"กรดไหลย้อน" ต้องรีบรักษา ก่อนเสี่ยง "มะเร็งหลอดอาหาร"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

โรคกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ซึ่งกรดเหล่านี้มีความเข้มข้นสูงมาก ทำให้เกิดอันตรายต่อหลอดอาหาร และเยื่อบุในหลอดอาหารที่มีความบอบบาง กระทั่งทำให้เกิดการอักเสบตามมา

"กรดไหลย้อน" ต้องรีบรักษา ก่อนเสี่ยง "มะเร็งหลอดอาหาร"

อาการของโรคกรดไหลย้อน เมื่อเป็นกรดไหลย้อนจะทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว ปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ และเนื่องจากโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้ายๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร จึงทำให้คนส่วนใหญ่มักเหมารวมว่าตัวเองอาจเป็นโรคกระเพาะอาหาร

นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ที่ชอบกินจุบกินจิบ กินอาหารไม่เป็นเวลาและเร่งรีบ รวมถึงคนที่ชอบทานอาหารรสจัด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ทานอาหารแล้วนอนทันที ก็มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นกรดไหลย้อนเช่นกัน

กรดไหลย้อนแม้จะดูเหมือนว่าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แค่สร้างความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่กรดไหลย้อนหากเป็นบ่อยๆ แล้วปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง ก็อาจส่งผลให้หลอดอาหารมีแผล หรือหลอดอาหารตีบ ทำให้บางคนกลืนอาหารลำบาก กลืนแล้วชอบติด หรือบางคนร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งที่หลอดอาหารก็มีให้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง เพราะหลอดอาหารส่วนปลายมีการสัมผัสกับกรดมากเกินไป ทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด

การป้องกันรักษาโรคกรดไหลย้อน ที่ได้ผลที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ทั้งเรื่องปริมาณและชนิดของอาหาร เลี่ยงทานอาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารหมักดอง อาหารมัน อาหารย่อยยาก ชา กาแฟ น้ำอัดลม ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ และที่สำคัญไม่ควรนอนทันทีหลังทานอาหารเสร็จ ควรรอให้อาหารย่อยก่อนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ทั้งนี้หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือทานยาลดกรดควบคู่กันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ ตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

โรคกรดไหลย้อน อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/257


ข่าวโรคกรดไหลย้อน+มะเร็งวันนี้

แอสตร้าเซนเนก้า จับมือ สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว ชวนคนไทยคัดกรองอาการโรคกรดไหลย้อนด้วยตนเอง เพียงตอบคำถาม 6 ข้อในแพลตฟอร์ม "น้องเป๊ป"

แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ร่วมมือกับ สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว (ไทย) แนะนำ "น้องเป๊ป" เครื่องมือประเมินอาการโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยทั่วโลก รวมถึงคนไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และส่งเสริมการคัดกรองโรคด้วยแบบสอบถามอย่างง่าย เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมจากแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการวินิจฉัย และการรักษาโรคกรดไหลย้อนต่อไป กรดไหลย้อน หรือ เกิร์ด (Gastroesophageal reflux disease GERD)

"กรดไหลย้อน" เป็นภาวะระบบทางเดินอาหารที่พ... "กรดไหลย้อน" โรคยอดฮิตที่เกิดได้ทุกวัย — "กรดไหลย้อน" เป็นภาวะระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อย และเป็นโรคใกล้ตัวที่ไม่ว่าจะวัยไหน ๆ ก็สามารถเป็นได้ โดยทั่ว...

เชื่อว่าทุกท่านคงเคยเจอคนรอบตัว (รวมถึงอา... เป็นกรดไหลย้อนเรื้อรัง เสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร ได้ด้วย!... — เชื่อว่าทุกท่านคงเคยเจอคนรอบตัว (รวมถึงอาจเป็นตัวท่านเอง) ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนกันบ้างไม่มากก็น...

เซเบลา ฟาร์มาซูติคอลส์ ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพื่อพัฒนาและจัดจำหน่ายยาเทโกพราซานในสหรัฐและแคนาดา

เริ่มการทดลองเฟส 3 โดยใช้ยาเทโกพราซานรักษาอาการหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อนและกรดไหลย้อนชนิดไม่มีการอักเสบของหลอดอาหาร เซเบลา ฟาร์มาซูติคอลส์ (Sebela Pharmaceuticals(R) ) ได้ทำข้อตกลงแต่...

ทำไมถึงไอเรื้อรัง.. ทำอย่างไรถึงจะหาย? ไอ... ทำไมถึงไอเรื้อรัง.. ทำอย่างไรถึงจะหาย? — ทำไมถึงไอเรื้อรัง.. ทำอย่างไรถึงจะหาย? ไอเรื้อรัง (Chronic Cough) คือ อาการไอที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน...

เชื่อว่าทุกท่านคงเคยเจอคนรอบตัว (รวมถึงอา... เป็นกรดไหลย้อนเรื้อรังเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารได้ด้วย — เชื่อว่าทุกท่านคงเคยเจอคนรอบตัว (รวมถึงอาจเป็นตัวท่านเอง) ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนกันบ้างไม่มากก็น้อย ...

"โรคกรดไหลย้อน" เป็นภาวะที่กรดน้ำย่อยในกร... กรดไหลย้อน ป้องกันก่อนย้อนทำร้ายตัวเอง — "โรคกรดไหลย้อน" เป็นภาวะที่กรดน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบ หรือ...

โดยทั่วไปแล้วนิ่วในถุงน้ำดีมักจะไม่ก่อให้... เทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก 3D รักษาถุงน้ำดีอักเสบ ลดความเสี่ยง เพิ่มคุณภาพชีวิต — โดยทั่วไปแล้วนิ่วในถุงน้ำดีมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการ ผู้ป่วยอาจมีอากา...

โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุมาจากหูรูดกระเพาะอาห... ปรับพฤติกรรมการกินสักนิด พิชิตกรดไหลย้อน — โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุมาจากหูรูดกระเพาะอาหารบางส่วนผิดปกติทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหาร ภาวะ...