หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของอาการปวดหลัง หากเส้นประสาทเกิดการอักเสบจะทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดขา ชาขา แต่ถ้าไปกดทับที่เส้นประสาท จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงชัดเจน โดยปกติแล้วหลังจากที่เกิดการอักเสบที่เส้นประสาทจะทำให้ปวดมากในช่วงแรก ๆ แต่อีกประมาณ 2 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้นแต่จะยังเหลืออาการปวดตึงๆ อยู่
การตรวจวินิจฉัย เมื่อแพทย์ซักประวัติก็พอจะทราบแล้วว่ามีสาเหตุจากหมอนรองกระดูกหรือไม่ และถ้าสงสัยว่าจะเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท แพทย์จะส่งผู้ป่วยเข้ารับการสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI ซึ่งสามารถมองเห็นลักษณะของหมอนรองกระดูกที่มาทับเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน
เมื่อเป็นแล้วรักษาอย่างไร? การรักษาทำได้หลายวิธี ส่วนใหญ่แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยดูหลายอย่างตั้งแต่ตำแหน่ง ความรุนแรงของการกดทับ ความเสื่อมของตัวกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังของผู้ป่วย โดยการรักษาสามารถทำได้ตั้งแต่การทานยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัด หรือการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในโพรงประสาท เพื่อลดอาการปวด ในผู้ป่วยบางคนที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น และยังมีอาการปวดมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ แพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้อง
การผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้อง ศัลยแพทย์จะสอดกล้องเข้าไปยังเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับ ผ่านทางแผลผ่าตัดขนาดเล็กประมาณ 1 ซม. ซึ่งจะช่วยให้แพทย์มองเห็นเส้นประสาทได้ชัดเจนมากขึ้น และเลือกตัดเฉพาะส่วนของหมอนรองกระดูกที่ไปกดทับเส้นประสาทออกได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออกลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อโดยรอบ ใช้เวลาไม่นานประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อย แผลมีขนาดเล็ก ลดภาวะแทรกซ้อนและฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วขึ้น
** โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ถ้ารีบมาพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ แต่ถ้าอาการรุนแรงและจำเป็นต้องผ่าตัดจริงๆ ปัจจุบันด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมถึงความเชี่ยวชาญของแพทย์ จึงช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการบาดเจ็บ ลดการนอนโรงพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น...
"เทคโนโลยีการผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้องเอ็นโดสโคป" คลิกชม >> https://bit.ly/3CzHf0e
หลายคนอาจคิดว่าปัญหากระดูกเสื่อมเป็นเรื่องของคนที่อายุเยอะเท่านั้น แต่ความจริงแล้วใคร ๆ ก็มีโอกาสเป็นได้ โดยเฉพาะคนที่ชอบยกของหนัก ก้มตัวบ่อย ขยับคอมาก ก็อาจเร่งให้เกิด "โรคกระดูกสันหลังเสื่อม" ที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขา หนักที่สุดเส้นประสาทอาจถูกกดทับจนมีอาการอ่อนแรงหรือควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ที่น่ากังวลกว่านั้นคือ เมื่อกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาทจนมีอาการอ่อนแรงเป็นเวลานาน แม้จะผ่าตัดรักษาก็ไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ดีเหมือนเดิม วันนี้ นพ.วรายุทธ แสงสุวรรณ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
ปวดหลังไม่ใช่เรื่องเล็ก รักษาให้ถูกจุดก่อนสายเกินแก้
—
"THE SPINE T-SHIRT" นวัตกรรมสื่อสารสุขภาพรูปแบบใหม่จากโรงพยาบาลเอส สไปน์ เตือนคนไทยให้ฉุกคิด! ปวดหล...
5 อาการเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณอาจมี "เนื้องอกมดลูก"
—
เนื้องอกในมดลูก (Uterine Fibroids) เป็นก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อมดลูก โดยส่วนใหญ่เป็นเนื้องอ...
"หมอนรองกระดูกเสื่อม" สาเหตุปวดร้าวลงขา
—
"หมอนรองกระดูกเสื่อม" สาเหตุปวดร้าวลงขา หากคุณมีอาการปวดหลังบ่อยๆ ร่วมกับปวดร้าวลงขา หรือแม้กระทั่งร้าว...
6 สัญญาณเตือนอันตราย! "ไตวายเรื้อรัง"
—
โรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากการที่เนื้อไตถูกทำลาย ส่งผลให้ไตทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทั้งการรักษาสมดุลของเหลว...
ปวดท้องทุกเดือน ตรวจ "ช็อกโกแลตซีสต์" หรือยัง?
—
ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว โรคนี้เกิดจากเซลล์...
2 อาการปวด "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท"
—
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท สามารถเกิดขึ้นได้ตามแนวกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ต้นคอจนถึงหลังส่วนล่าง...
"โรคไต" ไม่ไกลตัว..เสี่ยง!! เป็นได้ทุกคน
—
"โรคไต" ไม่ไกลตัว..เสี่ยง!! เป็นได้ทุกคน เมื่อพูดถึงโรคไต หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้ว โรค...
ชอบนอนฟุบโต๊ะต้องระวัง เสี่ยงปวดหลังไม่รู้ตัว
—
หลายคนคงเคยเจอกับอาการง่วงนอนระหว่างทำงาน จนต้องงีบหลับคาโต๊ะทำงาน แต่รู้หรือไม่ว่าการนอนฟุบโต๊ะนั้นส่งผล...
อาจารย์กายภาพบำบัด ม.หัวเฉียวฯ คว้ารางวัลจากการประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567
—
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กภ.ศิรินันท์ จันทร์หนักอาจารย์ประจำ คณะกายภ...