ผลการศึกษาระดับโลกฉบับใหม่ที่เปิดตัวในสัปดาห์สร้างความตระหนักรู้เรื่องยาปฏิชีวนะโลก (World Antimicrobial Awareness Week หรือ WAAW) ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 18-24 พฤศจิกายน แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพายาปฏิชีวนะในระดับสูงในการรักษาภาวะทางเดินหายใจ เช่น อาการเจ็บคอ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะอันเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของโลก โดยสัมพันธ์กับการเสียชีวิต 4.95 ล้านคนต่อปี
การศึกษาอาการเจ็บคอและการดื้อยาปฏิชีวนะ (Sore Throat & Antibiotic Resistance หรือ STAR) ซึ่งจัดทำโดยความเป็นหุ้นส่วนการติดเชื้อทางเดินหายใจโลก (Global Respiratory Infection Partnership หรือ GRIP) และเรกคิทท์ (Reckitt) ผู้ผลิตลูกอมสเตร็ปซิล (Strepsils) พบว่า ผู้ใหญ่กว่าครึ่งที่ทำแบบสำรวจเคยใช้ยาปฏิชีวนะรักษาอาการทางเดินหายใจ เช่น อาการเจ็บคอในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แม้ยาปฏิชีวนะจะไม่ช่วยแก้อาการเจ็บคอถึง 9 ใน 10 ครั้ง การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนนั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิดทั่วโลกในผู้ใหญ่
ผลการศึกษาในโครงการ STAR ชี้ให้เห็นว่า ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการรักษาอาการเจ็บคอมีส่วนทำให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป โดย 61% ของผู้ใหญ่อายุต่ำกว่า 35 ปีเชื่อว่า ยาปฏิชีวนะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการเจ็บคอ และเกือบครึ่งหนึ่ง (45%) ของคนกลุ่มอายุดังกล่าวไม่ทราบวิธีรักษาภาวะทางเดินหายใจโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ความสับสนในระดับสูงนี้อาจอธิบายได้ถึงเหตุผลที่ 38% ของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปีรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการรักษาภาวะทางเดินหายใจโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น อาการเจ็บคอ
อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลนี้ถือเป็นความเข้าใจผิด ๆ โดยอาการเจ็บคอส่วนใหญ่นั้นไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เนื่องจากอาการดังกล่าวเกิดจากไวรัส ไม่ใช่การติดเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยมักจะได้รับประโยชน์มากกว่าจากการใช้ยาอมแก้คออักเสบและยาแก้ปวด
ในช่วงสัปดาห์ WAAW นั้น GRIP ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มที่มีผู้เชี่ยวชาญเป็นหัวหอก และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวิชาชีพทางการแพทย์ เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิดในโรคระบบทางเดินหายใจ กำลังเรียกร้องให้สาธารณชนหาหนทางป้องกันการใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิดด้วยการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่า ยาปฏิชีวนะมีความเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงพิจารณาการรักษาทางเลือกและบรรเทาอาการ
ศาสตราจารย์ ซาบิฮา เอสแซ็ก (Sabiha Essack) ประธาน GRIP กล่าวว่า
"ผลการศึกษานี้เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวล เนื่องจากผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี ซึ่งเป็นผู้นำและกำลังขับเคลื่อนอนาคตของเรา เชื่ออย่างผิด ๆ ว่ายาปฏิชีวนะรักษาอาการเจ็บคอและหวัดได้ ทั้งยังอาจไม่ทราบถึงผลลัพธ์ที่มีต่อสุขภาพในระดับบุคคลและระบบสาธารณสุขจากการใช้ยาปฏิชีวนะแบบไม่เหมาะสม GRIP กำลังเรียกร้องให้เกิดความตระหนักรู้และให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม รวมถึงกระตุ้นให้เยาวชนตั้งคำถามเพื่อช่วยต่อสู้กับการดื้อยาปฏิชีวนะ"
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ซาฮีบา เอสแซ็ก และมาร์ติน ดูร์เดน (Martin Duerden) ผู้เชี่ยวชาญของ GRIP ได้ทางอีเมล: [email protected] หรือ โทร: +44 20 8154 6389
อินโฟกราฟิก - https://mma.prnewswire.com/media/1949298/GRIP_Infographic.jpg
ในวาระพิเศษระหว่างสัปดาห์ให้ความรู้เรื่องยาต้านจุลชีพโลก หรือ World Antimicrobial Awareness Week (WAAW) Pint of Science Thailand โดย หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกฟอร์ด ร่วมด้วย สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ได้จัดงานเสวนาทางด้านวิทยาศาสตร์ Pint of Science @ Antibiotic Awareness Week ขึ้น ในวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เวลา 19.00-21.00 น. ณ สมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทย อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ชั้นเพ้นเฮ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพ ภายในงาน
ภาพข่าว: ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล อบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด
—
นายโชคชัย สงสม กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มอบของที่ระลึกแก่พ.ต...
ปปส.ขนทัพดารา ชวนชาวเหนือร่วมงาน POWER AGAINST DRUGS รวมพลังต้านยาเสพติด
—
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม ขอเชิญประชาชนชาวเช...
เปิดตัว Mobile Application: RDU รู้เรื่องยา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลยาที่ถูกต้อง รอบสื่อมวลชน
—
นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนั...
EGA ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน Mobile Application "RDU รู้เรื่องยา" สร้างสุข สร้างความปลอดภัยทั่วไทย
—
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมห...
รพ.ราชวิถี เชิญชวนประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ (ภาคประชาชน) ครั้งที่ 29
—
โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ จัดงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2561 ครั้งที่ ...
กระทรวงดิจิทัลฯ ชวนประชาชนใช้บริการภาครัฐผ่านแอปพลิเคชัน ตอกย้ำการเป็นรัฐบาลดิจิทัล
—
กระทรวงดิจิทัลฯ สนับสนุนหน่วยงานในสังกัดผลักดันนโยบายรัฐบาลดิจิทัล พ...
สวรส.หนุนข้อมูลวิจัยรายการยา-รหัสยามาตรฐาน พัฒนาแอปพลิเคชัน RDU รู้เรื่องยา
—
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหตุผล พัฒนานว...