มหาวิทยาลัยชิงหัวและธนาคารพัฒนาเอเชียเรียกร้องยกระดับแนวทางแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานในเอเชีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ภายในเวลาไม่ถึงสามสัปดาห์หลังปิดฉากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP27) ที่ประเทศอียิปต์ การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP15) ก็ได้เปิดฉากขึ้นที่เมืองมอนทรีออล โดยวาระการประชุมของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพมีความทับซ้อนกันมากขึ้น สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างสองประเด็นและความต้องการแนวทางแก้ปัญหาแบบบูรณาการ

มหาวิทยาลัยชิงหัวและธนาคารพัฒนาเอเชียเรียกร้องยกระดับแนวทางแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานในเอเชีย

สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว (Institute of Climate Change and Sustainable Development at Tsinghua University หรือ ICCSD) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asia Development Bank หรือ ADB) ได้ร่วมกันเรียกร้องให้พัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions หรือ NbS) ทั่วภูมิภาคเอเชีย ในการประชุม CBD COP15

"เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนคือการปฏิวัติอย่างเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับสังคมโดยรวมทั้งหมด ดังนั้นความเป็นกลางทางคาร์บอนจึงอยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแนวทางแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานควรไปไกลกว่าการกักเก็บคาร์บอนเพียงอย่างเดียว" ดร.หวัง ปินปิน (WANG Binbin) หัวหน้า C+NbS ของ ICCSD และเลขาธิการบริหารของพันธมิตรมหาวิทยาลัยโลกว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ (Global Alliance of Universities on Climate หรือ GAUC) กล่าว

ตามนิยามที่กำหนดไว้ในการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Assembly) เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ แนวทางแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานหมายถึง "การดำเนินการเพื่อปกป้อง อนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และจัดการระบบนิเวศบนบก น้ำจืด ชายฝั่ง และทะเลตามธรรมชาติหรือดัดแปลง เพื่อจัดการกับความท้าทายทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนได้ พร้อมกับสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับมนุษย์ สร้างบริการจากระบบนิเวศ และสร้างประโยชน์ด้านความยืดหยุ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ"

ICCSD และ ADB ได้ร่วมกันจัดการประชุมย่อยในหัวข้อ "เส้นทางสร้างสรรค์สู่อนาคตที่เป็นกลางทางคาร์บอน" (Innovative Pathway towards the Carbon Neutral Future) โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้มีการสำรวจศักยภาพของธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนจากมุมมองของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

"ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศ ดิฉันมองว่าพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดมาจากทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นหากเราเห็นพ้องต้องกันว่าพลังงานหมุนเวียนคือทางออกสู่อนาคตคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ พลังงานหมุนเวียนก็ถือเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน" ดร.หวังเน้นย้ำ "เราควรส่งเสริมมุมมองที่บูรณาการและสอดประสานกัน"

เพื่อใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งของธรรมชาติในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ICCSD ได้จัดตั้งแพลตฟอร์ม C+NbS ร่วมกับพันธมิตรทั่วโลกมากกว่า 400 ราย และดำเนินการศึกษาติดตามแนวปฏิบัติระดับโลกมาตั้งแต่ปี 2562 ทันทีที่ปิดฉากการประชุมสุดยอดว่าด้วยการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action Summit) ที่นิวยอร์ก ซึ่งจีนและนิวซีแลนด์ได้รับเชิญให้เป็นผู้นำกลุ่มพันธมิตรแนวทางแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานนี้ โดยได้ดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างฐานข้อมูลที่ประกอบด้วยกรณีศึกษาทั่วโลก 300 กรณี จากนั้นกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยพิจารณาจากแนวทางของอารยธรรมทางนิเวศวิทยา นั่นคือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) โดยอ้างอิงมาตรฐานสากลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

"เราสรุปตัวบ่งชี้การคัดกรองเบื้องต้น 6 รายการ และมิติการประเมินเชิงลึก 3 รายการ ในการคัดเลือกกรณีศึกษาที่ดี 28 กรณีจากฐานข้อมูล เพื่อแนะนำให้เผยแพร่ในการประชุม CBD COP15 ช่วงที่ 1 ที่นครคุนหมิง" ดร.หวังกล่าว "ในขั้นตอนต่อไป ขอบเขตการวิจัยจะถูกจำกัดให้แคบลงสู่ระดับภูมิภาค เพื่อให้สามารถค้นหากรณีศึกษาเชิงปฏิบัติที่ทันสมัยที่สุดและเป็นแบบอย่างได้แม่นยำยิ่งขึ้น"

นอกจากนี้ ICCSD ยังจับมือกับ ADB ในการสร้างฐานข้อมูลแนวทางแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian NbS) เพื่อทำการวิเคราะห์เชิงลึกแนวปฏิบัติต่าง ๆ ทั่วทั้งภูมิภาค โดยทุกองค์กรที่มีแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในเอเชียสามารถส่งกรณีของตนมาที่อีเมล [email protected] ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 ทั้งนี้ รายงานการวิจัยจะเผยแพร่ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 ที่ดูไบ

การประชุมย่อยครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่าง ICCSD กับ ADB โดยตัวแทนจากองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ (The Nature Conservancy หรือ TNC), เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (World Economic Forum) และไคลเอนท์เอิร์ท (ClientEarth) ร่วมด้วยยุวทูตจาก GAUC ได้แลกเปลี่ยนงานวิจัยและความก้าวหน้าเชิงปฏิบัติในสาขานี้ระหว่างการประชุม

คุณหลี่ เจิง (LI Zheng) ประธานของ ICCSD กล่าวว่า "เรามีความมั่นใจที่จะสำรวจแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นนวัตกรรมมากขึ้นเพื่ออนาคตที่เป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการสนับสนุนที่แข็งแกร่งและเครือข่ายของ ADB ในเอเชีย"

"ธรรมชาติถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับวิกฤตเร่งด่วนที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญอยู่ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และความไม่มั่นคงทางอาหาร" คุณจาง ฉิงเฟิง (ZHANG Qingfeng) ประธานคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของ ADB กล่าว พร้อมกับเผยว่า ADB ยังสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เพื่อปลดล็อกศักยภาพของธรรมชาติอีกด้วย

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1965227/The_side_event_attracted_leading_experts_world.jpg
คำบรรยายภาพ - การประชุมย่อยดึงดูดผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากทั่วโลก


ข่าวธนาคารพัฒนาเอเชีย+มหาวิทยาลัยชิงหัววันนี้

PEA กับก้าวแห่งความสำเร็จ การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (PEA Sustainability Bond) ครั้งแรก ตอกย้ำการนำองค์กรมุ่งสู่เส้นทาง Green Finance

นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA Sustainability Bond for Better Life โดยมีนางชนันภรณ์ พิศิษฐวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) Mr. Anouj Mehta Country Director ADB Thailand Resident Mission Southeast Asia Department ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) Mr. Thomas Leonard Head of Section, Sustainability Services Supply

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับภาวะเงิ... อัปเดตทิศทางอสังหาฯ อาเซียน ผู้คนยังอยากมีบ้านแม้มีความท้าทายรออยู่รอบด้าน — การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลให้หลายประเทศใน...

แวดวงการผลิตพลังงานหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจสร้างรายได้ที่ยั่งยืนได้ถึง 90,000 ถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2573

ผลวิเคราะห์ใหม่เผย การผลิตพลังงานหมุนเวียนมอบหนทางในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน 6 ล้านตำแหน่งภายในปี 2593 และบรรเทาผลกระทบของภาวะโลกรวนทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียง...

"เอวีพีเอ็น" มอบเงินทุนรวม 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ผู้พัฒนานวัตกรรมความยั่งยืน 13 ราย ในโครงการซัสเทนอะบิลิตี ซีด ฟันด์ เอเชียแปซิฟิก

~ เอวีพีเอ็นหวังใช้กองทุนนี้ ส่งเสริมให้องค์กรผู้สร้างผลกระทบในท้องถิ่นเข้ามาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปในชุมชนที่ดำเนินงานอยู่ ~ ~ ประกาศรายชื่อองค์กรไม่แสวงกำ...