จาก "มหาวิทยาลัยสีเขียว" (Green University) สู่"มหาวิทยาลัยยั่งยืน" (Sustainable University)
เป็นการตอกย้ำเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ห่วงใยอนาคตของโลก และพร้อมร่วมขับเคลื่อนแนวคิดที่จะทำให้โลกให้อยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ถือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดล สู่ "มหาวิทยาลัยสีเขียว" (Green University) สู่ "มหาวิทยาลัยยั่งยืน"
(Sustainable University) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเป็นส่วนงานที่ริเริ่มนำพลังงานทดแทนจากธรรมชาติมาเป็นต้นแบบของแนวคิดเพื่อการประหยัดพลังงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม รองคณบดีฝ่ายบริหารและการคลัง และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในคณะทำงานของคณะฯ ได้กล่าวถึงแนวคิดเพื่อการประหยัดพลังงานดังกล่าว ซึ่งได้มีการริเริ่มโครงการ "SMART GREEN ENERGY" เพื่อสนองยุทธศาสตร์ "มหาวิทยาลัยสีเขียว" (Green University) ของมหาวิทยาลัยมหิดลในยุคแรกเริ่ม
ด้วยแนวคิดการนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วไปทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการนำจักรยานเก่าที่ไม่ใช้แล้วภายในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา มาดัดแปลงเป็น"จักรยานปั่นไฟ" ติดตั้ง ณ บริเวณหอพระพุทธมหิดลมงคลวรญาณ หน้าหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
โดยมีนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล แวะเวียนกันมาร่วมกันปั่นจักรยานเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าเก็บไว้ส่องสว่างในยามค่ำคืน สนับสนุนองค์ความรู้ในการสร้างระบบการติดตามสถานะการชาร์จและจ่ายไฟโดย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ต่อมา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ขยายผลสู่การเป็น"มหาวิทยาลัยยั่งยืน" (Sustainable University) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ยังคงดำเนินการเพื่อร่วมสนองตอบยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างต่อเนื่อง โดยได้บรรจุไว้เป็น 1 ใน 4 ยุทธศาสตร์การวิจัยของคณะฯ อันได้แก่ Healthcare Engineering, Logistic and Railway Engineering, Digital Engineering และSustainable and Environmental Engineering และขยายผลสู่ชุมชน ซึ่งตามมาด้วยโครงการย่อยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ภายใต้โครงการ "SMART GREEN ENERGY"
ตัวอย่างจากแนวคิดเรื่อง "จักรยานปั่นไฟ" ที่ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบเมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาสู่โครงการ"กังหันปันน้ำ" โดยการนำเอาจักรยานที่ไม่ใช้แล้วมาดัดแปลงให้สามารถปั่นไฟเพื่อเก็บไว้เป็นพลังงานหมุนกังหันบำบัดน้ำไม่ให้เน่าเสีย และการสร้าง Mobile Battery Charger เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานสัญจรจากแสงอาทิตย์ ที่สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปใช้เป็นสาธารณประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลในจังหวัดนครปฐม และชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ทั้งหมดนี้เป็นภารกิจสำคัญภายใต้การขับเคลื่อนโดยหน่วย"Engineering for Social Responsibility" ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน ที่มุ่งมั่นนำองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ไปทำให้เกิดความยั่งยืนโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สู่ชุมชน โดยหวังเป็นพลังหนุนส่งสู่ความยั่งยืนเพื่อให้โลกและลูกหลานได้คงอยู่ต่อไป
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโทร. 0-2849-6210
มหาวิทยาลัยมหิดลก้าวสู่อันดับ 1 ของประเทศไทย ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลกครั้งแรกในปี 2012 และล่าสุดจากผลสำรวจ UI Green Metric World University Ranking 2019 ที่จัดทำโดย University of Indonesia (UI) ได้ประกาศว่า มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นอันดับที่ 75 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย 4 ปีซ้อนนับตั้งแต่ปี 2016 โดยในปี 2016 ได้อันดับที่ 70 ของโลก ปี 2017 ได้อันดับที่ 86 ของโลก ปี 2018 ได้อันดับที่ 89 ของโลก และล่าสุด ปี 2019 ได้อันดับที่ 75 ของ
จักรยาน ofo รุกขึ้นเหนือ จับมือมหาวิทยาลัยพะเยา ส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว พร้อมให้บริการ Smart Bike Sharing เปิดให้ใช้งานฟรี 3 เดือน!
—
ofo (โอโฟ่)...
"ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ต้องเป็น "เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน"
—
"ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ ต้องเป็นแบบ "เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน" ยกกรณีศึ...
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว
—
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ลงนามบันทึกข้อตกลงคว...
ม.พะเยา ก้าวกระโดด! คว้าอันดับ 9 ของไทย และอันดับ 106 ของโลก ใน UI Green Metric World University Ranking 2024
—
มหาวิทยาลัยพะเยา ได้อันดับที่ 9 ของไทย จาก...
มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ ประจำปี 2567 (ASAIHL International Conference 2024) เพื่อเดินหน้ามหาวิทยาลัยสีเขียว
—
ในระหว่างวันที่ 19...
"BCPG" แสดงความยินดีกับ AIT ก้าวสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน
—
นายชาญวิทย์ ตรังอดิศัยกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการลงทุน บริษัท บีซีพีจ...
ชวน Gen Z ร่วมภารกิจ "Green University" ทิ้งขยะ e-Waste ให้ถูกที่ ดีต่อใจ ได้แล้วที่ 9 มหาวิทยาลัยในโครงการทรู แล็บ
—
การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่ทุก...