หลายคนคงเคยเจอกับอาการง่วงนอนระหว่างทำงาน จนต้องงีบหลับคาโต๊ะทำงาน แต่รู้หรือไม่ว่าการนอนฟุบโต๊ะนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด มาดูกันว่าทำไมเราควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนี้ และมีวิธีไหนที่จะช่วยให้เราพักผ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนอนฟุบโต๊ะอาจดูเป็นทางออกที่ง่ายเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า แต่ผลกระทบที่ตามมานั้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
เมื่อเรานอนฟุบโต๊ะ กล้ามเนื้อคอและไหล่ต้องรับน้ำหนักในท่าที่ผิดธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อย การเกร็งของกล้ามเนื้อ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการนอนท่านี้ แม้ว่าคุณจะมีพื้นที่โต๊ะกว้างขวางสำหรับนอนอย่างเช่นโต๊ะตัวแอลก็ตาม
การนอนก้มหน้าฟุบกับโต๊ะทำให้ระบบทางเดินหายใจถูกกดทับ ทำให้หายใจไม่สะดวก ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง บางคนอาจมีอาการกรนหรือหายใจติดขัด ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการพักผ่อนโดยตรง
นอกจากนี้ บางคนประสบปัญหานอนฟุบโต๊ะแล้วเรอ นั่นเป็นเพราะเวลานอนฟุบ หลอดอาหารจะถูกปิด ทำให้แก๊สระบายออกมาไม่ได้ เวลาเงยหน้าขึ้น แก๊สจึงพุ่งระบายออกมา ยิ่งถ้าฟุบหลังทานอาหารเสร็จทันที หรือทานอากาสที่มีแก๊สมาก ก็จะยิ่งทำให้เรอมาก
การนอนในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานส่งผลต่อกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือปัญหากระดูกคดในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีพฤติกรรมแบบนี้เป็นประจำ
ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งการนอนฟุบโต๊ะนั้น เป็นการงอตัวที่ไม่ก่อให้เกิดผลดีในทางสรีรวิทยา ทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และเข้าข่ายออฟฟิศซินโดรมในที่สุด
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า หากจำเป็นต้องพักผ่อนระหว่างวัน ควรเลือกนั่งเอนหลังแทนการนอนฟุบ โดยปรับเก้าอี้ให้เอนได้ในองศาที่เหมาะสม และหากจำเป็นต้องนอนฟุบจริง ๆ ควรใช้เบาะนุ่มหรือหนังสือรองศีรษะ เพื่อช่วยลดแรงกดทับบริเวณคอและไหล่
การนอนฟุบโต๊ะเป็นพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะส่งผลเสียต่อสุขภาพในหลายด้าน ทั้งปัญหากล้ามเนื้อ ระบบหายใจ และกระดูกสันหลัง หากต้องการพักผ่อนระหว่างวัน ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีในระยะยาว
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ในการผลักดันและส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดแข่งขันกีฬา ในรูปแบบคาร์บอนนิวทรัลอีเวนต์ (Carbon Neutral Event) เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) พร้อมจัดงานแถลงความร่วมมือ โดยมี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมเป็นประธานในพิธีลงนาม และ ดร
"บีไชน์ เนเจอร์ซี สูตรใหม่" ภูมิต้องพร้อม ดูแลสุขภาพและผิวให้สดใสแข็งแรง ขนาดซองพกพา จัดโปรซื้อคู่ถูกกว่า 2 ซอง เพียง 69 บาท ที่เซเว่น อีเลฟเว่น ทุกสาขา
—
เดือนพฤษภาค...
STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
—
"บมจ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี" ("STA" หรือ "บริษัทฯ") ตอกย้ำบทบาทผู้น...
สัมผัสเรื่องราวความอร่อยรอบจานจากเมนูดังประจำจังหวัดฟุกุอิ ณ ห้องอาหารญี่ปุ่น สึ
—
ห้องอาหารญี่ปุ่น สึ โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ ชวนนักชิมทุกท่านมา...
นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ เข้าชมโรงงานดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากไม้ปลูกเกษตรกรไทย
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ...
"ยัวร์บอยทีเจ" ชวนแฟน ๆ นับถอยหลังสู่ "Movie on the Beach" ครั้งที่ 10 พร้อมระเบิดความสนุกในอีกไม่กี่วัน!
—
นับเวลาถอยหลังเตรียมตัวพบความสนุกกันอีกครั้ง ส...
กลุ่มผู้ประกอบการเกาะพยามและเครือข่ายภาคประชาชนระนอง-ชุมพร จัดงาน "ดินเนอร์ ทอล์ค" ห่วงโครงการแลนด์บริดจ์กระทบธรรมชาติ-วิถีชีวิต
—
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2...
วช. ขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ 'ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5' มุ่งลดฝุ่นพิษภาคเหนืออย่างยั่งยืน
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยา...
ดั๊บเบิ้ล เอ จับมือ เอเชีย เอรา วัน และกรมป่าไม้ จัดกิจกรรมรักษ์โลก สร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
—
ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด และกรมป...