เมอร์ค เคจีเอเอ ดาร์มชตัท เยอรมนี ผนึกกำลังพี-ชิป คอร์ปอเรชั่น ปรับปรุงความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสในห่วงโซ่คุณค่าทางอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เมอร์ค เคจีเอเอ ดาร์มชตัท เยอรมนี (Merck KGaA, Darmstadt, Germany) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ และพี-ชิป คอร์ปอเรชั่น (p-Chip Corporation) บริษัทที่ปฏิวัติการติดตามผลิตภัณฑ์และวัสดุทางกายภาพด้วยเทคโนโลยีไมโครทรานสปอนเดอร์ที่ล้ำสมัย ได้ประกาศบรรลุข้อตกลงการพัฒนาร่วมกัน เพื่อพัฒนาและนำโซลูชันใหม่มาใช้ ซึ่งมอบความไว้วางใจทางดิจิทัลในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในห่วงโซ่คุณค่าทางอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร (M2M)

"กระบวนการและเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว" บิล ไอบอน (Bill Eibon) ซีทีโอของพี-ชิป คอร์ปอเรชั่น กล่าว พร้อมเสริมว่า "แต่วิธีการตรวจสอบกระบวนการเหล่านั้นจำเป็นต้องตามเทคโนโลยีการผลิตให้ทัน ข้อตกลงนี้จะช่วยเพิ่มการมองเห็น การตรวจสอบย้อนกลับ และการรับประกันคุณภาพไปสู่ระดับที่ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิวัติเท่านั้น แต่ยังจำเป็นอย่างยิ่งต่อความเป็นจริงของห่วงโซ่คุณค่าทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของเราที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักร"

โซลูชันบล็อกเชนของเมอร์ค เคจีเอเอ ดาร์มชตัท เยอรมนี เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตร ซึ่งช่วยให้ยึดข้อมูลดิจิทัลกับวัตถุในโลกแห่งความเป็นจริง โดยใช้ประโยชน์จากแองเคอร์ (anchor) คริปโทฯ เพื่อสร้างวัตถุคริปโทฯ จนสร้างคู่เสมือนดิจิทัลขึ้นมาได้ เทคโนโลยีไมโครทรานสปอนเดอร์ของพี-ชิปใช้เป็นตัวเปิดการใช้งานคู่เสมือนดิจิทัลสำหรับเมอร์ค เคจีเอเอ ดาร์มชตัท เยอรมนี ซึ่งส่งเสริมศักยภาพให้กับคุณสมบัติคู่เสมือนดิจิทัล (Digital Twin) เช่น การตรวจสอบย้อนกลับทางดิจิทัล รวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร และกระบวนการอัตโนมัติที่ซับซ้อนผ่านสัญญาอัจฉริยะ

ข้อตกลงการพัฒนาร่วมกันนี้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการมองเห็นและการสื่อสาร M2M ระหว่างบริษัทและผู้ขายหลายพันราย

เกี่ยวกับพี-ชิป คอร์ปอเรชั่น

ตั้งแต่ปี 2560 พี-ชิป คอร์ปอเรชั่น (p-Chip Corporation) ได้ปฏิวัติการติดตามผลิตภัณฑ์และวัสดุที่จับต้องได้ด้วยเทคโนโลยีไมโครทรานสปอนเดอร์ที่ล้ำสมัย แท็กติดตามพี-ชิป ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความทนทานสูงและมีขนาดเล็กเท่ากับเม็ดเกลือ ทำหน้าที่เหมือนกับจุดยึดแบบดิจิทัลสำหรับสิ่งของที่จับต้องได้ ซึ่งส่งมอบความสามารถในการมองเห็นอย่างเหนือชั้นและความสามารถในการจัดทำดัชนีระดับราคาที่ปรับสเกลได้ ตั้งแต่เวชภัณฑ์จนถึงอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบยานยนต์จนถึงส่วนผสมทางการเกษตร บริษัททั่วโลกต่างพึ่งพาเทคโนโลยีการติดตามพี-ชิปที่ได้รับการจดสิทธิบัตรเพื่อปลดล็อกข้อมูลทางธุรกิจ เพิ่มความภักดีต่อแบรนด์ และเพิ่มรายได้ รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.p-chip.com

เกี่ยวกับเมอร์ค เคจีเอเอ ดาร์มชตัท เยอรมนี

เมอร์ค เคจีเอเอ ดาร์มชตัท เยอรมนี (Merck KGaA, Darmstadt, Germany) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ ดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ การดูแลสุขภาพ และอิเล็กทรอนิกส์ โดยพนักงานกว่า 60,000 คนทำงานเพื่อสร้างความแตกต่างในเชิงบวกให้กับชีวิตของผู้คนนับล้านทุกวัน ด้วยการสร้างวิถีชีวิตที่สนุกสนานและยั่งยืนมากขึ้น ตั้งแต่การจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยเร่งการพัฒนาและการผลิตยา ตลอดจนการค้นพบวิธีการเฉพาะในการรักษาโรคที่ท้าทายที่สุด ไปจนถึงการทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ชาญฉลาด โดยบริษัทอยู่ในทุกหนแห่งบนโลก ในปี 2564 เมอร์ค เคจีเอเอ ดาร์มชตัท เยอรมนี กวาดรายได้ไป 1.97 หมื่นล้านยูโรใน 66 ประเทศ

บริษัทฯ ครอบครองสิทธิ์ในชื่อและเครื่องหมายการค้า "เมอร์ค" ทั่วโลก ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ของเมอร์ค เคจีเอเอ ดาร์มชตัท เยอรมนี ดำเนินงานภายใต้ชื่อ มิลลิพอร์ซิกมา (MilliporeSigma) ในวงการชีววิทยาศาสตร์, อีเอ็มดี เซโรโน (EMD Serono) ในวงการดูแลสุขภาพ และอีเอ็มดี อิเล็กทรอนิกส์ (EMD Electronics) ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ การสำรวจทางวิทยาศาสตร์และการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ คือหัวใจหลักในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเมอร์ค ทั้งยังอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของเมอร์คนับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2211 ปัจจุบัน ครอบครัวผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ติดต่อ:

ลิบบี คอร์เตซ (libby cortez)
อีเมล: [email protected]


ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+คอร์ปอเรชั่นวันนี้

วว. ร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ววน. "มุ่งเป้าอนาคตประเทศไทย เพื่ออากาศสะอาด น้ำมั่นคง"

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ นักวิจัยอาวุโส ศนก. ดร.ปิยาลัคน์ เงินชูกลิ่น นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ (ศนว.) ผศ.ดร.ณัฐพงค์ จันจุฬา นักวิจัย ศนก. ดร.ชุมพล บุษบก นักวิจัยและทีมวิจัย ศนว./ศนก. เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและกิจกรรม "มุ่ง

ในช่วงฤดูฝนนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝน... สสวท. ชวนครู-นักเรียน "เข้าใจฟ้า ทำนายฝน" กับวีดิทัศน์ เรื่อง การพยากรณ์อากาศ — ในช่วงฤดูฝนนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกชุกและสภาพอากาศแปรปรวน การเข้าใ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สสวท. พาโลดแล่นสู่ระบบสุริยะกับสื่อเรียนรู้ "การเกิดข้างขึ้น ข้างแรม" — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พาชั้นเรียนสนุกกับระบบสุริยะขอ...