วช. พาส่อง ไอเดีย "แอพพลิเคชัน วิ่ง สุดอัจฉริยะ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ปี 66"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดประกวด "ผลงานประดิษฐ์คิดค้น" เพื่อคัดเลือกเข้ารับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 ซึ่งในปีนี้ผลงาน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น "แอพพลิเคชันวิเคราะห์การเคลื่อนไหวเชิงกีฬา" โดย รศ.ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และ นายปรมัตถ์ จรัสดำรง แห่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด

วช. พาส่อง ไอเดีย "แอพพลิเคชัน วิ่ง สุดอัจฉริยะ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ปี 66"

นายปรมัตถ์ จรัสดำรง แห่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ทีมนักประดิษฐ์ เปิดเผยว่า แอพพลิเคชันวิเคราะห์การเคลื่อนไหวเชิงกีฬา เป็นระบบ Computer vision (CV) โดยการนำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการตรวจจับการวิเคราะห์ลักษณะการวิ่งของผู้ใช้งาน ซึ่งภายในแอพพลิเคชันจะทำการบันทึกการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งานนำไปสู่การประมวลผลลักษณะการวิ่งของผู้วิ่งเพื่อปรับท่าวิ่งให้ถูกลักษณะ ช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการวิ่ง เหมาะแก่การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวทางการกีฬาที่สามารถใช้งานบนโทรศัพท์มือถือที่มีขนาดกะทัดรัดและสามารถพกพาได้สะดวก ซึ่งหลักการทำงานของแอพพลิเคชันดังกล่าวผู้วิ่งต้องทำการลงทะเบียนและติดตั้งแอพพลิเคชัน และตั้งกล้องให้เป็นลักษณะตั้งตรง ระบบจะสร้าง Spatial skeleton ขึ้นมาเสมือนเป็นกระดูกของผู้วิ่งแบบดิจิทัล เพื่อจำลองตำแหน่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวเมื่อครบ 10 วินาทีจะมีเสียงส่งสัญญาณแจ้งเตือน หลังจากทำการวัดส่วนสูง ระบบจะส่งเสียงนกหวีดส่งสัญญาณแจ้งเตือนหนึ่งครั้ง ให้ผู้วิ่งเริ่มทำการวิ่ง โดยให้ผู้วิ่งทำการวิ่งอยู่กับที่ตามปกติจนกว่านาฬิกาจับเวลาจะหมดลง เมื่อเวลาหมดลงระบบจะทำการส่งสัญญาณเตือนอีกครั้งเพื่อบอกให้ผู้วิ่งหยุดวิ่ง และรายงานผลลักษณะชีวกลศาสตร์ที่ได้จากการวิ่ง โดยที่แอพพลิเคชั่นสามารถวิเคราะห์ลักษณะชีวกลศาสตร์ได้ 3 ส่วน ได้แก่ 1) Vertical displacement of the center of mass 2) Trunk Lean 3) Tibia angle at a loading response ซึ่งผู้วิ่งและโค้ชสามารถนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์และประมวลผลดังกล่าวไปช่วยเพิ่มศักยภาพของนักกีฬาเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับชัยชนะให้ดียิ่งขึ้น นับเป็นผลงานประดิษฐ์คิดค้นในการเก็บวิเคราะห์และคำนวณผลข้อมูลสารสนเทศที่แม่นยำและในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบแอพพลิเคชันให้ดียิ่งขึ้นและตอบโจทย์ต่อผู้ใช้งานต่อไป วช. พาส่อง ไอเดีย "แอพพลิเคชัน วิ่ง สุดอัจฉริยะ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ปี 66"

ซึ่งแอพพลิเคชันวิเคราะห์การเคลื่อนไหวเชิงกีฬา เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ในด้านของวิทยาศาสตร์การกีฬาในการวิเคราะห์หลักชีวกลศาสตร์ การประมวลผลข้อมูลจากสื่อภาพและวิดีโอ ทักษะการเขียนโปรแกรมและการพัฒนาแอพพลิเคชันมือถือในการวิเคราะห์หลักชีวกลศาสตร์ท่าวิ่งเพื่อประโยชน์ทางการกีฬาในการส่งเสริมและสนับสนุนตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของการเล่นกีฬาสู่นักกีฬามืออาชีพในระดับประเทศ


ข่าววรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์+กระทรวงการอุดมศึกษาวันนี้

วว. ร่วมแชร์การใช้ประโยชน์งานด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

นำเสนอ "จุลินทรีย์ BioD I วว." ย่อยสลายตอซังข้าว ลดการเผา/การปล่อยก๊าซเรือนกระจก นำไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) พื้นที่จังหวัดปทุมธานี เพื่อร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับสถาบันการศึกษา อว. ส่วนหน้า หน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. ผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาคเครือข่าย เกี่ยวกับประเด็นการใช้ประโยชน์ ผลการดำเนินงาน

ชูจุดยืนแพลตฟอร์มหางานที่น่าเชื่อถืออันดั... Jobsdb by SEEK ร่วมยกระดับโอกาสให้แรงงานไทยในมหกรรมจัดหางาน "อว. Job Fair 2025" — ชูจุดยืนแพลตฟอร์มหางานที่น่าเชื่อถืออันดับหนึ่ง พร้อมจัดกิจกรรมเสริมทักษ...

ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกา... "เอ็นไอเอ" มั่นใจพร้อมดันยูนิคอร์นกลุ่มกรีนเทคแจ้งเกิดใน 3 ปี — ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกาตาร์ใน "Web Summit Qatar 2025" พร้อมชี้โอกาสนวัตก...

อาหารไทยที่เป็นอาหารคาวส่วนใหญ่มักมีรสชาต... ม.มหิดล คิดค้นโปรแกรมช่วยจักษุแพทย์คัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ลดเสี่ยงตาบอดไม่รู้ตัว — อาหารไทยที่เป็นอาหารคาวส่วนใหญ่มักมีรสชาติเผ็ด ทำให้มื้อปิดท้าย คนไ...

อุปสรรคสำคัญในการซื้อขายและส่งออกข้าวไทย ... ม.มหิดล คิดค้นใช้ AI แม่นยำสูงจำแนกเมล็ดพันธุ์ข้าวไทย กู้วิกฤติปลอมปนลดเกรดการซื้อขายและส่งออก — อุปสรรคสำคัญในการซื้อขายและส่งออกข้าวไทย คือ ปัญหาการปลอม...

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ม... คณะ ICT ม.มหิดล เชิญร่วมสัมมนาในหัวข้อ OPEN SOURCE TOOLS for RESEARCH — คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญอาจารย์ นักวิจัย นั...