวจง่ายใช้เวลาไม่นาน อีกทั้งยังตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

CStone เผยการวิจัยยา Sugemalimab ทางคลินิกบรรลุผลลัพธ์หลักในการรักษามะเร็งปอดชนิด NSCLC ระยะที่ III และเตรียมขอขึ้นทะเบียนยาใหม่

- Sugemalimab เป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดี anti-PD-1/PD-L1 ตัวแรกของโลก ที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตโดยโรคสงบ (PFS) ในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (NSCLC)...

ขนเพลย์ลิสต์เพลงฮิตของตัวเองมาบรรเลงปลุกค... 'ลิปตา’ แจกจ่ายความสนุก ฟินแบบฟิตๆ ในงาน 'Flash Run Presented by Johnson & Johnson’ — ขนเพลย์ลิสต์เพลงฮิตของตัวเองมาบรรเลงปลุกความสนุกสนานอย่างมากมาย สำหร...

"บุหรี่" เป็นปัจจัยหลักของการเกิดโรคมะเร็... ไม่เคยสูบบุหรี่ แต่ก็เป็นมะเร็งปอดได้ มาตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งก่อนจะสายเกินไป — "บุหรี่" เป็นปัจจัยหลักของการเกิดโรคมะเร็งปอดและโรคถุงลมโป่งพอง อย...

- สถิติเผย 10% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดไม่ใ... ไม่สูบก็ยังเสี่ยง! เผยคนไทย 10% เสี่ยงมะเร็งปอดแม้ไม่สูบบุหรี่ — - สถิติเผย 10% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดไม่ใช่ผู้ที่สูบบุหรี่ - พบมะเร็งปอดในชายไทยเป็นอันดั...

แพทย์ชี้มะเร็งปอดรักษาหายได้ หากตั้งใจจริ... แพทย์ชี้มะเร็งปอดรักษาหายได้ หากตั้งใจจริง — แพทย์ชี้มะเร็งปอดรักษาหายได้ หากตั้งใจจริง ความก้าวหน้าทางการแพทย์ของกรใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อการรักษาผู้ป่วยมะ...

ดร.หรงเซียง ซู เจ้าของสิทธิบัตรศาสตร์การฟื้นฟูอวัยวะที่ได้รับความเสียหาย เปิดตัวโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วย 10,000 รายทั่วโลก

ดร.หรงเซียง ซู เจ้าของสิทธิบัตรศาสตร์การฟื้นฟูเซลล์ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งนโยบายแห่งชาติของสหรัฐกล่าวถึงในฐานะ “การฟื้นฟูอวัยวะที่ได้รับความเสียหาย” ได้นำเสนอสูตรอาหาร...