สถาบันยานยนต์ (สยย.) เร่งเครื่องยกระดับการทดสอบรถยนต์สันดาปภายในมลพิษไอเสียต่ำ มาตรฐานยูโร 5b และยูโร 6b เพื่อตอบสนองการตรวจสอบมาตรฐานรถยนต์สันดาปภายในรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้สามารถลดปริมาณมลพิษ และฝุ่น PM ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่งผลต่อสภาวะโลกร้อน รวมถึงรถยนต์ xEV ที่มีการทำงานร่วมกับระบบแบตเตอรี่และมอเตอร์ขับเคลื่อนเพื่อช่วยประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ในปัจจุบันรถยนต์ที่ขายในประเทศไทยมีมาตรฐานมลพิษไอเสียขั้นต่ำอยู่ที่ระดับยูโร 4 ซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา โดยรถยนต์เบนซิน เมื่อยกระดับเปลี่ยนมาตรฐานจากระดับยูโร 4 เป็นระดับยูโร 6b จะส่งผลให้ค่าออกไซด์ของไนโตรเจน NOX จาก 80 mg/km ลดลงเป็น 60 mg/km นอกจากนี้ มาตรฐานระดับยูโร 6 ยังกำหนดให้ รถยนต์เบนซินรุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีการฉีดเชื้อเพลิงระบบ GDI ต้องควบคุมปริมาณฝุ่นอนุภาค PM โดยน้ำหนักให้ไม่เกิน 4.5 mg/km และจำนวนฝุ่นอนุภาคขนาดเล็ก (Particle Number Measurement) ให้ไม่เกิน 6.0x1011 Nb/km จากเดิมที่ไม่ต้องถูกควบคุมฝุ่นอนุภาค PM ในรถยนต์เบนซินที่มีมาตรฐานระดับยูโร 4
สำหรับรถยนต์ดีเซล ตามเกณฑ์ของมาตรฐานมลพิษระดับยูโร 4 ค่าออกไซด์ของไนโตรเจน NOX จาก 250 mg/km จะลดลงเหลือ 80 mg/km และอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กระดับ 10 ไมครอน PM10 จาก 25 mg/km ลดลงเหลือ 4.5 mg/km โดยน้ำหนัก และเพิ่มเติมให้มีการนับจำนวนฝุ่นอนุภาคขนาดเล็ก PM ที่ต้องมีจำนวนไม่เกิน 6.0x1011 Nb/km
จะเห็นว่ารถยนต์ที่ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานมลพิษในระดับที่สูงขึ้น จะมีความเป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีแผนที่จะปรับจากมาตรฐานยูโร 4 ที่ใช้ในปัจจุบันเป็นมาตรฐานยูโร 5b และยูโร 6b ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งคาดว่าในปี 2567 จะเป็น ยูโร 5b และ ยูโร 6b ในปี 2570 ปัจจุบัน สมอ. ได้ประกาศมาตรฐานมลพิษรถยนต์ระดับยูโร 5 และ ยูโร 6 เป็นมาตรฐานทั่วไป จำนวน 4 มาตรฐาน เพื่อรองรับการควบคุมการปล่อยมลพิษจากเครื่องยนต์ตามมาตรฐานยูโร 5b และยูโร 6b ดังนี้
นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า "สยย. ได้ทำการปรับปรุงเครื่องมือทดสอบมลพิษไอเสียรถยนต์จากมาตรฐานยูโร 4 เป็น ยูโร 5b และยูโร 6b เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบัน สยย. พร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ โดยผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าทดสอบสามารถยื่นเอกสารใบคำขอ เพื่อทำการจองคิวล่วงหน้าได้ เจ้าหน้าที่ของ สยย. พร้อมให้บริการ หรือท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องของกระบวนการการทดสอบ สามารถสอบถามมายังสถาบันยานยนต์ได้ที่ โทร: 02-324-0710 หรือ Line: @thaiauto"
อุปกรณ์ต่อพ่วงแอนะล็อกประหยัดพลังงานแบบบูรณาการช่วยลดต้นทุนการออกแบบและความซับซ้อน อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อบันทึกสัญญาณแอนะล็อกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะต้องตอบสนองได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้งานที่ใช้แบตเตอรี่ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ Microchip Technology (Nasdaq: MCHP) จึงได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) PIC16F17576 ที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงประหยัดพลังงานแบบบูรณาการและความสามารถในการวัดสัญญาณแอนะล็อกที่มีความผันผวนได้อย่างแม่นยำ MCU
พฤกษา ร่วมมือ การประปานครหลวง ลงนาม MOU ติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดน้ำ ส่งเสริมการใช้น้ำประปาอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ลูกบ้านอย่างยั่งยืน
—
พฤกษา เดินห...
แอลจีรุกตลาดเครื่องล้างจาน เปิดตัวไลน์อัปใหม่ครั้งแรก ชูจุดแข็งเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อสุขอนามัยและความสะดวกสบาย ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภค
—
บริษัท แอลจ...
STA เร่งเครื่องสู่ Net Zero ลงทุนขยายการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
—
STA เร่งเครื่องสู่ Net Zero ลงทุนขยายการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เทคโนโลยีป...
CKPower สานต่อ "โครงการหิ่งห้อย" ปีที่ 8 เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ส่งมอบอาคารห้องสมุดประหยัดพลังงาน
—
เดินหน้าสร้างการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียน พร้อมปลูกฝังองค...
เอสซีจี นำเทรนด์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ร่วมงานสถาปนิก'68 ภายใต้แนวคิด "Seamless Quality Living"
—
เอสซีจี นำเทรนด์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ร่วมงานสถาปนิก'68 ภายใต้แ...
MediaTek เพิ่มประสิทธิภาพ AI เรือธงด้วยแพลตฟอร์มมือถือ Dimensity 9400+
—
มอบประสิทธิภาพ Gen-AI และ Agentic AI บนอุปกรณ์สุดล้ำที่ประหยัดพลังงาน วันนี้ Medi...
เดลต้าเปิดตัว Vari?ROW: ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์แบบครบวงจร ตอบโจทย์การใช้งานแบบยืดหยุ่นในพื้นที่จำกัด
—
บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผ...
ตู้เย็น โตชิบา คว้า 2025 Thailand's Most Admired Brand 16 ปีซ้อน
—
มร.อเล็กซ์ มา รองประธานบริษัท บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ร่วมพิธีมอบรางวัล 2025 Thail...