กว่า 3 ทศวรรษที่องค์การสหประชาชาติ (UN) เริ่มให้ความสนใจแนวคิดของการสร้างความเป็นพลเมืองเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และได้กล่าวถึง "ความมั่นคงของมนุษย์" (Human Security) 7 ประการได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงส่วนบุคคล ความมั่นคงของชุมชน และความมั่นคงทางการเมืองซึ่งกลายเป็นมุมมองของโลกยุคใหม่ที่เข้ามาแทนที่ความขัดแย้งจากความรุนแรงของโลกในอดีต
อาจารย์ ดร.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในคณะทำงานเพื่อความสมานฉันท์ชายแดนใต้ ผู้ทุ่มเทเวลากว่าทศวรรษในการทำงานเพื่อยกระดับบทบาทสตรีในพื้นที่ดังกล่าว จนเมื่อเร็วๆ นี้ได้ขึ้นทำเนียบสตรีอาเซียนเพื่อสันติภาพ (ASEAN Women Peace Registry - AWPR) จัดตั้งโดยสถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace and Reconciliation - AIPR) ไปด้วยความภาคภูมิ
ที่ผ่านมาจากการลงพื้นที่วิจัยและบริการวิชาการในชายแดนใต้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และองค์กร Religions for Peace อาจารย์ ดร.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์พบว่ากลุ่มผู้หญิงในชายแดนใต้ยังมีบทบาทไม่มากในการขับเคลื่อนเพื่อความมั่นคงตามแนวคิดการสร้างความเป็นพลเมืองเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขแห่งองค์การสหประชาชาติ จึงได้ใช้กลยุทธ์ในการ "สร้างปฏิสัมพันธ์" เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ซึ่งจะนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นที่เปิดกว้างมากขึ้น
"เราต้องการที่จะเห็นผู้หญิงได้เข้าไปอยู่ในโครงสร้างของสังคมเพื่อการสร้างความมั่นคง และความสมานฉันท์ ในฐานะ"พลเมือง" ที่พร้อมทำหน้าที่เพื่อสังคมด้วยความเสมอภาค" อาจารย์ ดร.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ กล่าว
จุดหมายปลายทางนอกจากเพื่อสร้างความสมานฉันท์ในชายแดนใต้แล้ว ยังมุ่งผลักดันแผนเร่งด่วนระดับชาติในการพัฒนาประเทศเพื่อส่งเสริมบทบาทสตรีไทย ซึ่งประกอบด้วยด้านความเสมอภาคบทบาทในการตัดสินใจ และด้านสุขภาวะที่ไม่อาจมองข้าม
มหาวิทยาลัยมหิดล โดย โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาพร้อมทำหน้าที่ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานฯ แปลงเปลี่ยน "ความขัดแย้ง" สู่"ความมั่นคง" โดยเชื่อมั่นว่าด้วยความเป็นพลเมืองที่รู้จักบทบาทหน้าที่ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม จะนำพาประเทศชาติสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีได้ต่อไปในอนาคต
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไปสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลโทร. 0-2849-6210
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม หรือก่อนเปิดฉากการประชุมทบทวนสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ครั้งที่ 10 ในวันที่ 1 สิงหาคม ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติในนิวยอร์ก ไดซาขุ อิเคดะ ประธานสมาคมสร้างคุณค่าสากล หรือ เอสจีไอ (Soka Gakkai International หรือ SGI) ได้เรียกร้องให้ห้าชาติผู้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ประกาศว่าจะไม่เป็นฝ่ายแรกที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อนเมื่อเกิดความขัดแย้ง ซึ่งเป็นหลักการที่เรียกว่า "No First Use" ปัจจุบัน ความเสี่ยงที่จะมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้ง
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มอบเงินสนับสนุน 1.5 ล้านบาทแก่โครงการอาหารโลก เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเมียนมา
—
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล (ขวา) เลขาธิการแ...
เหล่าไอคอน LGBTQIAN+ ผนึกดารา-ศิลปินดัง ร่วมสร้างปรากฏการณ์เทศกาลระดับโลก
—
"Bangkok Pride Festival" และ "The Celebration : Right to Love 2025" กลุ่มสยามพ...
Ageing Thailand 2025 มหกรรมสุขภาพ เทคโนโลยี และไลฟ์สไตล์ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในประเทศไทย
—
โลกปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการมีอายุย...
"วีบียอนด์" คว้ารางวัล "Climate Action Leader Awards" จาก AFMA (UN FAO) ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่องค์กรสีเขียวอย่างยั่งยืน
—
ดร.วรเดช รุกขพันธุ์ ประธานเจ้าหน้...
"วีบียอนด์" คว้ารางวัล "Climate Action Leader Awards" จาก AFMA (UN FAO) ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่องค์กรสีเขียวอย่างยั่งยืน
—
ดร.วรเดช รุกขพันธุ์ ประธานเจ้าหน้...
ITEL ตอกย้ำบทบาทผู้นำด้านความยั่งยืน คว้ารางวัล Climate Action Leader มุ่งขับเคลื่อน Green Data Center แก้ปัญหาภูมิอากาศ
—
บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จ...
"SAPPE" รับประกาศนียบัตร 'Climate Action Leaders' เวทีผู้นำด้านความยั่งยืน ยึดมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืน พร้อมสนับสนุน Diversity & Equality
—
นางสาวปิยจิ...
เปิดโลกออทิสติก! งานวันรณรงค์ตระหนักรู้ออทิสติกโลก 2025 สัมผัสศักยภาพ "โลกของคนพิเศษ" 5 - 6 เมษายนนี้ ณ มิวเซียมสยาม
—
องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้วัน...