แคสเปอร์สกี้เผย 3 ประโยชน์มหาศาล ที่ธุรกิจของคุณจะได้รับจากบริการรักษาความปลอดภัยเอาต์ซอร์ส

08 Feb 2023

ธุรกิจของคุณยังคงพึ่งพาทีมไอทีทั่วไปในการจัดการปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งหมดหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น อาจถึงเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงแล้ว

แคสเปอร์สกี้เผย 3 ประโยชน์มหาศาล ที่ธุรกิจของคุณจะได้รับจากบริการรักษาความปลอดภัยเอาต์ซอร์ส

หากการขาดงบประมาณเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ธุรกิจของคุณยังอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ แม้ว่าจะมีอันตรายจากการละเมิดความปลอดภัย คุณก็ยิ่งต้องพิจารณาผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยแบบจัดจ้าง (Managed Security Service Provider หรือ MSSP)

Managed Security Service Provider (MSSP) คืออะไรกันแน่?

ทุกวันนี้ บริษัททุกขนาดมุ่งไปหาผู้ให้บริการแบบจัดจ้างหรือ MSP เพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมในการสนับสนุนธุรกิจด้านต่างๆ เช่น บัญชีเงินเดือนและทรัพยากรบุคคล นี่เป็นการดำเนินงานปกติของธุรกิจที่กำลังเติบโตที่ต้องจัดการระบบอย่างรวดเร็ว แต่ขาดทรัพยากรและความเชี่ยวชาญภายในองค์กร ความปลอดภัยของข้อมูลกลายเป็นเรื่องที่ต้องกังวลมากขึ้น บริการต่างๆ จึงรวมการจัดการบริการด้านไอทีและโครงสร้างพื้นฐานด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง MSP เป็นบุคคลที่สามที่ให้บริการดูแลรักษาธุรกิจ

ผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยแบบจัดจ้าง (MSSP) นั้นแตกต่างออกไป เนื่องจากเน้นที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์ งานแรกของ MSSP คือการช่วยในกระบวนการรักษาระบบที่สำคัญของบริษัทและข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูงให้ปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็เข้าใจข้อกังวลของลูกค้าและแสดงวิธีแก้ไขให้ลูกค้าเห็น องค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานในองค์กรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่หลากหลาย แต่ก็ยังต้องการความช่วยเหลือเฉพาะด้านเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จากภายนอก MSSP

สำหรับบริษัทที่ต้องการการตรวจสอบตลอด 24 ชั่วโมง MSSP เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับเป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย (SOC) ซึ่งต้องใช้คนอย่างน้อยเก้าคนในการปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน MSSP ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยระดับปฏิบัติการที่องค์กรจำเป็นต้องจ้างและฝึกอบรม

ในสภาพแวดล้อมภายหลังการแพร่ของโรคระบาด การวางแผนสำหรับเหตุฉุกเฉินและการคำนึงถึงความไม่แน่นอนของอนาคตเป็นสิ่งที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างการอยู่รอดและเจริญเติบโตของธุรกิจในท้ายที่สุด

Gartner คาดการณ์ว่าภายในปี 2566 การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้อย่างกว้างขวางจะเพิ่มขึ้นจากองค์กรที่ปรับโครงสร้างความเสี่ยงและการกำกับดูแลความปลอดภัยจำนวนน้อยกว่า 15% ในปัจจุบันเป็น 75%

แคสเปอร์สกี้ได้ทำการสำรวจธุรกิจขนาดต่าง ๆ ใน 26 ประเทศในเดือนกันยายน 2565 เพื่อทำความเข้าใจว่าองค์กรต่าง ๆ ตอบสนองต่อความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ของโรคระบาดอย่างไร ผลการสำรวจได้รับการรวบรวมไว้ในรายงาน Kaspersky IT Security Economics ล่าสุด ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้บอกเล่าถึงการตั้งค่าปัจจุบันเมื่อต้องจัดการความปลอดภัยด้านไอทีขององค์กร

ในการใช้ MSSP เพื่อตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยทางไอที ธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยอมรับว่าได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้

  1. ทีมไอทีทำงานได้มากขึ้นด้วยต้นทุนที่น้อยลง บริษัทในภูมิภาคนี้ดูเหมือนจะให้ความสำคัญกับการเข้าถึงความรู้และทรัพยากรที่กว้างขวางจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์จากภายนอก

บริษัทจำนวน 55.8% กล่าวว่า MSSP มอบความเชี่ยวชาญพิเศษ บริษัท 54.7% ระบุว่าช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามข้อกำหนดและลดความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ และ 50.4% ตระหนักว่า MSSP กำลังนำความซับซ้อนออกจากกระบวนการทางธุรกิจ บริษัทเชื่อว่าการเป็นคู่ค้ากับ MSSP นั้นเป็นเสมือนการเตรียมพร้อมสำหรับทีมงานด้านไอทีภายในของตนด้วยทรัพยากรและทักษะทั้งหมดที่ MSSP นำมาให้

  1. ลดต้นทุน บริษัทในภูมิภาคจำนวน 4% ระบุว่านี่เป็นหนึ่งในผลประโยชน์ที่ใหญ่ที่สุดของ MSSP การรักษาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงไว้ในองค์กรนั้นมีราคาแพงสำหรับทุกบริษัท ทุกประเภท และทุกขนาด การใช้ MSSP สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรบุคคลและค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยด้านไอทีล่วงหน้า เช่น ค่าใช้จ่ายจำนวนมากสำหรับพนักงานประจำ มาตรการป้องกันที่เข้มงวด ตลอดจนการฝึกอบรมพนักงานและการสร้างความตระหนักรู้

ธุรกิจต่างๆ เริ่มมองว่าการรักษาความปลอดภัยนั้นเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยคำนึงถึงต้นทุนจากการถูกละเมิด เช่น ฐานข้อมูลที่ถูกแฮ็ก การหยุดทำงานซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง การสูญเสียลูกค้า และความเสียหายด้านชื่อเสียงที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อผลกำไร

  1. ความสามารถในการปรับขนาด ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 5% พบว่าการทำงานกับ MSSP ช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นในแง่ของข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลง สามารถเพิ่มทรัพยากรทีละน้อยหรือเฉพาะช่วงระยะเวลาหนึ่งได้

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "เมื่อนึกถึงผลกระทบธุรกิจแบบปกติได้รับในช่วงปีที่มีโรคระบาดใหญ่ เราได้เห็นสำนักงานและร้านค้าปิดตัวลง พนักงานแยกย้ายกันไปทำงานจากระยะไกลอย่างกะทันหัน และลูกค้าถูกบังคับให้ทำธุรกรรมทุกอย่างทางออนไลน์ นอกจากนี้ เรายังได้เห็นวิธีการที่อาชญากรไซเบอร์ใช้เอาเปรียบจากโลกที่ไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือเรื่องนี้ และเร่งโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ"

"จากประสบการณ์ในช่วงการแพร่ของโรคระบาด ผู้มีอำนาจตัดสินใจของธุรกิจที่เจริญเติบโตได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่เพื่ออยู่ในตลาดและขึ้นนำคู่แข่งเมื่อมีโอกาส การเติบโตและขยายตัวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราเปลี่ยนความคิดของเรา และเปลี่ยนลำดับความสำคัญต่างๆ" นายโยวกล่าวเสริม

คู่ค้า MSSP ของแคสเปอร์สกี้ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นบริษัทต่างๆ ที่กำลังพิจารณาที่จะเปลี่ยนมาใช้ MSSP เพื่อเข้าถึงประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และพอร์ตโฟลิโอบริการและโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อันยาวนานของแคสเปอร์สกี้ รวมถึงข้อมูลภัยคุกคาม การตอบสนองต่อเหตุการณ์ การตรวจจับภัยคุกคาม การวิจัยมัลแวร์ วิศวกรรมย้อนรอย และนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Managed Service Provider Partnership ของแคสเปอร์สกี้ ผู้จำหน่ายที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ https://www.kaspersky.com/partners/managed-service-provider

สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มของ Kaspersky IT Security Economics Report 2022 ได้ที่

https://calculator.kaspersky.com/report

แคสเปอร์สกี้เผย 3 ประโยชน์มหาศาล ที่ธุรกิจของคุณจะได้รับจากบริการรักษาความปลอดภัยเอาต์ซอร์ส