สมาคมธนาคารไทย แจ้งสิ้นสุดมาตรการลดเงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ กลับเข้าสู่อัตรา 0.46% ต่อปี ตั้งแต่ 1 ม.ค.66 มีผลให้ธนาคารพาณิชย์ต้องทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.4% ต่อปี
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 เรื่องการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) เพื่อลดต้นทุนของสถาบันการเงิน ให้สามารถส่งผ่านความช่วยเหลือไปยังภาคธุรกิจและภาคประชาชนเป็นการชั่วคราวสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยการลดเงินนำส่งดังกล่าว ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลอยตัว (M-rate) ลง 0.4% ไปก่อนหน้านี้
จากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและชัดเจนขึ้น ธปท. จึงมีทิศทางปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ (Policy Normalization) ซึ่งสอดคล้องกับที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ เพื่อช่วยให้ภาระหนี้ของ FIDF ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 สามารถทยอยลดลงได้ตามเป้าหมาย โดยไม่สร้างภาระต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจไทยโดยไม่จำเป็น ธปท.จึงจะมีการปรับอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ให้กลับเข้าสู่อัตราปกติที่ 0.46%ต่อปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 0.23% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.4% ต่อปี ตามที่ได้ปรับลดไป 0.4% ในช่วงก่อนหน้า
สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก ตระหนักถึงผลกระทบต่อลูกค้าประชาชน และให้ความสำคัญกับการดูแลลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ที่รายได้ยังไม่กลับมาปกติ และได้รับผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น จึงพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ผ่านมาตรการความช่วยเหลือของแต่ละธนาคาร ที่มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม ตรงจุด และทันการณ์ ครอบคลุมทั้งการลดภาระทางการเงิน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เดิม โดยคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกค้าในอนาคต การเสริมสภาพคล่องและการไกล่เกลี่ยหนี้ ขณะที่ยังรักษาความมั่นคงและการบริหารความเสี่ยงที่ดีของระบบสถาบันการเงินในอนาคต โดยลูกค้าที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือหรือคำปรึกษาสามารถติดต่อกับธนาคารที่ใช้บริการได้ทันที
ขณะเดียวกัน สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก จะเร่งผลักดันมาตรการอื่นๆ ภายใต้มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ ที่ปรับเงื่อนไขให้ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น เพื่อบรรเทาภาระของผู้ประกอบธุรกิจและประชาชนผ่านมาตรการต่างๆ ได้แก่ ลูกหนี้รายย่อย และ SMEs ที่รายได้หยุดชะงัก โครงการพักทรัพย์พักหนี้ สำหรับลูกหนี้ธุรกิจที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว ทั้งนี้จะได้มีการติดตามความคืบหน้าและประสิทธิผลของมาตรการต่างๆอย่างใกล้ชิด และพร้อมพิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมหากมีความจำเป็นในระยะต่อไป โดยสมาคมธนาคารไทย พร้อมปฏิบัติตามนโยบายและร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก ดำเนินธุรกิจภายใต้จรรยาบรรณธนาคาร (Banking Industry Code of Conduct) อย่างรับผิดชอบต่อลูกค้า สังคม และประชาคมโลกและตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยมีนโยบายชัดเจนที่ไม่สนับสนุนการจัดซื้ออาวุธและสรรพาวุธกับองค์กรทางทหารกับประเทศที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงให้ความสำคัญต่อการป้องกันและห้ามทำธุรกรรมทางเงิน เพื่อการสนับสนุนการก่อการร้ายหรือสงครามที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบขององค์กรกำกับดูแล คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานป้องกัน
ไทยพาณิชย์สนับสนุน โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" ช่วยลูกค้ากลุ่มเปราะบาง สร้างวินัย แก้หนี้ครัวเรือนยั่งยืน
—
ไทยพาณิชย์ขานรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ...
สมาคมธนาคารไทย ร่วมมือกับภาครัฐเตรียมออกมาตรการลดภาระชำระหนี้ ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก
—
ตามที่สมาคมธนาคารไทย ได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง...
ทรู ผนึก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ห่วงใยคนไทย เร่งมาตรการป้องกัน "ยุทธการปราบซิมผี ล่าบัญชีม้า" ตัดวงจรแก็งค์คอลเซ็นเตอร์ หยุด! อาชญากรรมทางเทคโนโลยี
—
ทรู คอร์ปอเ...
กรุงไทยปลื้มลูกค้า SME คว้ารางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นปี 2566
—
นางสาวลาริณี ปิยะณัตติพูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมแสดงความยินดีกับ นายธนว...
ธปท. สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จับมือยกระดับการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน
—
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการจัดการภัยทุจริตท...
สมาคมประกันวินาศภัยไทย ลงนามปฏิญญาความร่วมมือร่วมผลิตกำลังคนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน
—
นายอานนท์ วังวสุ นาย...
กรุงศรี เน้นย้ำให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
—
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) เน้นย้ำแนวทางการให้ความช่วยเหลื...