สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ประกาศรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรื่อง ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทนพญ. ปาหนัน รัฐวงศ์จิรกุล หัวหน้าโครงการวิจัย และคณะทีมนักวิจัยจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้ประดิษฐ์เข้ารับรางวัลและจัดแสดงผลงานในงานวันนักประดิษฐ์ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนากรุงเทพมหานคร
รองศาสตราจารย์ ดร.ทนพญ. ปาหนัน รัฐวงศ์จิรกุล หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์จึงเกิดขึ้นภายใต้แนวความคิดที่ต้องการชุดตรวจวัณโรคที่สามารถตรวจได้รวดเร็ว เป็นชุดตรวจที่อาศัยหลักการทางอณูชีววิทยาที่มีความไวและความจำเพาะสูง ที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือจำเพาะที่มีราคาแพง และควรเป็นเทคนิคที่ใช้งานง่าย อ่านผลได้ง่ายด้วยตาเปล่าทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากสามารถเข้าถึงการวินิจฉัยวัณโรคได้อย่างครอบคลุมและง่ายขึ้น ส่งผลต่อการพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป อันจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรคได้ จึงเป็นที่มาของสิ่งประดิษฐ์ที่ชื่อว่า "ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip" ซึ่งสามารถวินิจฉัยวัณโรคได้จากสิ่งส่งตรวจเสมหะของผู้ป่วยโดยตรง มีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับเทคนิคทางอณูชีววิทยาที่มีในปัจจุบัน โดยมีความไวและความจำเพาะสูง อาศัยหลักการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมภายใต้อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสคงที่ที่ชื่อว่า Multiplex-recombinase polymerase amplification ร่วมกับไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อเชื้อ M. tuberculosis ได้แก่ IS1081 และ IS6110 และตรวจสอบผลผลิตสารพันธุกรรมด้วยแถบตรวจ MTB Strip ที่พัฒนาขึ้น ดังนั้นการทดสอบจึงทำได้ง่ายเพราะใช้เพียงกล่องควบคุมอุณหภูมิทั่วไปที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการในการดำเนินปฏิกิริยา มีต้นทุนในการตรวจวินิจฉัยวัณโรคที่ถูก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือจำเพาะ การทดสอบจนถึงอ่านผลมีความรวดเร็ว ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 40 นาที และสามารถอ่านผลง่ายได้ทันทีด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ได้ที่อุณหภูมิปกติ โดยมีอายุการเก็บรักษา 1 ปี เหมาะสำหรับห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก เพื่อใช้วินิจฉัยวัณโรค ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อในประเทศไทยในอนาคต อันจะนำไปสู่นวัตกรรมที่ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และการวัดผลที่แม่นยำ ด้วย"ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip"
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.จิราภรณ์ บุราคร นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ ประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การสื่อสารงานวิจัย ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ธาตรี ใต้ฟ้าทูล ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ เป็นวิทยากร การอบรมฯ มีบุคลากร นักวิจัย กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมกว่า 40 คน ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 และวันที่ 24 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม
วว. /จุฬาฯ /มทร.ล้านนา /ม.พายัพ /บริษัทไบโออัพฯ ร่วมรับรางวัลจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
—
วว. /จุฬาฯ /มทร.ล้านนา /ม.พายัพ /บริษัทไบโออัพฯ ร่วมรับรางวัลจ...
วว. ร่วมชมการแสดง ดนตรีในสวน : H.M. Song อว. บรรเลงเพลงของพ่อ ประจำปี 2567 พร้อมโชว์ผลงานวิจัยสารฝนหลวงทางเลือก ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—
นางสาวศุภมา...
วว. ร่วม พิธีเปิดงาน Loy Krathong: Illumination the Future @ สยามสแควร์
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัต...
จุฬาฯ - การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ "จุฬาฯ - การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทย...
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...
ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
—
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา "SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์"
—
ใครที่มองหาโอกาสสร้างธุรกิจออนไลน์ให้เติบโต ห้าม...
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...