สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 รางวัลระดับดี สาขาปรัชญา ให้กับผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรื่อง "นวัตปะการัง : ปะการังเทียมที่มีโครงสร้างเลียนแบบธรรมชาติ ด้วยกระบวนการออกแบบชีวจำลอง" ของ รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ และคณะ แห่ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศนใต้ท้องทะเลให้อุดมสมบูรณ์ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงถูกใจสิ่งนี้
รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นว่า สมัยก่อนเป็นครูสอนดำน้ำเมื่อดำน้ำจะมองเห็นปะการังที่มีความเปลี่ยนแปลงจากมนุษย์ที่พยายามทำปะการังเทียมมาช่วยชดเชยธรรมชาติ ซึ่งรูปแบบปะการังเทียมที่เห็นส่วนใหญ่เป็นรูปสี่เหลี่ยมทำจากปูนซีเมนต์ จึงมีความรู้สึกว่าขัดตาเวลาที่ต้องดำน้ำและมองเห็น ขณะเดียวกันการทำปะการังเทียมก็ไม่ได้นำหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ ว่าทำอย่างไรให้มีการเกาะติดแบบเร็วที่สุด และดีที่สุด จึงมีความคิดที่จะทำปะการังที่วางแล้วสวยเลย เพราะปะการังเทียมส่วนใหญ่ต้องรอให้ปะการังธรรมชาติมาเกาะให้เต็มก่อนถึงจะสวย ซึ่งจะใช้เวลาหลายปีมาก แต่ถ้าทำปะการังที่มีรูปร่างเหมือนปะการังก็จะสวย และมีฟังก์ชันแบบปะการังธรรมชาติได้ทันที ก็เลยคิดและลงมือทำนวัตปะการัง : ปะการังเทียมที่มีโครงสร้างเลียนแบบธรรมชาติด้วยกระบวนการออกแบบชีวจำลอง โดยเริ่มศึกษาจากปะการังธรรมชาติ ว่ามีฟังชั่นยังไรบ้าง จนได้ปะการังเขากวาง เพราะมีลักษณะการเรียงตัวเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะสามารถชะลอกระแสน้ำ และจะนำตัวอ่อนของปะการังธรรมชาติให้เกาะได้ทนขึ้นกว่าการที่วางไว้เฉย ๆ ให้น้ำพัดผ่านไป แต่ก็ยังพบปัญหาเพราะการที่เอาปะการังเทียมไปวางเป็นปูนหนักมาก เวลานำไปวางต้องใช้เครน จึงคิดว่าควรทำเป็นก้อนเล็ก ๆ 3 ก้อน โดยเจาะรูใส่กิ่งปะการังเข้าไป เพื่อจะได้ประกอบในน้ำได้ง่ายขึ้น
สิ่งที่แตกต่างจากปะการังเทียมทั่วไป คือ 1. รูปลักษณ์ภายนอกกลมกลืนกับธรรมชาติ 2. ประสิทธิภาพในการเพิ่มพื้นที่ผิวของนวัตปะการังจะมีมากกว่าที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเดิมกว่า 10 เท่า 3. เวลาที่ใช้ในการที่ปะการังแท้จะมาเกาะติดและเติบโตเร็วกว่าเดิม และ 4. สถานีนี้สามารถทำเป็นสถานีงานวิจัยอื่น ๆ ต่อไปได้ อาทิ สถานีวัดน้ำ หรือติดกล้องไว้ดูแนวปะการังได้ ฯลฯ ความแตกต่างคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ ซ่อมเสริมธรรมชาติโดยให้กลมกลืนกับธรรมชาติ "นวัตปะการัง" ได้นำลงไปวางในหลายพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร จังหวัด และจังหวัดภูเก็ต
การต่อยอดของนวัตปะการังสามารถนำไปต่อยอดได้อีกหลายรูปแบบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับปะการังเทียมในอนาคต แนวปะการังเทียมเพื่อการท่องเที่ยวทดแทนแนวปะการังจริง พื้นที่สำหรับการฝึกดำน้ำ แหล่งศึกษาวิจัยระบบนิเวศแนวปะการัง แหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำเพื่อส่งเสริมพื้นที่สำหรับการประมง เพิ่มโอกาสในการเกิดอาชีพใหม่ สามารถสร้างรายได้ ทำให้เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้นด้วย
ผู้ประดิษฐ์จะเข้ารับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 และจัดแสดงผลงานในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร สอบถามรายละเอียดได้ 02-561-2445 ต่อ 508
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.จิราภรณ์ บุราคร นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ ประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การสื่อสารงานวิจัย ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ธาตรี ใต้ฟ้าทูล ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ เป็นวิทยากร การอบรมฯ มีบุคลากร นักวิจัย กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมกว่า 40 คน ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 และวันที่ 24 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม
วว. /จุฬาฯ /มทร.ล้านนา /ม.พายัพ /บริษัทไบโออัพฯ ร่วมรับรางวัลจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
—
วว. /จุฬาฯ /มทร.ล้านนา /ม.พายัพ /บริษัทไบโออัพฯ ร่วมรับรางวัลจ...
วว. ร่วมชมการแสดง ดนตรีในสวน : H.M. Song อว. บรรเลงเพลงของพ่อ ประจำปี 2567 พร้อมโชว์ผลงานวิจัยสารฝนหลวงทางเลือก ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—
นางสาวศุภมา...
วว. ร่วม พิธีเปิดงาน Loy Krathong: Illumination the Future @ สยามสแควร์
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัต...
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือ ยกระดับความเป็นเลิศด้านสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
—
บริษัท เบอร...
SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต สนับสนุนประกันเดินทางนักกีฬาจุฬาฯ เข้าแข่งขันตุมปังเกมส์ 2025
—
นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ...
จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University
—
ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...
จุฬาฯ - การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ "จุฬาฯ - การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทย...
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...
ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
—
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...