"อิวอนิก" หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตซิลิก้ารายใหญ่ระดับโลก ร่วมมือกับ "เพอร์เนอร์ กรุ๊ป" ประเทศออสเตรีย และ "บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด" ประเทศไทย ในการผลิตซิลิก้าจากวัตถุดิบธรรมชาติภายใต้ชื่อทางการค้า ULTRASIL(R) สำหรับอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ ซึ่งเป็นสารที่ผลิตจากโซเดียมซิลิเกตที่ได้จากขี้เถ้าแกลบโดยใช้พลังงานชีวมวล นับว่าเป็นการขับเคลื่อนความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) เข้าสู่ภาคการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมยางรถยนต์
"ซิลิก้า" เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตยางรถเพื่อช่วยประหยัดเชื้อเพลิง โดยสามารถลดอัตราการใช้เชื้อเพลิงลงได้ถึง 8% เมื่อเทียบกับยางรถทั่วไป การนำซิลิก้าภายใต้ชื่อทางการค้า ULTRASIL(R) มาใช้ในการผลิตจะช่วยลดปริมาณ carbon footprint ที่เกิดจากการใช้ซิลิก้าลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยซิลิเกตที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตซิลิก้าภายใต้ชื่อทางการค้า ULTRASIL(R) นั้นจะผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติและผลิตโดยใช้พลังงานสะอาด ในปัจจุบันอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์มีความต้องการใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันซิลิก้าที่ผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ
อิวอนิกตระหนักถึงความสำคัญของการใช้วัตถุดิบธรรมชาติในกระบวนการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้งความต้องการของตลาด จึงได้ร่วมมือกับเพอร์เนอร์ กรุ๊ปในครั้งนี้ โดยเพอร์เนอร์ กรุ๊ปเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตซิลิเกตจากขี้เถ้าแกลบโดยใช้พลังงานสะอาด ซึ่งทำให้อิวอนิกสามารถลดปริมาณ carbon footprint ได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับการผลิตซิลิก้าจากวัตถุดิบและวิธีการผลิตแบบเดิม บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด ซึ่งมีโรงสีข้าวและโรงไฟฟ้าพลังชีวมวลเป็นของตนเองจะซื้อสิทธิในการผลิตซิลิเกตจากขี้เถ้าแกลบโดยใช้พลังงานสะอาดจากเพอร์เนอร์ กรุ๊ป และจะลงทุนตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย การตั้งโรงงานผลิตของบริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด จะทำให้อิวอนิกมีซิลิเกตจากวัตถุดิบธรรมชาติเพื่อใช้ในสายการผลิตในระยะยาว ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการใช้วัตถุดิบในการผลิตที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
"ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอิวอนิก โดยทางบริษัทจะสามารถนำเสนอซิลิก้าภายใต้ชื่อทางการค้า ULTRASIL(R) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาในด้านความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ไปอีกขั้นหนึ่งให้แก่ลูกค้า และอิวอนิกมีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนกลุ่มลูกค้าที่มีเป้าหมายในการลดปริมาณคาร์บอนในชั้นบรรยากาศและลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต" นายเอ็มมานูเอล ออยเออร์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจซิลิก้า กล่าว "อิวอนิกยังมีแผนที่จะขยายการผลิตวัตถุดิบรักษ์โลกของบริษัทไปสู่ฐานการผลิตในประเทศอื่นๆ อีกด้วย เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโลกและส่งเสริมความยั่งยืนในภาคการผลิต"
"ที่โรงงานทดสอบในเยอรมนีของเรา สามารถผลิตสารไบโอซิลิเกตคุณภาพเยี่ยม ซึ่งเป็นผลจากการทำวิจัยและพัฒนาในกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นร่วมกับอิวอนิกเป็นเวลาหลายปี" นายเกรฮาร์ด บารคเชอร์ ซีอีโอของเพอร์เนอร์ เยอรมนี กล่าว "ส่วนในขั้นตอนการจดสิทธิบัตร เราใช้วัตถุดิบขี้เถ้าแกลบของโรงไฟฟ้าชีวมวล ภายใต้เทคโนโลยีอัจฉริยะของเพอร์เนอร์ไบโอซิลิเกต (Poerner Bio-Silicate) ในการคัดกรองต้นข้าวนำมาผลิตโซเดียมซิลิเกตคุณภาพสูง เพื่อการใช้ประโยชน์หลายประเภท รวมทั้งการผลิตซิลิก้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ความร่วมมือครั้งนี้ทำให้เกิดการผลิตไบโอซิลิเกตจำนวนมากเพื่อใช้ในระดับอุตสาหกรรมได้ ซึ่งจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกระบวนผลิตแบบที่เป็นอยู่ในขณะนี้ นับเป็นการเริ่มกำจัดคาร์บอนในอุตสาหกรรมการแปรรูปซิลิเกตทั่วโลก"
"การผลิตซิลิเกตจากขี้เถ้าแกลบมีประโยชน์ไม่เพียงต่อสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน แต่ยังนำประโยชน์ที่สำคัญมาสู่ผู้ เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในภูมิภาคด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกระจายรายได้ต่อชุมชนรอบโรงงาน หรือเกษตรกรที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายการผลิตไฟฟ้าของเรา บริษัทภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์นี้ ในการสร้างอุปทานการผลิตซิลิเกตจากขี้เถ้าแกลบเพื่อสนับสนุนตลาดการผลิตซิลิก้าทั่วโลก ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์และสร้างความยั่งยืนต่อโลก" นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด กล่าวสรุป
ข้อมูลบริษัท
อิวอนิกเป็นหนึ่งในผู้นำด้านสารเคมีเฉพาะทางระดับโลก มีสำนักงานตั้งอยู่กว่า 100 ประเทศทั่วโลก และสามารถสร้างรายได้จากการขายมูลค่า 15,000 ล้านยูโร โดยมีกำไรจากการประกอบกิจการ (ไม่รวมผลกระทบจาก Stock Gain/(Loss) และค่าเผื่อมูลค่าของสินค้าคงเหลือ) มูลค่า 2,380 ล้านในปี พ.ศ. 2564 อิวอนิกไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสารเคมีเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ให้บริการครบวงจรแก่ลูกค้าทั้งในด้านนวัตกรรม การดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาอย่างยังยืน โดยอิวอนิกจ้างงานพนักงานกว่า 33,000 คน เพื่อร่วมกันสานต่อวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการประกอบกิจการของบริษัท กล่าวคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
เกี่ยวกับฝ่าย Smart Materials
ฝ่าย Smart Materials ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับวัตถุดิบที่เกี่ยวกับนวัตกรรมเชิงก้าวหน้า ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพแทนการใช้ทรัพยากรแบบเดิม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการแก้ปัญหาที่สำคัญในแต่ละยุคสมัย อาทิ สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนถ่ายจากชนบทสู่เมือง ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย และสุขภาพ ฝ่าย Smart Materials สามารถสร้างรายได้จากการขายทั้งสิ้น 3,920 ล้านบาทในปี พ.ศ.2564 ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของพนักงานกว่า 7,900 คน
ข้อสงวนสิทธิ์
การคาดการณ์หรือการประเมินการใดๆ ที่ระบุไว้ในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ หรือข้อความใดของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอนาคตเป็นข้อมูลที่ไม่อาจประเมินความเสี่ยงได้ ทั้งความเสี่ยงที่คาดเห็นได้และคาดเห็นไม่ได้ และเป็นข้อมูลที่ไม่แน่นอน ผลลัพธ์หรือพัฒนาการของข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังกล่าวจึงอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ ด้วยเหตุนี้ Evonik Industries AG และบริษัทในเครือจึงขอสงวนสิทธิในการไม่รายงานความคืบหน้าของการคาดการณ์ การประเมินการหรือข้อความใดๆ ในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ทั้งสิ้น
ผู้ผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.พิจิตร โชว์ศักยภาพการผลิต พร้อมส่งมอบไฟฟ้า สร้างผลตอบแทนได้สูงถึง 13% หลังการเดินเครื่องผลิตมากว่า 3 ปี คว้ารางวัล Thailand Energy Awards 2018 ด้านพลังงานทดแทน การันตีความสำเร็จ เตรียมชิงรางวัลเวทีอาเซียน ที่สิงคโปร์ ตุลาคมนี้ นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการพัฒนาโครงการที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (On-Grid) ของโรงไฟฟ้าชีวมวล พิจิตร ขนาดกำลังการผลิต 9.8 เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ อ.โพทะเล จ.พิจิตร
บ.ย่อย PCC คว้ารางวัล CSR-DIW Award 2023 ตอกย้ำสร้างความยั่งยืนสู่สังคม
—
คุณณัฐวุฒิ ยิ่งถาวร (ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท สงขลาไบโอเพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป...
บ.ย่อย PCC คว้ารางวัล ระดับ "แพลทินัม" ในงาน THAILAND SAFE@WORK ครั้งที่ 35
—
นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง (ขวา) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน มอบโล่ห์รางวั...
CWT เฮลั่น! ยานลูก KRR ผ่านคัดเลือกฉลุย โครงการก่อสร้างระบบจัดการขยะเพื่อผลิต RDF - โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะมูลฝอย สัญญายาว 25 ปี หนุน PPA ในมือเพิ่ม
—
บมจ.ชัยวัฒน...
TPCH ต้อนรับคณะพลังงานสัญจร
—
คุณกนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธานกรรมการบริหาร, คุณเชิดศักดิ์ วัฒนวิจิตรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ บริษัท...
ภาพข่าว: สพร. 7 อุบลราชธานี เปิดฝึกอบรมหลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงาน สาขา การติดตั้งและประยุกต์ใช้งานโซลาร์เซลล์
—
วันที่ 21 พ.ค. 63 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7...
ตัวแทนชาวบ้านและชาวไร่อ้อยยโสธรและอำนาจเจริญได้ เฮ รวมตัวกันขอบคุณ กกพ. ที่ออกใบอนุญาตและเห็นแก่ประโยชน์ของชาวบ้านและจังหวัดเป็นสำคัญ
—
นายอุทิศ สันตะวงศ์...
ภาพข่าว: นศ.จากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดเยี่ยมชมโรงไฟฟ้ามหาชัย กรีนเพาเวอร์
—
คุณนันท์นภัส สระบงกช ผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการ (คนที่ 5 จากซ้าย) ตัวแทนบ...
ภาพข่าว: TPCH คว้ารางวัล ASEAN Energy Awards 2018
—
Mr.Dato Paduka Lim Jock Hoi เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งอาเซียน ให้เกียรติมอบรางวัลด้านพลังงานทดแทน ...