งานวิจัยใหม่เผย มีคนตายมากกว่า 100,000 คนต่อปี ในภาคการประมงทั่วโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

การทำประมงที่ผิดกฎหมาย, การทำประมงเกินขนาด และภาวะโลกรวน มีส่วนทำให้อัตราการเสียชีวิตสูง ในอาชีพที่อันตรายที่สุดอาชีพหนึ่งของโลก

ผลการศึกษาใหม่พบว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการประมงมากกว่า 100,000 คน โดยจากการวิจัยของมูลนิธิความปลอดภัยด้านการประมง (FISH Safety Foundation หรือ FSF) ซึ่งได้รับมอบหมายจากทรัสต์การกุศลพิว (The Pew Charitable Trusts) ระบุว่า ในแต่ละวันมีชาวประมงเสียชีวิตเกือบ 300 คน ซึ่งสูงกว่าการประเมินครั้งก่อน ๆ ทั้งหมด

ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นชาวประมงที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งรวมถึงเด็กที่ถูกบังคับใช้แรงงาน และส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสภาพการทำงานที่เป็นอันตรายและเรือที่ไม่ปลอดภัย

FSF ระบุว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของชาวประมง อาทิ ความยากจน, ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์, การทำประมงเกินขนาด, การทำประมงที่ผิดกฎหมาย, การทำประมงที่ไม่ได้รายงานและไม่เป็นไปตามระเบียบ (การทำประมงแบบ IUU หรือ illegal, unreported and unregulated fishing) และภาวะโลกรวน ทั้งนี้ การทำประมงแบบ IUU ถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความต้องการโปรตีนจากปลาเพิ่มขึ้นทั่วโลก และผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมายในระดับอุตสาหกรรมมักดำเนินงานแบบมักง่ายและเพิกเฉยต่อกฎความปลอดภัย ขณะเดียวกันก็หาประโยชน์จากการทำประมงที่มุ่งกำไรเกินควร ผลักดันให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "การทำประมงแบบ IUU ด้วยความจำเป็น" ที่ชาวประมงรายย่อยฝีมือดีต้องแหกกฎหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ไม่ได้รับการควบคุมและเป็นอันตราย เพราะหาปลาได้ยากขึ้น ซึ่งนับวันสภาวะเหล่านี้ยิ่งเลวร้ายลงจากภาวะโลกรวนและการกระจายตัวของปลาที่เปลี่ยนแปลงไป

"แม้การทำประมงจะมีความเสี่ยงอยู่ในตัวอยู่แล้ว แต่ความจริงอันโหดร้ายก็คือการเสียชีวิตจำนวนมากเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อมีประชากร 3 พันล้านคนที่ต้องพึ่งพาอาหารทะเลและคาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องมีนโยบายที่เข้มงวดขึ้นโดยด่วนเพื่อความปลอดภัยของชาวประมง รวมถึงนโยบายที่จัดการกับปัจจัยขับเคลื่อนที่แท้จริงของการเสียชีวิตเหล่านี้" คุณปีเตอร์ ฮอร์น (Peter Horn) ผู้อำนวยการโครงการประมงระหว่างประเทศของพิว ซึ่งเน้นยับยั้งและป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย กล่าว

คุณเอริค ฮอลลิเดย์ (Eric Holliday) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ FSF กล่าวว่า "มีการคาดเดากันอย่างกว้างขวางว่าประมาณการการเสียชีวิตของชาวประมงนั้นต่ำเกินจริงและอำพรางอันตรายจากการทำประมง งานวิเคราะห์ของเราถือเป็นชิ้นแรกในด้านนี้และแสดงให้เห็นโดยสรุปว่า การขาดความโปร่งใสในอุตสาหกรรมประมงคืออันตรายต่อชีวิตโดยการอำพรางภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้นบนเรือหรือที่ทำประมง ทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อปรับปรุงความปลอดภัย แม้ว่าเราอาจไม่สามารถระบุจำนวนการเสียชีวิตของชาวประมงที่แน่นอนได้ แต่เรื่องนี้ควรเป็นการปลุกให้รัฐบาลตื่นขึ้น โดยบอกพวกเขาว่าจำเป็นต้องมีการดำเนินการเร่งด่วน จำเป็นต้องมีการรายงานที่ดีขึ้น และแบ่งปันข้อมูลการเสียชีวิต เพื่อรักษาชีวิต"

ด้วยการตรวจสอบข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะและด้วยการอ้างอิงที่โยงกับการทำข่าวเชิงสืบสวนและบทความข่าว, โซเชียลมีเดีย รวมถึงการสื่อสารส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่รัฐและอื่น ๆ ผู้เขียนงานศึกษาสามารถให้ภาพที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบันของจำนวนผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั่วโลกได้แล้ว

แต่แม้จะมีเครื่องมือทั้งหมดเหล่านี้พร้อม ช่องว่างของข้อมูลก็ยังคงอยู่ และแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะได้จำนวนที่แท้จริง ข้อมูลที่ไม่เพียงพอและไม่ถูกต้องทำให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจได้ยากในการจะเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สามารถรับรองความปลอดภัยของชาวประมงในภาคอุตสาหกรรมและชาวประมงเพื่อการยังชีพในระดับนานาชาติ, รัฐ และระดับท้องถิ่น

จากผลการศึกษา พิวได้เรียกร้องให้ดำเนินการในหลายด้าน โดยในระดับในประเทศจำเป็นต้องใช้มาตรการด้านความปลอดภัยของชาวประมงให้มากขึ้นและจัดการกับปัจจัยขับเคลื่อนหลัก เนื่องจากระดับการเสียชีวิตที่สูงมากในชุมชนที่มีรายได้ต่ำ จึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการพัฒนาขีดความสามารถอย่างเร่งด่วน ส่วนในระดับสากล การเก็บรวบรวมข้อมูล ความโปร่งใส และการแบ่งปันข้อมูลที่ดีกว่าเดิม จะช่วยให้หน่วยงานกำกับดูแลเข้าใจปัญหาที่ชาวประมงเผชิญได้ดีขึ้น ระบุความเสี่ยงที่นอกเหนือจากการทำประมงแบบ IUU ได้แม่นยำยิ่งขึ้น และนำนโยบายมาใช้เพื่อให้เกิดมาตรการด้านความปลอดภัยของเรือที่เข้มงวดขึ้น

นอกจากนี้ก็ยังมีกรอบการกำกับดูแลที่มีอยู่แล้วซึ่งออกแบบมาเพื่อหยุดยั้งการทำประมงผิดกฎหมายและปกป้องชาวประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศต่าง ๆ ควรให้สัตยาบันและดำเนินการตามข้อตกลงเคปทาวน์ (Cape Town Agreement) ซึ่งรับรองโดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization) ในปี 2555 ซึ่งกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการต่อและออกแบบเรือประมง, ดำเนินการตามข้อตกลงขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยมาตรการของรัฐเจ้าของท่า (FAO Agreement on Port State Measures) ซึ่งมีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่จับมาอย่างผิดกฎหมายเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล และดำเนินการตามอนุสัญญาการทำงานในภาคประมง ปี 2550 ฉบับที่ 188 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (2007 ILO Work in Fishing Convention C 188) ซึ่งกำหนดมาตรฐานสภาพความเป็นอยู่บนเรือเดินทะเล นอกจากนี้ประเทศสมาชิกขององค์กรการจัดการประมงระดับภูมิภาคยังควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจนที่เสริมสร้างความพยายามในการต่อสู้กับการทำประมงแบบ IUU และการทำประมงเกินขนาด

"โชคดีที่ยังมีเครื่องมือมากมายที่สามารถช่วยหยุด IUU ในระดับอุตสาหกรรมและการทำประมงเกินขนาดและปรับปรุงข้อกังวลด้านความปลอดภัยในอาชีพที่อันตรายที่สุดอาชีพหนึ่งของโลก" ฮอร์นกล่าวเสริม "แม้จะไม่ได้กล่าวถึงปัญหาทั้งหมด แต่ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความตั้งใจที่จะจัดการกับปัญหานี้ กระนั้นหน่วยงานระหว่างประเทศก็ยังต้องให้ความสำคัญกับการนับจำนวนผู้เสียชีวิตเหล่านี้ด้วย ภาพที่ชัดขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นบนผิวน้ำเท่านั้นที่จะทำให้ทางการทราบได้ว่าเมื่อใดและที่ไหนที่จำเป็นต้องมีการดำเนินการที่เข้มงวดมากขึ้น การศึกษานี้คือการเรียกร้องอย่างชัดเจนต่อหน่วยงานระหว่างประเทศ, รัฐบาลระดับชาติ และผู้จัดการการประมงทั่วโลกให้จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ชาวประมงไม่ควรตายแบบโลกลืมอีก และรัฐบาลของแต่ละประเทศก็ไม่สามารถเพิกเฉยต่อความอยุติธรรมที่รุนแรงของมนุษย์และความไม่เท่าเทียมอันเป็นผลมาจากการดำเนินการที่ไม่เพียงพอต่อการทำประมงแบบ IUU, การทำประมงเกินขนาด และภาวะโลกรวนได้อีกต่อไป"

ติดต่อ: ลีอาห์ ไวเซอร์ (Leah Weiser), อีเมล: [email protected], โทร. +1-202-591-6761

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1934287/Cycle_of_IUU_Infographic.jpg


ข่าวมูลนิธิความปลอดภัยด้านการประมง+ความปลอดภัยวันนี้

โรงพยาบาลนวเวช จับมือ สนามกอล์ฟนวธานี ดูแลสุขภาพนักกอล์ฟ พร้อมบริการดูแลครบวงจร 24 ชม.

โรงพยาบาลนวเวช ร่วมมือกับ สนามกอล์ฟนวธานี (World Cup 1975) มุ่งดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของนักกอล์ฟ ผู้บริหาร และพนักงาน โดยให้บริการดูแลรักษาครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งกรณีฉุกเฉิน อุบัติเหตุ และโรคเฉพาะทาง เช่น แม่และเด็ก หัวใจ และสมอง นวเวชได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO 7101:2023 และ ISO 9001:2015 จาก AACI สหรัฐอเมริกา ยืนยันคุณภาพการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยทีมบุคลากรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับโลก ความร่วมมือในครั้งนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของทั้งสององค์กรในการยกระดับการดูแลสุขภาพในชุมชน

เขตวังทองหลางกำชับผู้รับจ้างเพิ่มมาตรการความปลอดภัยปรับปรุงถนนซอยรามคำแหง 21

นายโครงการ เจียมจีรกุล ผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง กทม. กล่าวกรณีมีประชาชนร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนจากโครงการปรับปรุงถนนในซอยรามคำแหง 21 ว่า สำนักงานเขตฯ ได้กำชับผู้รับจ้างให้ฉีดพ่นน้ำควบคุมฝุ่นอย่างสม่ำเสมอและ...

คณะผู้บริหารจากบริษัท ตั้งธนสิน จำกัด ผู้... อีซี่มันนี่ เยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการการ์ดฟอร์ซ เดินหน้าพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยและประสิทธิภาพ — คณะผู้บริหารจากบริษัท ตั้งธนสิน จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจโรงรับจ...

นายดลจิตร์ เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการเขตราษฎร์... กทม. กำชับผู้รับเหมาเพิ่มมาตรการความปลอดภัยระหว่างก่อสร้างหน้า รพ.ราษฎร์บูรณะ — นายดลจิตร์ เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการเขตราษฎร์บูรณะ กทม. กล่าวกรณีมีข้อร้องเรีย...

บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ ... IN-SURE อินทรประกันภัย สนับสนุนความปลอดภัยนักวิ่ง งาน 12 สิงหา ฮาล์ฟ มาราธอน กรุงเทพฯ 2025 — บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ IN-SURE หนึ่งในสายธุ...