GenKOre, Inc. บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพสัญชาติเกาหลีซึ่งมีเครื่องมือ CRISPR-Cas แบบไฮเปอร์คอมแพกต์ ประกาศว่า บริษัทได้เข้าทำการวิจัยเชิงกลยุทธ์ร่วมกับบริษัทชีวเวชภัณฑ์ในสหรัฐ เพื่อพัฒนาการรักษาด้วยการตัดต่อยีนในร่างกาย โดยจะใช้แพลตฟอร์ม CRISPR-Cas ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ GenKOre ที่เรียกว่า TaRGET (Tiny nuclease, augment RNA-based Genome Editing Technology) แพลตฟอร์ม TaRGET แตกต่างจากเทคโนโลยีตัดต่อจีโนมยอดนิยมอย่าง CRISPR-Cas9 ตรงที่โมดูลการตัดต่อทั้งหมดสามารถส่งมอบได้ด้วยเวกเตอร์ AAV เดียว GenKOre ยังได้พัฒนาเครื่องมือการตัดต่อยีนในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์ม TaRGET รวมถึง TaRGET-CUT, TaRGET-Adenine Base Editing (ABE), TaRGET-AI (ระบบกระตุ้นและยับยั้งยีน) และ TaRGET-FREE (ยีนน็อกอิน หรือ Gene knock-in)
คุณยงซัม คิม (Yong-Sam Kim) ซีอีโอของ GenKOre กล่าวว่า "ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและศักยภาพของแพลตฟอร์ม TaRGET ในการประยุกต์ใช้ในการรักษาด้วยการตัดต่อยีนในร่างกายความร่วมมือครั้งนี้ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสในการทดสอบการใช้งานแพลตฟอร์ม TaRGET กับการบำบัดในร่างกายเท่านั้น แต่เราจะยังนำประโยชน์ของเทคโนโลยีของเราไปใช้รักษาโรคหายากอื่น ๆ อีกด้วย" ความร่วมมือครั้งนี้เกิดขึ้นจากความสนใจร่วมกันในการคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ ที่จะช่วยพลิกโฉมการรักษาผู้ป่วยโรคหายาก
ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว GenKOre จะได้รับเงินไม่เกิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยรวมถึงค่าธรรมเนียมแบบจ่ายล่วงหน้าในการใช้สิทธิออปชัน (Option) และการชำระเงินตามข้อกำหนด (Milestone Payment) เมื่อบรรลุผลสำเร็จของการวิจัยและพัฒนาและความสำเร็จในเชิงพาณิชย์สำหรับเป้าหมายโรคในร่างกาย 2 เป้าหมาย นอกจากนี้ GenKOre จะได้รับเงินทุนสนับสนุนการวิจัยและค่าลิขสิทธิ์ตามลำดับชั้น คิดเป็นมูลค่าสูงถึงเปอร์เซ็นต์เลขสองหลักของยอดขายสุทธิ
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1986639/GenKOre.jpg
"FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการหมักแบบแม่นยำ สร้างนวัตกรรม "ส่วนผสมฟังก์ชัน" ผลักดันเวชสำอางไทยตอบโจทย์ตลาด สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยแพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (FoodSERP) และสมาคมการค้าคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย (TCOS) ชูตัวอย่างนำร่องความร่วมมือระหว่างผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และนักวิจัย ในการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทย โดยอาศัยการวิจัยและเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรชีวภาพของประเทศ โดย
MEDEZE ต้อนรับคณะผู้บริหาร ABRM ร่วมหารือความร่วมมือยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์
—
นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำก...
กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์
—
นายภัสชญภณ ...
มจธ. คิดค้น "นวัตกรรมการผลิตซิลิกาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ" ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูง พร้อมพลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย
—
นักวิจัย มจธ.พัฒนากระบวนการผลิต ไบโอซิลิกา (Biosili...
สวทช. และ กองทัพเรือ โดยกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ร่วมวิจัยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง หนุนนโยบาย Green Navy ด้วยนวัตกรรมสะอาด
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...
ไบโอเทค-สวทช. และ ทีโพล์ โปรเฟสชั่นแนล ในเครือเชอร์วู้ด ร่วมมือวิจัยโครงการ "พัฒนากับดักราแมลงกำจัดปลวก" ทางเลือกใหม่ ลดใช้สารเคมีในครัวเรือน
—
ศูนย์พันธุว...
ไฟเซอร์ ขึ้นอันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพ จากการจัดอันดับ "สุดยอดนายจ้างระดับโลก 2024" ของ Forbes
—
นิตยสารฟอร์บส์ได้เปิดเผยรายชื่อบริษัท...
Inti Labs บุกเบิกนวัตกรรมการย้ายตัวอ่อนแบบไม่รุกล้ำครั้งแรกของโลก เพิ่มอัตราความสำเร็จการทำเด็กหลอดแก้วในไทย
—
Inti Labs บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งม...