ข้อไหล่ติด เป็นภาวะที่ทำให้มีอาการปวดไหล่ ไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ปกติ มีอาการติดขัด หากปล่อยไว้นานอาจไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้ และอาจพัฒนากลายเป็นหัวไหล่ติดแข็ง และขยับไม่ได้ถาวร ข้อไหล่ติดสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
สาเหตุข้อไหล่ติด มาจากการอักเสบและการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อ จนเป็นพังผืด อาจเกิดจากอายุที่มากขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายน้อย การใช้งานข้อไหล่ซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่น การนั่งพิมพ์งาน การหันหรือเอื้อมหยิบของแบบผิดท่า เคยบาดเจ็บหรือเคยเกิดอุบัติเหตุที่ข้อไหล่เส้นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ โรคหัวใจ ก็มีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ติดมากกว่าคนทั่วไปได้อีกด้วย
อาการข้อไหล่ติด ที่ต้องรีบไปพบแพทย์
การรักษาข้อไหล่ติด คือต้องทำให้ข้อไหล่ขยับได้มากขึ้นและลดอาการเจ็บปวด ด้วยการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้การติดยึดของข้อไหล่ลดน้อยลง ร่วมกับการประคบร้อน เย็น ทำอัลตร้าซาวด์ หรือทานยา หากปวดรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้ยาฉีดเข้าข้อ ในกรณีที่ปวดมากไม่สามารถใช้แขนดำเนินชีวิตได้ปกติ และการรักษาข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด "#การผ่าตัดข้อไหล่แบบส่องกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว" คลิกอ่านข้อมูล >> https://ram-hosp.co.th/news_detail/256
แม้ว่าร่างกายจะฟื้นฟูและอาการไหล่ติดสามารถหายเองได้ในบางคน แต่อาจต้องใช้เวลานานและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการที่ข้อไหล่ฟื้นตัวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหรือไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ปกติ ดังนั้น ผู้ที่มีอาการไหล่ติดจึงควรมาพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี จะได้ไม่ต้องทรมานจากอาการปวดและกลับมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้โดยเร็ว
สายด่วนสุขภาพโทร 0 2743 9999 ต่อ 2999
ต้อกระจก เกิดจากความเสื่อมของเลนส์แก้วตา โดยคนส่วนใหญ่ประมาณ 80% จะเริ่มมีอาการหลังอายุ 60 ปี แต่ก็มีผู้ป่วยประมาณ 20% ที่เกิดต้อกระจกก่อนวัย ซึ่งมักมีปัจจัยเสี่ยงดังนี้ อุบัติเหตุที่ดวงตา เช่น การกระแทกที่ดวงตาหรือเบ้าตาโดยตรง โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง หรือการขาดสารอาหารบางชนิด แสง UV แต่ว่าสมัยนี้เรามีโอกาสที่จะสัมผัสกับแสงอีกคลื่นหนึ่งที่เรียกว่าเนียร์ยูวี ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่มีความถี่สูงใกล้เคียงกับแสง UV คลื่นแสงนี้จะมาจากจอต่างๆ ที่เราใช้
10 เทคนิคในการเอาใจใส่ดูแลผู้สูงวัยให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และจิตใจเบิกบาน
—
เมื่อเราก้าวเข้าสู่วัยชรา ร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมถอยลง ความแข็งแรงไม่เหมือนว...
"ข้อเข่าเสื่อม" ไม่ใช่แค่เรื่องของคนสูงวัย
—
ข้อเข่าเสื่อม ปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุ แต่ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่เสี่ยง แต่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเช่น ...
ผู้บริหาร TM และ THE PARENTS ดูงานด้านบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
—
ดร.สุนทรี จรรโลงบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทคโนเมดิคัล จำกัด (มหาชน) ห...
TM จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2568
—
บริษัท เทคโนเมดิคัล จำกัด (มหาชน) หรือ TM ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ...
Ageing Thailand 2025 มหกรรมสุขภาพ เทคโนโลยี และไลฟ์สไตล์ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในประเทศไทย
—
โลกปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการมีอายุย...
GSK ร่วมรณรงค์ "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025" ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย
—
องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปีถือเป็...
อัลไซเมอร์-พาร์กินสัน-หลอดเลือดสมอง 3 โรคร้าย ทำลายสมองแบบไม่รู้ตัว!!! เตือนคนไทยอย่าชะล่าใจ "สมองป่วยได้" และอาจเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต
—
"สมอง" จะเป็นอวัย...
เรื่องลับๆ ของผู้ชาย ที่ควรรู้ : หิดที่อวัยวะเพศชายหิด (Scabies)
—
หลายคนอาจะเคยได้ยินเกี่ยวกับหิดมาบ้างว่าส่วนใหญ่เป็นที่มือ แต่จริงๆ แล้วหิดสามารถติดที่...
กรมอนามัย ร่วมงาน เวที "สานพลังไทย รับมือสังคมสูงวัยไปด้วยกัน"
—
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายให้ แพทย์หญิงนงนุช ภัทรอนันตนพ รองอธิ...