ศูนย์การเรียนรู้โรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำแห่งแรกของประเทศไทย วว. ขับเคลื่อนนโยบาย BCG เพิ่มขีดความสามารถพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีของประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  (อว.)  โดย  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)   โชว์  ศูนย์การเรียนรู้โรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมและเป็นต้นแบบสำคัญในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบาย BCG ช่วยลดการขาดดุลการค้าและเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีของประเทศ

ศูนย์การเรียนรู้โรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำแห่งแรกของประเทศไทย วว. ขับเคลื่อนนโยบาย BCG เพิ่มขีดความสามารถพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีของประเทศ

โดยเมื่อ พ.ศ. 2524 กระทรวงการคลังอนุมัติให้ วว. ดำเนินการก่อสร้างโรงงานต้นแบบเพื่อผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำ ที่มีความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 99.5   โดยปริมาตรจากมันสำปะหลัง  มีกำลังการผลิต 1,500 ลิตรต่อวัน  เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันปิโตรเลียมบางส่วน ซึ่งได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2526  ใช้งบประมาณไปจำนวน 70  ล้านบาท  โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลญี่ปุ่นและศึกษากรรมวิธีการผลิตจากสมาคมอุตสาหกรรมหมักแห่งประเทศญี่ปุ่น  สำหรับการผลิตแอลกอฮอล์หรือเอทานอลจากวัสดุการเกษตร  ด้วยกระบวนการผลิตประหยัดพลังงาน  นับเป็นโรงงานแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในขณะนั้น   ศูนย์การเรียนรู้โรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำแห่งแรกของประเทศไทย วว. ขับเคลื่อนนโยบาย BCG เพิ่มขีดความสามารถพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีของประเทศ

จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว  วว.  ได้ต่อยอดวิจัยพัฒนาและประสบผลสำเร็จในการศึกษาการใช้เอทานอลไร้น้ำเป็นเชื้อเพลิง  พร้อมทำการศึกษาด้านตลาด  โดยได้รับความร่วมมือจาก บริษัท สองพลอย จำกัด และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย นำไปจำหน่ายในสถานีบริการ

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการทดลองตลาดผลิตภัณฑ์แก๊สโซฮอล์จากวัตถุดิบ  มันสำปะหลังสด  มันสำปะหลังเส้น และน้ำเบียร์ที่หมดอายุ  ส่งให้ บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยสามารถกลั่นเอทานอลไร้น้ำได้  168,000 ลิตร  นำไปผสมเป็นแก๊สโซฮอล์  สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงจำหน่าย ทดแทนน้ำมันเบนซินออกเทน  95  นอกจากนี้ยังให้บริการกลั่นแอลกอฮอล์ไร้น้ำให้กับ ปตท. เพื่อนำไปใช้ทดลองเป็นเชื้อเพลิงในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาด้วย

กระบวนการผลิตของโรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำของ วว. สามารถลดการใช้พลังงานได้ในส่วนของขั้นตอนการเปลี่ยนแป้งโดยใช้เอนไซม์ที่อุณหภูมิต่ำ และขั้นตอนการกลั่นน้ำส่าให้เป็นเอทานอลไร้น้ำภายใต้แรงดันบรรยากาศ สามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้ถึงร้อยละ 40

กรรมวิธีการผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำโดยโรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำของ วว. มีดังนี้

1. การปรับสภาพวัตถุดิบ ประกอบด้วย

  • ใช้หัวมันสำปะหลังสดที่มีปริมาณแป้ง 28% จำนวน 9.3 ตันต่อวัน
  • ปอกเปลือกมันสำปะหลังด้วยเครื่องล้างและสับลดขนาดด้วยเครื่องสับ
  • ส่งมันสำปะหลังที่ปอกเปลือกและสับเข้าไปบดผสมกับน้ำที่เครื่องบด
  • น้ำแป้งที่ได้จะถูกเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล โดยผ่านการย่อย 2 ขั้นตอน คือ การทำให้เป็นของเหลวด้วยเอนไซม์ย่อยแป้ง (?-amylase) และความร้อนที่หม้อต้ม
  • ทำการย่อยครั้งที่ 2 ด้วยเอนไซม์ Glucoamylase เพื่อเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลที่ถังย่อยน้ำตาล

2. การหมัก ประกอบด้วย

  • การเลี้ยงเชื้อยีสต์ ดำเนินการในถังเลี้ยงเชื้อ โดยใช้กากน้ำตาล น้ำและสารอาหาร เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ จากนั้นนำเชื้อยีสต์ที่เตรียมไว้เทลงในถังเลี้ยงเชื้อ โดยจะใช้เวลาเลี้ยงเชื้อ 24 ชั่วโมง
  • การหมัก เริ่มด้วยการส่งอาหารน้ำตาลที่เตรียมแล้วจากถังย่อยน้ำตาลไปยังถังหมัก จากนั้นจึงส่งเชื้อยีสต์จากถังเลี้ยงเชื้อที่ เตรียมไว้ไปยังถังหมัก โดยควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 30-32 องศาเซลเซียส และใช้เวลาในกระบวนการหมัก 72 ชั่วโมง
  • การกรองกากส่า นำเชื้อยีสต์ที่ผ่านการหมักส่งไปกรองกากส่าด้วยเครื่องแยกกากตะกอน ก่อนที่จะนำไปกลั่นต่อไป

3. การกลั่น เป็นกระบวนการทำบริสุทธิ์ด้วยการแยกของผสมหรือสารละลายโดยอาศัยจุดเดือดที่ต่างกัน ประกอบด้วยหอกลั่น 2 ชุด

  • ชุดแรก ใช้กลั่นน้ำส่าที่มีแอลกอฮอล์ประมาณ 8-12% โดยปริมาตร ให้ได้แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 95.6% โดยปริมาตร
  • ชุดที่สอง ทำหน้าที่กลั่นแอลกอฮอล์ 95.6% โดยปริมาตร จากหอกลั่นชุดแรก ให้ได้แอลกอฮอล์บริสุทธิ์หรือแอลกอฮอล์ไร้น้ำ ที่มีความเข้มข้น 99.5% โดยปริมาตรขึ้นไป หอกลั่นชุดนี้จะเป็นการกลั่นแบบอะซิโอโทรป (Azeotropic distillation) โดยใช้เบนซีนหรือเฮกเซนเป็นสารจับน้ำ (Dehydrant) หลังจากผ่านการตรวจสอบคุณภาพที่ถังตรวจสอบแล้ว แอลกอฮอล์บริสุทธิ์จะส่งไปเก็บไว้ในถังเก็บแอลกอฮอล์ต่อไป

4. การบำบัดของเสีย ดำเนินการกำจัดน้ำเสียก่อนระบายสู่ท่อระบายสาธารณะ โดยใช้วิธีการทำแห้งเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ มีกระบวนการบำบัด 3 ขั้นตอน

  • แยกกากออกจากส่วนที่เป็นของเหลว เจือจางด้วยเครื่องแยกกาก โดยจะแยกน้ำเสียออกเป็นกากและน้ำ ลงมาไว้ที่ถังเก็บ
  • จากนั้นส่วนที่เป็นน้ำจากถังเก็บ จะถูกส่งไประเหยให้ข้นโดยผ่านเครื่องระเหยและเครื่องแยก
  • ส่วนที่เป็นกากจะนำไปผสมกับของเหลวข้น แล้วนำไปเข้าเครื่องทำแห้ง จะได้เป็นอาหารสัตว์ ซึ่งมีโปรตีนประมาณ 25%

ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการผลิตเอทานอลในส่วนขั้นตอนการหมักและการทำแอลกอฮอล์ไร้น้ำ จากเดิมที่ดำเนินการหมักเป็นแบบกะ (Batch fermentation) มีการพัฒนารูปแบบของการหมัก ดังนี้

  1. การหมักแบบกะ (Batch fermentation) เป็นกระบวนการหมักโดยการเติมวัตถุดิบ สารอาหารและหัวเชื้อ ลงไปในถังหมักเพียงครั้งเดียวตลอดการหมัก
  2. การหมักแบบกึ่งกะ (Fed batch fermentation) เป็นกระบวนการหมักโดยการเติมวัตถุดิบ สารอาหารและหัวเชื้อลงไปในถังหมักมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์สามารถใช้วัตถุดิบและสารอาหารได้ในปริมาณที่สูงขึ้น
  3. การหมักแบบต่อเนื่อง (Continuous fermentation) เป็นกระบวนการหมักโดยการเติมวัตถุดิบ สารอาหารและหัวเชื้อ ลงไปในถังหมักตลอดเวลา พร้อมทั้งมีการแยกผลิตภัณฑ์ออกมาตลอดเวลา ทำให้ผลิตผลิตภัณฑ์ได้สูงสุดในระยะเวลาเท่ากันเมื่อเทียบกับการหมักแบบกะและแบบกึ่งกะ

กรรมวิธีหรือเทคโนโลยีในการแยกน้ำเพื่อผลิตเอทานอลไร้น้ำ ปัจจุบันมีการใช้ 3 รูปแบบ

1.กระบวนการแยกด้วยวิธีการกลั่นสกัดแยกด้วยสารตัวที่ 3 (Azeotropic distillation) ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่นิยมใช้กันมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันยังมีการใช้งานเชิงพาณิชย์อยู่ แต่มีการปรับเปลี่ยนสารตัวที่ 3 (Entrainer) จากเดิมที่มีการใช้สารเบนซีน (Benzene) ได้เปลี่ยนมาใช้สารไซโคลเฮกเซน (Cyclo-hexane ) ซึ่งมีความเป็นพิษน้อยกว่าแทน

2.กระบวนการแยกด้วยวิธีกรองผ่านเยื่อเลือกผ่าน (Membrane pervaporation) โดยตัวเยื่อเลือกผ่าน (Membrane) จะทำหน้าที่กรองแยกน้ำและเอทานอลที่มีขนาดของโมเลกุลที่ต่างกันออกจากกัน

3.กระบวนการแยกน้ำด้วยวิธีการดูดซับ (Molecular sieve  adsorption) โดยน้ำที่ปนอยู่ในแอลกอฮอล์จะถูกดูดซับด้วยตัวตัวดูดซับที่มีรูพรุนสูง เช่น ตัวดูดซับ (Zeolite) ที่มีรูพรุนขนาด 3A และ 4A เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้นิยมใช้ในปัจจุบัน

ทั้งนี้โรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำจากมันสำปะหลังแห่งแรกของประเทศไทย  วว. ได้ทำหน้าที่เป็นโรงงานต้นแบบผลิตพลังงานทดแทนให้แก่ประเทศรวม 20 ปี (พ.ศ.2526-2546) ปัจจุบันไม่ได้ถูกใช้งานแล้ว  เนื่องจากโรงงานผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลของภาคเอกชน  ซึ่ง วว. เป็นหน่วยงานสำคัญที่ผลักดันรัฐบาลอนุมัติให้มีการจัดตั้ง  ได้เริ่มดำเนินการผลิตและจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันแก๊สโซฮอล์  ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ใช้อยู่ในขณะนี้  ด้วยศักยภาพของโรงงานแห่งนี้ วว. โดยการสนับสนุนทุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้ดำเนินการปรับปรุงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ด้านพลังงานทดแทนของประเทศต่อไป

ศูนย์การเรียนรู้โรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำแห่งแรกของประเทศไทย วว. ตั้งอยู่เลขที่ 196  ถ.พหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ วว. พร้อมให้บริการและคำแนะนำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน  ของประเทศ  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่  โทร. 0 2577 9000  โทรสาร 0 2577 9009 เว็บไซต์  www.tistr.or.th  อีเมล  : [email protected]  line@TISTR  IG : tistr_ig


ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...