สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ประกาศรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ได้แก่ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรื่อง เส้นโปรตีนไข่ขาวพร้อมทาน ไร้แป้ง ไร้ไขมัน ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ด้วยรีทอร์ท" รายแรก ภายใต้อนุสิทธิบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร งามอุโฆษ หัวหน้าโครงการวิจัย และคณะทีมนักวิจัยจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้ประดิษฐ์เข้ารับรางวัลและจัดแสดงผลงานในงาน วันนักประดิษฐ์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนากรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร งามอุโฆษ หัวหน้าทีมนักวิจัย กล่าวว่า การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์จึงเกิดขึ้นภายใต้แนวความคิดนวัตกรรมอาหารแห่งโลกอนาคต เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไทยด้วยนวัตกรรม เส้นโปรตีนไข่ขาว 100% โดยเพิ่มมูลค่าจากไข่ขาวปกติได้สูงถึง 14 เท่า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก นอกจากนี้นวัตกรรมเส้นโปรตีนไข่ขาว 100% ยังอุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพ มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ร่างกายสามารถย่อย และดูดซึมได้ง่าย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งใน กลุ่มผู้ป่วย อาทิ โรคไต โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการบริโภคแป้ง ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เส้นโปรตีนไข่ขาว ไร้แป้ง บริษัท ทานดี อินโนฟูด จำกัด ได้นำเอานวัตกรรมนี้มาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้รับความสนใจจากประเทศต่าง ๆ มากมาย เช่น ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นต้น และมีบริษัทผู้ส่งออกสนใจในการ นำนวัตกรรมนี้จำหน่ายในประเทศดังกล่าว โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ 100 ล้านบาท ภายใน 5 ปี ภายหลังจากจำหน่าย เพื่อนำรายได้เข้าสู่ประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม "เส้นโปรตีนไข่ขาวพร้อมทาน ไร้แป้ง ไร้ไขมัน ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ด้วยรีทอร์ท" นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์จากนักวิจัยไทย ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.จิราภรณ์ บุราคร นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ ประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การสื่อสารงานวิจัย ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ธาตรี ใต้ฟ้าทูล ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ เป็นวิทยากร การอบรมฯ มีบุคลากร นักวิจัย กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมกว่า 40 คน ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 และวันที่ 24 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม
วว. /จุฬาฯ /มทร.ล้านนา /ม.พายัพ /บริษัทไบโออัพฯ ร่วมรับรางวัลจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
—
วว. /จุฬาฯ /มทร.ล้านนา /ม.พายัพ /บริษัทไบโออัพฯ ร่วมรับรางวัลจ...
วว. ร่วมชมการแสดง ดนตรีในสวน : H.M. Song อว. บรรเลงเพลงของพ่อ ประจำปี 2567 พร้อมโชว์ผลงานวิจัยสารฝนหลวงทางเลือก ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—
นางสาวศุภมา...
วว. ร่วม พิธีเปิดงาน Loy Krathong: Illumination the Future @ สยามสแควร์
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัต...
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือ ยกระดับความเป็นเลิศด้านสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
—
บริษัท เบอร...
SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต สนับสนุนประกันเดินทางนักกีฬาจุฬาฯ เข้าแข่งขันตุมปังเกมส์ 2025
—
นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ...
จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University
—
ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...
จุฬาฯ - การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ "จุฬาฯ - การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทย...
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...
ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
—
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...