นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า เนื่องจากสภาพอากาศในฤดูแล้ง เหมาะแก่การแพร่กระจายของศัตรูพืชหลายชนิด เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เป็นหนึ่งในศัตรูสำคัญที่สร้างความเสียหายในมันสำปะหลังทุกระยะการเจริญเติบโต โดยดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ยอด ตา และถ่ายมูลเหลวข้นเหนียวรสหวานทำให้เกิดราดำปกคลุม ส่งผลให้ลำต้นบิดเบี้ยวมีช่วงข้อถี่ ใบหยิกงอเป็นพุ่มกระจุกหนา กระทบต่อการสังเคราะห์แสง ขนาดหัวมันสำปะหลังเล็กลง และเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากเข้าทำลายในมันสำปะหลังอายุน้อย หรือแพร่กระจายจำนวนมากอาจทำให้มันสำปะหลังไม่สามารถสร้างหัวและยืนต้นตายได้
ซึ่งในปัจจุบันพบเพลี้ยแป้ง 4 ชนิดสำคัญ ได้แก่ เพลี้ยแป้งลาย เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว และเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู เมื่อเข้าสู่แปลงปลูกในระยะตัวอ่อนสามารถเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่าง ๆ ของมันสำปะหลังได้โดยมีลมและมดเป็นพาหะให้แพร่กระจายไปสู่มันสำปะหลังต้นอื่นในแปลงปลูกได้ เกษตรกรจึงควรเลือกท่อนพันธุ์ที่สะอาด ปลอดโรคและศัตรูพืช รวมทั้งหมั่นแปลงเพาะปลูกอยู่เสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันกำจัดไม่ให้ศัตรูพืชแพร่กระจายสร้างผลกระทบตามมาได้
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง สามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มเพาะปลูกโดยไถและพรวนดินหลาย ๆ ครั้ง เพื่อลดปริมาณของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่อยู่ในดิน จากนั้นใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด ปราศจากโรคและศัตรูพืช โดยควรแช่ท่อนพันธุ์ 5 - 10 นาที ก่อนนำไปปลูก ด้วยสารกำจัดแมลง ได้แก่ ไทอะมิโทแซม 25% WG อัตรา 4 กรัม หรืออิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 4 กรัม หรือไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 40 กรัม โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่งผสมน้ำ 20 ลิตร และนำไปแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่จะปลูก นอกจากนี้ ในการเพาะปลูกควรอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมลงช้างปีกใส แตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ด้วงเต่าตัวห้ำ ผีเสื้อหางติ่งตัวห้ำ และแตนเบียนชนิดอื่น ๆ งดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงในช่วงที่พบแมลงศัตรูธรรมชาติบนต้นมันสำปะหลัง หรือช่วงหลังจากการปล่อยศัตรูธรรมชาติใหม่ ๆ หมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังให้ตัดยอดหรือถอนต้นไปทำลายนอกแปลงและพ่นสารกำจัดแมลง ได้แก่ ไทโอฟอส 50% EC อัตรา 50 มิลลิลิตร หรือสารสารกำจัดแมลงเดียวกันกับที่แช่ท่อนพันธุ์ โดยเลือกสารชนิดใด ชนิดหนึ่งผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณที่พบเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังและบริเวณโดยรอบทันที ทั้งนี้ หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงขอเตือนให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนเฝ้าระวังโรครากเน่าโคนเน่า โดยเฉพาะ ต้นทุเรียนที่อยู่ในระยะเก็บผลผลิตและระยะเริ่มแตกใบอ่อน เนื่องจากโรครากเน่าโคนเน่า เป็นโรคที่สำคัญของทุเรียน เพราะสามารถเข้าทำลายพืชได้ทุกส่วน และเป็นโรคที่ทำให้ต้นทุเรียนซึ่งกำลังเจริญเติบโตและให้ผลผลิตแล้วยืนต้นตายได้ สาเหตุโรคนี้เกิดจากเชื้อราไฟทอปเธอรา (Phytophthora palmivora) ที่แพร่กระจาย
กรมส่งเสริมการเกษตร เชิดชูเกียรติบุคคลและหน่วยงานดีเด่น ปี 2566
—
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรขับเคลื่อ...
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนชาวนา ปลูกข้าวระยะนี้ เฝ้าระวัง แมลงดำหนามเข้าทำลายผลผลิต แนะหมั่นสำรวจแปลงนา กำจัดวัชพืชและใช้ปุ๋ยไนโตรเจนตามค่าวิเคราะห์ดิน
—
นายเข้มแข็ง...
กรมส่งเสริมการเกษตร รักษามาตรฐานเป็นเลิศ "คุณธรรมและความโปร่งใส" คว้าคะแนน 91.57 ในปี 2566
—
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ก...
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนชาวนา ระวัง "เพลี้ยจักจั่นสีเขียว" ทำลายข้าวระยะแตกกอ
—
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ระยะนี้ข้าวนา...
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนผู้ปลูก "พืชตระกูลปาล์ม" เฝ้าระวังด้วงแรดมะพร้าววางไข่ในระยะนี้
—
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรม...
กรมส่งเสริมการเกษตร จัดประกวดศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2566
—
กรมส่งเสริมการเกษตร จัดประกวดศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช....
กรมส่งเสริมการเกษตร ไขข้อข้องใจ "วิธีลดจำนวนแมลงวันทอง"
—
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า แมลงวันทอง หรือ แมลงวันผลไม้ ถือเป็น...
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนผู้ประกอบการระวังเกลือผสม แนะซื้อเกลือจาก 37 แหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้ ป้องกันผลิตภัณฑ์เสียหาย
—
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดี...