โรคหัวใจ โรคที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร เนื่องในโอกาสวันหัวใจโลกปี 2565 โครงการ Hug Your Heart โดยแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จึงได้เรียนเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือดมาร่วมถ่ายทอดความรู้ พร้อมตอบคำถามเกี่ยวกับโรคหัวใจชนิดต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้รู้จัก พร้อมเตรียมรับมือกับโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น
นายแพทย์ ธีรวิทย์ เหลืองดิลก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลตรัง กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่ จะมาพร้อมกับ 3 โรคหลัก ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome) ซึ่งแต่ละโรคจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คือ โรคหรือภาวะบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวและสูบฉีดเลือดได้น้อยลง ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโรคร่วมต่างๆ เช่น กลุ่มโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไป หรือภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จากการติดเชื้อไวรัส หรือเป็นหวัด และไวรัสดังกล่าวไปทำร้ายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง รวมไปถึงภาวะการตั้งครรภ์บางอย่าง จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหาย สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ โดยผู้ป่วยโรคนี้ มักจะมีอาการเหนื่อยง่าย ตัวบวม ไม่สามารถนอนในท่าราบได้ เนื่องจากมีน้ำคั่งค้างในร่างกายเป็นจำนวนมาก และมีภาวะน้ำท่วมปอดร่วมด้วย
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เกิดจากการที่หลอดเลือดเสื่อมลง เนื่องจากอายุที่มากขึ้น หรือจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่างการสูบบุหรี่จัด การไม่เลือกรับประทานอาหาร จนมีภาวะไขมันในเลือดสูง การเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้เกิดการก่อตัวของชั้นไขมันในหลอดเลือด จนเส้นเลือดหัวใจตีบ และเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ โดยอาการที่เห็นได้ชัด คือ อาการเจ็บหน้าอก เมื่อออกกำลังกายหรือใช้แรงมาก ซึ่งอาการจะทุเลาลงเมื่อหยุดทำกิจกรรมดังกล่าว
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome) เป็นภาวะที่ต่อยอดจาก โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) และมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน โดยภาวะนี้จะเกิดจากการฉีกขาดหรือปริแตกของผนังหลอดเลือดจนเป็นแผลฉับพลัน และทำให้เกล็ดเลือดที่ทำหน้าที่สมานแผลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นบางส่วน จะส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจเกิดอาการอุดตัน และทำให้การไหลของเลือดในหลอดเลือดหัวใจลดลงอย่างฉับพลันได้ โดยผู้ป่วยประเภทนี้อาจเกิดอาการแน่นหน้าอกเป็นระยะเวลานานกว่า 15-20 นาที พร้อมทั้งมีเหงื่อออกเป็นจำนวนมาก รวมถึงเกิดอาการใจสั่นร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินความรุนแรงโดยทันที
ทั้งนี้ แม้คนส่วนใหญ่จะเคยได้ยินและเข้าใจเกี่ยวกับโรคเหล่านี้มาบ้าง แต่ก็ยังเกิดคำถามเกี่ยวกับอาการต่างๆ ที่พบ รวมไปถึงยังกังวลถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ ซึ่งในวันนี้ นายแพทย์ ธีรวิทย์ จะมาร่วมตอบ 5 ข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหัวใจ พร้อมแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพที่ส่งผลต่อหัวใจโดยตรง เพื่อให้ทุกคนได้ลองนำไปทำตามด้วยตนเอง
โดยในเด็กหรือคนอายุน้อยมักจะเป็นโรคหัวใจที่เกิดจากความผิดปกติที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด หรือ ผนังหัวใจรั่ว ส่วนโรคหัวใจที่พบบ่อยในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อายุ 30 - 35 ปี มักจะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่างการสูบบุหรี่ เป็นต้น ทั้งนี้ แม้แต่นักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรง ก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติได้ โดยเฉพาะนักกีฬาอาชีพหรือผู้ที่ใช้ร่างกายหนักๆ ดังนั้น จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนควรต้องตรวจสุขภาพหัวใจเพื่อประเมินว่าสามารถเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่หักโหมได้หรือไม่
ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นโรคหัวใจ คือสิ่งที่ดีที่สุด ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นเรื่องสำคัญ ผ่านการ ปรับพฤติกรรมส่วนตัวและการดำเนินชีวิต อย่างการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่น อาหารจำพวกเบเกอรี่ หรือของทอด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ งดสูบบุหรี่ ผ่อนคลายความเครียด เพื่อควบคุมความดันโลหิต หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เพราะการสังเกตร่างกายและการดูแลสุขภาพที่ดี เป็นหัวใจหลักของการรักษาสุขภาพหัวใจและร่างกาย
จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่ามะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของโลก โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ถึง 2.5 ล้านรายและผู้เสียชีวิตประมาณ 1.8 ล้านรายต่อปี ในประเทศไทย มะเร็งปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับสอง โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ถึง 17,222 รายต่อปี หรือเฉลี่ยผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดวันละ 40 คน เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในงานประชุม European Lung Cancer Congress (ELCC) 2025 ที่จัดขึ้น ณ กรุงปารีส แอสตร้าเซนเนก้าได้เปิดเผยผลการวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งปอดภายใต้โครงการ CREATE ที่มีการใช้เครื่องมือ qXR-LNMS
แอสตร้าเซนเนก้า คว้ารางวัล Top Employer 2025 ฉลองความสำเร็จต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความสำเร็จอีกครั้งด้วยการได...
แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
—
บริษัท แอสต...
แอสตร้าเซนเนก้าผนึกโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อยกระดับศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ปร...
แอสตร้าเซนเนก้ารับรางวัล Company of The Year จาก หอการค้าไทย-สวีเดน เดินหน้ายกระดับสุขภาพคนไทยผ่านโครงการ และนวัตกรรมทางการแพทย์
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ...
แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ผลักดันเด็กและเยาวชนหญิงไทยผ่านความเป็นผู้นำในกิจกรรมประจำปี #GirlsTakeOver
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรร...
แอสตร้าเซนเนก้า ร่วมกับศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช เดินหน้าจัดงาน "Rethink Pink We Care" ปีที่ 3 ชูแนวคิด ห่วงใยผู้หญิงไทย ห่างไกลมะเร็งเต้านม
—
บริษัท แอสตร้าเ...
แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ผนึกกำลังเพื่อยกระดับการแพทย์ไทยเปิดตัวโครงการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำก...