เฮเทอโร (Hetero) บริษัทเวชภัณฑ์ชั้นนำของอินเดียที่ดำเนินธุรกิจครอบคลุมกว้างขวางทั่วโลก ประกาศว่า ยาเนอร์มาเทรลเวียร์ (nirmatrelvir) ซึ่งเป็นยารักษาไวรัสโควิด-19 ชนิดรับประทานในรูปแบบยาสามัญที่บริษัทกำลังพัฒนา ได้รับการรับรองคุณสมบัติขั้นต้นตามโครงการรับรองคุณสมบัติเวชภัณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization Prequalification of Medicines Program หรือ WHO PQ) แล้ว นับเป็นการรับรองคุณสมบัติขั้นต้นครั้งแรกให้กับยาสามัญที่พัฒนาต่อยอดมาจากยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID) ต้านไวรัสโควิด-19 แบบรับประทานของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกยกให้เป็นตัวเลือกการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยความเสี่ยงสูงนับจนถึงทุกวันนี้[1]
องค์การอนามัยโลกได้ให้คำแนะนำอย่างจริงจัง ในการใช้ยาเนอร์มาเทรลเวียร์และริโตนาเวียร์ (ritonavir) รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อาการไม่รุนแรงถึงปานกลางที่มีความเสี่ยงสูงสุดในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เช่น ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
เฮเทอโรนำยาทั้งสองตัวนี้มาพัฒนาเป็นยาชุดชื่อเนอร์มาคอม (Nirmacom) ซึ่งจะประกอบด้วยยาเนอร์มาเทรลเวียร์ 150 มิลลิกรัม (2 เม็ด) และยาริโตนาเวียร์ 100 มิลลิกรัม (1 เม็ด) โดยต้องมีใบสั่งยาเท่านั้น และควรให้ยาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หลังวินิจฉัยพบโรคโควิด-19 และภายใน 5 วันหลังเริ่มแสดงอาการ ทั้งนี้ เนอร์มาคอมจะผลิตที่โรงงานของเฮเทอโรในอินเดีย
ดร.วัมสี คริชนา บันดี ( Vamsi Krishna Bandi) กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทเฮเทอโร กล่าวว่า "การที่ WHO รับรองคุณสมบัติเบื้องต้นให้เนอร์มาคอมนับเป็นความก้าวหน้าสำคัญในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 เพราะเปิดโอกาสให้เราขยายการเข้าถึงยาต้านรีโทรไวรัสที่มีความล้ำหน้าเช่นนี้แก่ผู้ที่ต้องการ เรามุ่งมั่นในการเร่งให้เนอร์มาคอมเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและราคาถูกลงในประเทศกลุ่ม LMIC รวม 95 แห่ง เช่นเดียวกับอินเดีย"
เฮเทอโรได้บรรลุข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิอย่างสมัครใจโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียวกับองค์กรสิทธิบัตรยาร่วม (Medicines Patent Pool หรือ MPP) ในการผลิตและจัดจำหน่ายยาเนอร์มาเทรลเวียร์ ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากยาต้านไวรัสโควิด-19 แบบรับประทานของบริษัทไฟเซอร์ ให้เป็นยาสามัญ โดยนำมาบรรจุร่วมกับยาริโตนาเวียร์ (เนอร์มาเทรลเวียร์ ริโตนาเวียร์) ในประเทศกลุ่ม LMIC
ชาร์ลส์ กอร์ ( Charles Gore) กรรมการบริหารองค์กรสิทธิบัตรยาร่วม กล่าวว่า "เรามีความยินดีที่ได้เห็นยาเนอร์มาเทรลเวียร์ในรูปแบบยาสามัญตัวแรกภายใต้ใบอนุญาต MPP กับไฟเซอร์ ได้รับการรับรองคุณภาพจาก WHO นับเป็นความสำเร็จอันน่าประทับใจจากเฮเทอโร หลังจากที่เราได้ประเทศข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงเมื่อเพียง 9 เดือนที่แล้ว ปัจจุบัน โรคโควิด-19 กลับมาระบาดจนมีผู้ติดเชื้อเพิ่มอีกครั้ง เราจำเป็นต้องทำให้ประเทศกลุ่ม LMIC มีการรักษาเพียบพร้อม เพื่อไม่ให้ใครถูกทอดทิ้ง"
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเฮเทอโร ได้ที่ www.hetero.com
[1] https://www.who.int/news/item/22-04-2022-who-recommends-highly-successful-covid-19-therapy-and-calls-for-wide-geographical-distribution-and-transparency-from-originator
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1974465/Hetero_Logo.jpg
องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปีถือเป็น "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก" ซึ่งเป็นแคมเปญด้านสาธารณสุขระดับโลกเพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยในปีนี้ได้กำหนดธีม "Immunization for All is Humanly Possible" เพื่อย้ำถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันทั่วโลกสำหรับทุกคนว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้ ด้วยความมุ่งหวังให้ผู้คนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ได้รับการปกป้องจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากยิ่งขึ้น
แอสตร้าเซนเนก้า เผยความสำเร็จในการใช้ AI คัดกรองมะเร็งปอดจากภาพเอกซเรย์ เสริมความมั่นคงด้านสุขภาพที่ยั่งยืน
—
จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่ามะเร็งปอดเป็นสา...
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้มพระมหากรุณาธิคุณ สืบสานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เร่งป้องกันปัญหาการคลอดก่อนกำหนด
—
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้...
การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ
—
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...
สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50
—
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...
นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...
"Check PD" แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน รู้เร็ว รักษาไว เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
—
หากเอ่ยถึง "โรคพาร์กินสัน" ภาพการรับรู้ของหลายคนจะม...
กทม. เตรียมพร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อหิวาตกโรค-แนะยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ"
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...
งานประกาศผลการประกวดคลิปสั้น The PAUSE Project : eyes up phone down เดินเท้าปลอดภัย
—
สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์การอนามัยโล...
องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
—
ประเทศไทย โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุม...