เคยสงสัยไหมว่า หุ่นยนต์รับรู้และเคลื่อนไหวได้อย่างไร? มาเรียนรู้เพิ่มทักษะในยุคดิจิทัล กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้นำวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับการรับรองหลักสูตรมาตรฐานโลก จาก ABET สหรัฐอเมริกา จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ "Robot Sensing Microcontroller and Sensor Technology" เรียนรู้และทำความเข้าใจในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ไขข้อสงสัยหุ่นยนต์รับรู้ได้อย่างไร? ให้ความรู้พื้นฐานการใช้งานเซนเซอร์รูปแบบต่างๆ ทั้งการวัดระยะทาง อุณหภูมิ ความชื้น หรืออื่นๆ รวมถึงการใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ และทดลองการใช้งานเซนเซอร์ในแบบต่างๆ ภายใต้โครงการ Reinventing University : Mahidol Medical Robotics Platform กำหนดจัด ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ Innogineer Studio คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ในเวิร์กชอปนี้ พบกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ดร.สกล นาคธรรมาภรณ์ วิศวกรอาวุโสด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้สนใจสมัครวันนี้ - 15 พ.ค. 2566 รับจำนวนจำกัด ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือสาขาแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ วิศวกรรมชีวการแพทย์ สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://forms.gle/eiS6vB8hrLCJ2rZs6 สอบถามเพิ่มเติม โทร. 094-064-5715 คุณสิริกร ศรีม่วง และ 087-337-9608 คุณยศธร ตั้งธนะวัฒน์ หรือ [email protected]
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญแม้แต่ทางด้านศิลปะแห่งโลกตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการแสดงในหลากหลายสาขาอย่างเช่น "บัลเล่ต์" (Ballet) ที่ได้รับการบรรจุเป็นหลักสูตรพื้นฐาน เพื่อการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญทั่วโลก ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล มุณีสว่าง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นับเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มีโอกาสร่วมวิจัยกับนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยโตรอน
ม.มหิดลเตรียมสร้าง Digital Medical Hub ขยายผลโลจิสติกส์ จากภาคสาธารณสุข สู่ภาคการเกษตร
—
จากความสำเร็จที่ได้ออกแบบระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ นับตั้งแต่ช่วงวิก...
วิศวะมหิดล สร้างสรรค์ "จดจำ" อุปกรณ์จดบันทึกเพื่อน้องในโลกมืดและผู้พิการทางสายตา
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โ...
วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือกับ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี พัฒนาเยาวชน การศึกษา และการวิจัย
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์...
ม.มหิดลมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอาหารยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติ
—
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาหาร ยังคงมีความท้าทายในทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับมหาวิทยาล...
ม.มหิดลแนะโลจิสติกส์สีเขียว สร้างได้ไม่เพิ่มต้นทุน เสริมเศรษฐกิจชาติยั่งยืน
—
ปัจจุบันทั่วโลกตื่นตัวเตรียมพร้อมวัดและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างกว้างขวา...
7 ก.ย. วิศวะมหิดล จัดเวิร์กชอปเพื่อเยาวชน "เตรียม Port(folio)แบบตัวตึง สอบสัมภาษณ์แบบถึงใจ"
—
ข่าวดีสำหรับเยาวชนนักเรียน ในการเตรียมตัวศึกษาต่อสู่อนาคตที่...
วิศวะมหิดล เชื่อมต่อองค์ความรู้...สู่มัธยมศึกษา กับเครือ ร.ร.เทพศิรินทร์ และ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การนำของ รศ. ด...
วิศวะมหิดล เดินหน้าพัฒนา 'วิศวศึกษายุคใหม่' ผนึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจากญี่ปุ่นและไต้หวัน
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตอกย้ำความร่วมมือกับ มห...