TU รายแรกของประเทศไทยที่ได้รับเงินกู้ Blue Loan 5 พันล้านบาท จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เดินหน้าขับเคลื่อนการเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืนพร้อมบรรลุเป้าหมายการจัดการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเลระดับโลก ได้รับการสนับสนุนเงินกู้ด้านความยั่งยืนทางทะเล หรือ Blue Loan วงเงินรวม 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 5,000 ล้านบาท จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) โดยเป็นการปล่อยวงเงินกู้ Blue Loan จาก ADB ให้กับอุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทยเป็นครั้งแรก นับเป็นก้าวประวัติศาสตร์ของภาคการเงินที่สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมตอกย้ำความมุ่งมั่นของไทยยูเนี่ยนในการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบ ผลิตอาหารทะเลอย่างยั่งยืน และเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

TU รายแรกของประเทศไทยที่ได้รับเงินกู้ Blue Loan 5 พันล้านบาท จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เดินหน้าขับเคลื่อนการเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืนพร้อมบรรลุเป้าหมายการจัดการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

สำหรับวงเงินกู้ด้านความยั่งยืนทางทะเลในครั้งนี้ แบ่งเป็นสองส่วน คือ เงินกู้โดยตรงจาก ADB และเงินกู้ร่วมจากธนาคารพาณิชย์ชั้นนำที่เป็นพันธมิตรทางการเงินจากฮ่องกง 1 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศจีน และจากสิงคโปร์ 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC), ธนาคารเอ็มยูเอฟจี จำกัด (MUFG), ธนาคาร OCBC, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น (SMBC) และธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (UOB) โดยวงเงินกู้ดังกล่าวไทยยูเนี่ยนจะนำมาใช้ในการยกระดับการจัดซื้อวัตถุดิบกุ้งที่เพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน ในประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ภายใต้กลยุทธ์ SeaChange(R) 2030 และยังสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593

ภายใต้วงเงินกู้ด้านความยั่งยืนทางทะเลที่ไทยยูเนี่ยนได้รับในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับขีดความสามารถด้านการจัดหาวัตถุดิบกุ้งที่เพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืนที่ได้การยอมรับในระดับโลกจาก Global Sustainable Seafood Initiative หรือ GSSI เช่น มาตรฐาน Aquaculture Stewardship Council หรือ ASC และมาตรฐาน Best Aquaculture Practices หรือ BAP หรือจัดซื้อจากฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความน่าเชื่อถือ (Aquaculture Improvement Projects หรือ AIPs) แนวทางนี้ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ การตรวจสอบแหล่งที่มาของอาหารกุ้ง และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานหมุนเวียน ปรับปรุงประสิทธิภาพอัตราแลกเนื้อ (FCR) รวมถึง การป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ส่งเสริมการใช้แรงงานที่เป็นธรรมและการทำงานร่วมกับชุมชน

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจของเราและการได้รับวงเงินกู้ด้านความยั่งยืนทางทะเลนับเป็นก้าวสำคัญ และเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ไทยยูเนี่ยนได้เป็นเอกชนรายแรกในอุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทยที่ได้รับการสนับสนุน Blue Loan จาก ADB โดยเงินทุนนี้จะช่วยเร่งการขับเคลื่อนการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน ช่วยดูแลท้องทะเล สร้างความมั่นคงทางอาหาร และการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ดียิ่งขึ้น เราหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและเป็นแรงบันดาลใจให้บริษัทอาหารทะเลอื่น ๆ ปฏิบัติตาม"

"นับเป็นครั้งแรกของเอดีบีที่จัดสรรเงินกู้ Blue Loan ในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (aquaculture) ในประเทศไทย" นายอานุช เมธา ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย กล่าว "การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นหนึ่งในแหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่มีคุณภาพมากที่สุดและมากกว่าครึ่งหนึ่งของอาหารทะเลทั้งโลกมาจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารสำหรับประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ แต่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังเผชิญความเสี่ยงต่างๆ ทั้งความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและเงื่อนไขด้านสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย มลพิษ การตัดไม้ทำลายป่าที่เพิ่มมากขึ้น และการทำการประมงที่เกินขีดจำกัด เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์น้ำ (aquafeed) ที่สูงขึ้น การร่วมมือกันในครั้งนี้จะช่วยแก้ปัญหาความท้าทายต่างๆ และเป็นกรณีตัวอย่างที่ดีสำหรับการจัดหากุ้งที่เพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการปรับตัวและเปลี่ยนผ่านสู่ห่วงโซ่การผลิตที่ยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ"

นอกเหนือจากการส่งเสริมเป้าหมายด้านความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนแล้ว เงินกู้ด้านความยั่งยืนทางทะเลยังสนับสนุนพันธกิจของประเทศไทยในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาที่ยั่งยืน และยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของ ADB Strategy 2030 ซึ่งให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาชุมชนในชนบท และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ทุกคนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน

เนื่องจากมีความสอดคล้องกับประเภทโครงการของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน เงินกู้เพื่อความยั่งยืนครั้งนี้จึงถือเป็น Blue Loan ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบ "Blue and Green Finance Framework" ของไทยยูเนี่ยน ซึ่งได้รับการพัฒนาจากความร่วมมือทางด้านเทคนิคของ ADB และได้รับการตรวจสอบจากดีเอ็นวี (DNV) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญอิสระ

ขณะเดียวกันยังเป็นกรอบการดำเนินงานด้านการเงินรายแรกที่สอดคล้องกับร่างมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ระยะที่ 2 (Thailand's draft Taxonomy Phase 2) และสอดคล้องกับมาตรฐานสากลอื่น ๆ เช่น หลักการของ International Capital Market Association และคู่มือ Bonds to Finance the Sustainable Blue Economy: A Practitioner's Guide ที่มีการกำหนดเกณฑ์ไว้ชัดเจน โดยได้เปิดตัวในเดือนเมษายน 2568

นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับหลักการของโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP) ในเรื่อง Sustainable Blue Economy Finance Principles และยังวางกรอบที่ชัดเจนสำหรับการใช้เงิน การจัดการเงินทุน และการรายงานผล เพื่อให้มั่นใจว่าทุกอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้


ข่าวธนาคารพัฒนาเอเชีย+ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ปวันนี้

PEA กับก้าวแห่งความสำเร็จ การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (PEA Sustainability Bond) ครั้งแรก ตอกย้ำการนำองค์กรมุ่งสู่เส้นทาง Green Finance

นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA Sustainability Bond for Better Life โดยมีนางชนันภรณ์ พิศิษฐวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) Mr. Anouj Mehta Country Director ADB Thailand Resident Mission Southeast Asia Department ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) Mr. Thomas Leonard Head of Section, Sustainability Services Supply

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับภาวะเงิ... อัปเดตทิศทางอสังหาฯ อาเซียน ผู้คนยังอยากมีบ้านแม้มีความท้าทายรออยู่รอบด้าน — การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลให้หลายประเทศใน...

แวดวงการผลิตพลังงานหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจสร้างรายได้ที่ยั่งยืนได้ถึง 90,000 ถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2573

ผลวิเคราะห์ใหม่เผย การผลิตพลังงานหมุนเวียนมอบหนทางในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน 6 ล้านตำแหน่งภายในปี 2593 และบรรเทาผลกระทบของภาวะโลกรวนทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียง...

"เอวีพีเอ็น" มอบเงินทุนรวม 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ผู้พัฒนานวัตกรรมความยั่งยืน 13 ราย ในโครงการซัสเทนอะบิลิตี ซีด ฟันด์ เอเชียแปซิฟิก

~ เอวีพีเอ็นหวังใช้กองทุนนี้ ส่งเสริมให้องค์กรผู้สร้างผลกระทบในท้องถิ่นเข้ามาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปในชุมชนที่ดำเนินงานอยู่ ~ ~ ประกาศรายชื่อองค์กรไม่แสวงกำ...