กระดูกของคนเรามีการสร้างเซลล์ใหม่และสลายเซลล์กระดูกเก่าอยู่ตลอดเวลา ในช่วงวัยเด็กอัตราการสร้างเซลล์กระดูกใหม่จะสูงมาก จนกระทั่งเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป อัตราการสลายกระดูกจะเริ่มมากกว่าการสร้างเซลล์กระดูกใหม่ กระดูกจะค่อยๆ เริ่มบางลงเรื่อยๆ
ผู้หญิงจะมีอัตราการเกิดภาวะกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อหมดประจำเดือนแล้วจะสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วใน 5 ปีแรก ทำให้กระดูกหักง่าย โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ มักมีอาการปวดหลัง ตำแหน่งที่ปวดไม่ชัดเจนและอาจปวดร้าวไปข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกหลังยุบตัว หลังค่อม หรือความสูงลดลง หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสมนะครับ
หญิงวัยหมดประจำเดือนเสี่ยงกระดูกพรุนสูง จึงควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็กๆ ถั่วต่างๆ เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ งดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องมีการกระทบกระทั่ง หรือการยกของหนักๆ รวมถึงการตรวจมวลกระดูกประจำปี ก็ช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้อีกทางนะครับ
การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงควรทำตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเพราะหลังจากอายุ 35 ปีไปแล้ว จะทำได้เพียงชะลอการสลายกระดูกเท่านั้น นอกจากวัยหมดประจำเดือนที่ต้องการแคลเซียมแล้ว ไลฟ์สไตล์คนปัจจุบันอาจจะได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ จึงควรต้องตรวจเช็คและรับวิตามินดีเสริมโดยแพทย์ เพิ่มเติมด้วยนะครับ...
อย่ารอให้อายุมากขึ้นแล้วค่อยดูแลตัวเองเลยครับ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงทั้งหลายเพราะถ้ารีบเติมแคลเซียมให้ร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ก็โบกมือลาโรคกระดูกพรุนไปได้เลยครับ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ขอเชิญชวนประชาชนผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมตรวจสุขภาพ ฟรี !!! เนื่องในงาน "วันพยาบาลแห่งชาติ ประจำปี 2567" ในวันจันทร์ ที่ 21 ตุลาคม 2567 เวลา 9.00 14.00 น. ณ ศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช ภายในงาน พบกับกิจกรรมตรวจสุขภาพต่างๆ อาทิ - ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง - ตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว และคัดกรองโรคเบาหวาน - ตรวจคัดกรองของมะเร็งเต้านม และการให้คำแนะนำการตรวจเต้านม - คัดกรองภาวะกระดูกพรุน ท่านใดสนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรม
ดูแลภาวะกระดูกพรุนในวัยทองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว
—
ภาวะกระดูกพรุนในวัยทอง (Postmenopausal Osteoporosis, PMO) เกิดขึ้นเน...
'โรคกระดูกพรุน' ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์ รพ.วิมุต แนะ 'ออกกำลังกาย-กินอาหารมีประโยชน์' พร้อมตรวจคัดกรองก่อนกระดูกบางหรือพรุนจนเกิดอันตราย
—
ในสมัยที่เร...
นมแมคคาเดเมีย ทางเลือกใหม่ของผู้สูงวัย
—
ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย มีสัดส่วนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุหรือมีอายุ 60 ปีขึ้นไปราว 1 ใน 6...
ตรวจก่อนสาย ภัยร้าย!! โรคกระดูกพรุน.. คุณป้องกันได้
—
ปัจจุบันโรคกระดูกพรุน กลายเป็นปัญหาสุขภาพใหญ่อีกหนึ่งโรคที่นับวันจะยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถเกิ...
เปิดให้บริการแล้ว "คลินิกโรคกระดูกพรุน" รพ.หัวเฉียว
—
โรงพยาบาลหัวเฉียว เปิดให้บริการ "คลินิกโรคกระดูกพรุน" ยกระดับการให้บริการด้านกระดูกและข้ออย่างครอบค...
ม.มหิดลชี้โรคกระดูกพรุนป้องกันดีกว่ารักษา ดูแลด้วยแคลเซียม-วิตามินดี-ออกกำลังกาย
—
ในบรรดาโรคที่มักมาพร้อมกับความชรา "โรคกระดูกพรุน" คือ หนึ่งในภัยเงียบที...
ทำไม? ยังสาว แต่ "กระดูกพรุน" Working Woman ไม่อยากกระดูกพรุนก่อนวัย ต้องอ่าน!
—
ทำไม? ยังสาว แต่ "กระดูกพรุน" Working Woman ไม่อยากกระดูกพรุนก่อนวัย ต้อง...
เติมพลังสำหรับชีวิตวัยทอง...ด้วยอาหารที่เสริมสร้างสุขภาพ
—
เมื่ออายุมากขึ้นและเข้าสู่ช่วง "วัยทอง" นอกจากการมีอารมณ์ที่แปรปรวนขึ้นแล้ว ระบบต่างๆ ในร่างกาย...
'ยันฮี' เจ้าตลาด Vitamin Water ส่ง "ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์" ลงตลาดเจ้าแรกในไทย ประกาศหา "อาสาสมัคร 100 คน ทดลองดื่มฯ"
—
นพ.สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ประธานกรรม...