นางภัสรา นทีทอง ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน กทม.กล่าวกรณีนักวิชาการระบุการปลูกป่าชายเลนยังไม่มากพอที่จะทำหน้าที่ชะลอความแรงของคลื่นและเพิ่มการตกตะกอนจนนำไปสู่การเกิดแผ่นดินงอกใหม่ว่า จากผลการดำเนินงานปลูกป่าชายเลนบางขุนเทียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 - 2566 จากการปักแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นบริเวณหน้าทะเล ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนได้ 233 ไร่ และเกิดดินตะกอนสะสมหลังแนวไม้ไผ่เพิ่มขึ้นประมาณ 80 - 120 เซนติเมตร (ซม.) ทับถมแนวสะพานไม้ไผ่ในแปลงปลูกจากที่เดิมสูงจากพื้นดิน 50 ซม.
ต้องเพิ่มความสูงของสะพานไม้ไผ่เป็น 150 ซม. ต้นโกงกางที่ปลูกในแปลงที่ 1, 2, 5 และ 6 มีความเจริญเติบโตได้ดี มีอัตราการรอดร้อยละ 90 เป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน เพิ่มอัตราการรอดของต้นกล้าโกงกางในแปลงปลูกที่ 3, 4, 7 และ 8 ซึ่งเป็นแปลงประสบปัญหาต้นกล้าเสียหายจากความแรงของคลื่นทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 โดยปรับรูปแบบการปลูกเป็นการปลูกในท่อซีเมนต์ เพื่อช่วยยกระดับต้นกล้าไม่ให้จมน้ำเป็นเวลานาน เลียนแบบการปลูกตามธรรมชาติและใช้ท่อซีเมนต์ช่วยชะลอคลื่นแทนแนวไม้ไผ่ที่มีอายุการใช้งานระยะสั้น
สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการกัดเซาะ สำนักงานเขตฯ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยการจัดเจ้าหน้าที่ดูแลต้นโกงกางในแปลงปลูกที่ 1 - 8 ให้มีความเจริญเติบโต เช่น การเปลี่ยนไม้หลักที่ชำรุด การเติมดินเลนในท่อซีเมนต์ การเพาะพันธุ์ต้นกล้า เพื่อปลูกเพิ่มและทดแทนต้นที่เสียหาย เป็นต้น ขณะเดียวกันได้ประสานหน่วยงานภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ทั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นิคมสหกรณ์บ้านไร่ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งสร้างศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนบางขุนเทียน เพื่อใช้เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยรูปแบบเป็นการทำแนวทางเดินสะพานไม้ไผ่ภายในศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อให้สามารถสัมผัสกับระบบนิเวศน์ป่าชายเลนบางขุนเทียนอย่างใกล้ชิดให้ผู้มาเยี่ยมชมเกิดความตระหนักถึงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง หากไม่ได้รับความร่วมมือในการแก้ไขจะส่ง ผลกระทบกับประชาชนต่อไปในอนาคต
นางภัสรา นทีทอง ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนไม่คืบหน้าว่า สำนักงานเขตฯ ได้ดำเนินการปลูกป่าชายเลน เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนตั้งแต่ปี 2559 โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยปักไม้ไผ่ทำแนวชะลอคลื่นหน้าทะเลเป็นระยะทาง 2,200 เมตร ปักเสาไฟฟ้าปิดกั้นคลื่น ระยะทาง 317 เมตร ใช้เสาไฟฟ้า 2,217 ต้น ทำแปลงปลูกป่าชายเลน จำนวน 12 แปลง และปลูกต้นกล้า จำนวน 107,000 ต้น ซึ่งเพิ่มพื้นที่ได้จำนวน 233
กทม.แจงปลูกต้นโกงกางในท่อซีเมนต์ได้ทุกฤดู - ใช้เกณฑ์น้ำขึ้นน้ำลงของน้ำทะเล
—
นางภัสรา นทีทอง ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน กทม.กล่าวกรณีมีการตั้งข้อสังเกตการป...
กลุ่มบริษัทยูนิไทย ร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลน เนื่องในวันคุ้มครองโลก เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
—
กลุ่มบริษัทยูนิไทย ร่วมฟื้นฟูระบบน...
วี เวนเจอร์ส ในเครือ TTA จับมือ DITTO ร่วมขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อบลูคาร์บอนเครดิต มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions
—
บริษัท วี เวนเจอร์ส เทค...
ซีล-อาเบกก์ ผู้ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า จากเยอรมนี ผนึกกำลังผู้บริหารโซนเอเชียฯ-เยอรมนี จัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนในไทย
—
บริษัท ซีล-อาเบกก์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Z...
RBF สานพลังปลูกป่าชายเลน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกบางปู ร่วมแก้วิกฤตโลกร้อน ในโครงการ "RBF GREEN VOLUNTEER" ปีที่ 3
—
บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จ...
PTG เดินหน้าโครงการ "พีที ค่ายอาสา ทำจริงไม่ทิ้งกัน" ลุยปลูกป่ามุ่งสู่ Net Zero พื้นที่ ต.คลองขนาน จ.กระบี่ ให้ "อยู่ดีมีสุข"
—
บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำ...
ซัมซุงประกันชีวิตเดินหน้าปลูกป่าชายเลนถาวร กับโครงการ Green Global Project…We love Thailand ครั้งที่ 13
—
บริษัท ซัมซุง ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหา...
SSI ร่วม ก.อุตสาหกรรมสืบสานจิตอาสา ปลูกป่าปล่อยปูอุทยานเขาสามร้อยยอด
—
นายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ...