กลุ่มบริษัท ไทย ออโต ทูลส์ ผู้นำเทคโนโลยีการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์โลหะ อุปกรณ์จับยึด อุปกรณ์ตรวจสอบ และชิ้นส่วนยานยนต์คุณภาพสูงในภูมิภาคอาเซียน เดินหน้าพัฒนาบุคลากรยานยนต์ของไทย รองรับการแข่งขัน และการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า โดยล่าสุด มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพ ประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่ให้มีความสามารถ รู้ลึกรู้จริง ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้ามาฝึกปฏิบัติการจริง ทั้งในกระบวนการออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ อุปกรณ์จับยึด อุปกรณ์ตรวจสอบ และการปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วน
ดร. พยุง ศักดาสาวิตร ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ไทย ออโต ทูลส์ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัย พัฒนา การผลิตเครื่องมือ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ และการผลิตบุคลากร กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ในครั้งนี้เป็นความร่วมมือต่อเนื่องและเป็นครั้งที่สอง โดยมีระยะเวลา 3 ปี (2565-2567) ซึ่งมีขอบเขตความร่วมมือหลัก ๆ คือ การจัดการศึกษา อบรม วิจัยและพัฒนา สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ สาขาวิชายานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ และสาขาอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการบริหารจัดการ การบูรณาการการผลิตบัณฑิต รวมถึงด้านการวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในรูปแบบสหกิจศึกษา หรือรูปแบบอื่น ๆ ให้กับนักศึกษาในสายงานที่เกี่ยวข้อง โดยก่อนหน้านี้ มีการลงนามความร่วมมือ เพื่อเพิ่มเสริมสร้างประสบการณ์จริงให้อาจารย์มทร.ธัญบุรี ให้สามารถนำทฤษฎีและประสบการณ์ที่ได้จากการมาลงมือทำจริงในกระบวนการผลิตสู่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อผลิตและพัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
"อุตสาหกรรมรถยนต์กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาขีดความสามารถการผลิตยานยนต์ของไทย นอกจากในด้านเทคโนโลยีต่างๆแล้ว หัวใจสำคัญคือจะต้องเร่งพัฒนาบุคลากรคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันและบุคลากรด้านวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ หรือทางด้านหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ กำลังเป็นที่ต้องการ และยังขาดแคลน เชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพการผลิต และฐานการผลิตที่มีความครบวงจร การติดตั้งเทคโนโลยีและเครื่องมือการผลิตที่ล้ำสมัย ของกลุ่มบริษัท ไทย ออโต ทูลส์ ตลอดจนบุคลากรที่พร้อมถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ความร่วมมือครั้งนี้ จะเกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เราสามารถผลิตวิศวกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์จริง ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างแท้จริง"
รศ.ดร. สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวถึงวัตถุประสงค์สำคัญของการลงนามความร่วมมือ ในครั้งนี้ว่า เป็นความร่วมมือต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพ ประสิทธิภาพในการผลิตบัณฑิต การวิจัยและพัฒนา เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการ และบูรณาการในการผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่ที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตในยุค 4.0 การวิจัยและพัฒนา และสร้างนวัตกรรมใหม่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ทรัพยากรและบุคลากร ตลอดจนการผลิตบุคลากรหรือพัฒนาบุคลากรเพิ่มพูนความรู้ที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกันพัฒนาให้มีคุณภาพ
ภายใต้ความร่วมมือนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ กลุ่มบริษัท ไทย ออโต ทูลส์ ยังจะได้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกัน เช่นนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ เครื่องมือ สถานที่ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิต การฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนา และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย ตลอดจนเกิดการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ เพื่อยกระดับฐานการผลิตแม่พิมพ์และชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย ให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ที่ต้องการเครื่องมือและการผลิตระบบอัตโนมัติมากขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิตรถยนต์ทั้งในด้านคุณภาพชิ้นส่วน ต้นทุน และการส่งมอบทันเวลา"
กลุ่มบริษัท ไทย ออโต ทูลส์ ผู้นำเทคโนโลยีการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์โลหะ อุปกรณ์จับยึด อุปกรณ์ตรวจสอบ และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์คุณภาพสูงในภูมิภาคอาเซียน ถือหุ้นโดยคนไทย 100 % มีฐานการผลิต 4 แห่ง ในจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดชลบุรี โดยตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปี ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นและยุโรปให้ทำหน้าที่ออกแบบและผลิตแม่พิมพ์เพื่อการประกอบชิ้นส่วนรถยนต์รุ่นใหม่ๆรวมถึงได้รับความไว้วางใจให้ออกแบบและผลิตอุปกรณ์จับยึด อุปกรณ์ตรวจสอบ ที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำสูง เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้ได้คุณภาพมาตรฐานสากล ตลอดจนได้รับความไว้วางใจให้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ๆทั้งในประเทศและส่งออก
หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หน่วยวิจัยดีเด่นประจำปี 2566 และ 2567 มีเป้าหมายในการวิจัยนวัตกรรมวัสดุรักษ์โลกในทุกภาคส่วนของประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของสภาวะโลกร้อนและส่งเสริมนโยบายลดการเผา คิดค้น "กระถางย่อยสลายได้จากวัสดุชีวมวล" สำหรับใช้เพาะชำไม้ดอก ไม้ประดับ รวมถึงกล้าไม้อื่น ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุที่เหลือทิ้งทางการเกษตร ผลงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชุม คำพุฒ นักวิจัยอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
มทร.ธัญบุรี สร้างสรรค์ "คลีนบิวตี้" นวัตกรรมชะลอวัย จากอะโวคาโด ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จุดประกายผู้ประกอบการ
—
จากอะโวคาโดเหลือทิ้ง สู่ครีมบำรุงผิวหน้าสุดล้ำ ฝี...
มทร.ธัญบุรี เผยความพร้อมก้าวไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ยืนยันไม่ขึ้นค่าเทอมนักศึกษา
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโ...
คณะศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ สุดยอดคว้าถ้วยรางวัลพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ 2 ปีซ้อน
—
รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)กรุงเท...
มทร.ธัญบุรีไม่ห่วงเด็กเข้าใหม่ลดลง
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ...
'Super AI Engineer Season 5' รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
—
สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT), หน่วยบริหารและจ...
มทร.ธัญบุรีประชุมวิชาการพัฒนาบุคลากร
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานการประช...
มทร.ธัญบุรี เดินเกมส์รุกเปิดสาขาวิชาใหม่
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ...
เปิดประตูราชมงคลธัญบุรี
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม "...
เครือเฮอริเทจ คว้ารางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยและบุคลากรดีเด่นประจำปี 2567 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
—
เครือเฮอริเทจ ผู้ผลิตและจัดจ...