สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก ดำเนินธุรกิจภายใต้จรรยาบรรณธนาคาร (Banking Industry Code of Conduct) อย่างรับผิดชอบต่อลูกค้า สังคม และประชาคมโลกและตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยมีนโยบายชัดเจนที่ไม่สนับสนุนการจัดซื้ออาวุธและสรรพาวุธกับองค์กรทางทหารกับประเทศที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงให้ความสำคัญต่อการป้องกันและห้ามทำธุรกรรมทางเงิน เพื่อการสนับสนุนการก่อการร้ายหรือสงครามที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบขององค์กรกำกับดูแล คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งมีการกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด สร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบการเงินของประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก จึงพร้อมสนับสนุนธปท.และปปง.ในการยกระดับนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานของสถาบันการเงินเกี่ยวกับการทำธุรกรรมกับประเทศที่มีความเสี่ยงสูงและการดูแลความเสี่ยงเกี่ยวกับการคว่ำบาตร ซึ่งมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะขยายขอบเขตมาตรการบริหารความเสี่ยงให้คลุมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการคว่ำบาตรที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยสมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก พร้อมยกระดับนโยบายและการจัดการการบริหารความเสี่ยงของธนาคารสมาชิกแต่ละแห่งที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมทั้งยกระดับมาตรการบริหารความเสี่ยงด้าน AML/CFT กระบวนการภายในในการประเมิน ติดตาม ตรวจจับ แจ้งเตือนเมื่อพบความผิดปกติให้สอดคล้องกับ Risk Proportionately โดยการจัดทำแนวทางการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเข้มข้น (Enhance Due Diligence) และแนวทางการตรวจสอบสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual Use Items) ของภาคธนาคาร เพื่อเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการปฎิบัติงานของธนาคารสมาชิกเกี่ยวกับการเปิดบัญชีเงินฝากและการสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันการเงินตัวแทนในต่างประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากการฟอกเงิน ภัยจากการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และภัยจากสงครามให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ทั้งนี้ สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกได้สื่อสารแนวทางดังกล่าวกับหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานในประเทศไทยและหน่วยงานในต่างประเทศให้รับทราบโดยทั่วกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ขีดความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Emerging Technology) ที่กำลังเติบโตอย่างทวีคูณ ส่งผลให้มีโอกาสเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ประเด็นนี้กลายเป็นความเสี่ยงใหม่ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ เกิดเป็นภัยไซเบอร์ที่มาในหลากหลายรูปแบบกลลวง อาทิ การสอดแนมข้อมูล (Dataveillance) การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) การปลอมแปลงลักษณะบุคคล (Deepfake) การบิดเบือนข้อมูลและให้ข้อมูลเท็จ (Misinformation and Disinformation) หรือ
แนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล สร้างการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐานเพื่อโลกที่ยั่งยืนมากขึ้น
—
แสดงทรรศนะโดย รศ.ดร. มูซาฮิด มุสตาฟา เบย์รัก (Muc...
กสร. ร่วมกับ IOM เปิดตัว คู่มือสำหรับภาคธุรกิจวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน มุ่งป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
—
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานร่...
DPU คว้า 2 รางวัล "วิทยานิพนธ์ระดับดี สาขานิติศาสตร์" จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
—
ดร.อังค์วรา ไชยอนงค์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลั...