"บล.พาย" สหรัฐฯ รายงาน PCE สูงกว่าตลาดคาดการณ์ เป็นปัจจัยกดดันตลาด

27 Feb 2023

บทวิเคราะห์จาก บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) หรือ "Pi" "พาย" มองว่า ตลาดหุ้น Dow Jones เมื่อคืนวันศุกร์ปิดลบ 1% หลังจากสหรัฐฯรายงาน PCE ประจำเดือน ม.ค. ขยายตัวมากกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปิดบวก 1.1% ได้แรงหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของรัสเซียในเดือนหน้า

"บล.พาย" สหรัฐฯ รายงาน PCE สูงกว่าตลาดคาดการณ์ เป็นปัจจัยกดดันตลาด

คืนวันศุกร์ที่ผ่านมาสหรัฐฯรายงาน PCE (ดัชนีราคาด้านการบริโภค) พบว่าขยายตัว 5.4%YoY สูงกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 5%YoY ขณะที่ Core PCE ขยายตัว 4.7%YoY สูงกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 4.3%YoY รายละเอียดด้านในพบว่าพร้อมกับยอดขายบ้านมือหนึ่งที่ 6.7 แสนหลังคาเรือนสูงกว่า Bloomberg คาดไว้ที่ 6.2 แสนหลังคาเรือน ส่งผลให้นักลงทุนกลับมากังวลกับภาวะดอกเบี้ยในสหรัฐฯอีกครั้งสะท้อนผ่านการแข็งค่าของ Dollar Index และการปรับขึ้นของ US Bond Yield มองเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นเอเชียในต้นสัปดาห์โดยสถิติแล้วระหว่าง CPI , PCE ส่วนต่างระหว่างกันอยู่ที่ 0.5% ส่วนสัปดาห์นี้ติดตาม (1) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐฯในวันอังคาร Bloomberg คาดที่ 108.5 (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคผลิตในวันพุธ (ISM PMI) Bloomberg คาดการณ์ที่ 47.9 ส่วนในประเทศเน้นที่ (1) การรายงานมูลค่าการค้าระหว่างประเทศประจำเดือน ม.ค. โดย Bloomberg คาดการณ์ว่าจะประกาศในช่วงวันที่ 27 ก.พ. - 1 มี.ค. เบื้องต้นประเมินว่าจะติดลบราว 1.1%YoY และนำเข้า -3.4%YoY หากประกาศแล้วต่ำกว่าคาดจะยิ่งเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น (2) โค้งสุดท้ายสำหรับผลประกอบการ 4Q22 ข้อมูลล่าสุดพบว่า SET100 รายงานออกมาแล้วราว 66 หุ้นพบว่า 47% ต่ำกว่า Bloomberg คาดการณ์ 30% เป็นไปตามที่คาดการณ์ 23% ดีกว่าคาดการณ์ Sector ที่ดีกว่าคาดการณ์จะอยู่ใน โรงพยาบาล (BH) สินค้า IT (COM7) สื่อสาร (DTAC) โรงไฟฟ้า (EA GULF) นิคมอุตสาหกรรม (WHA) โรงแรม (MINT) ส่วนอุตสาหกรรมที่ต่ำกว่าคาดจะอยู่ใน Global Play (โรงกลั่น ถ่านหิน ปิโตรเคมี) สัปดาห์นี้ประเมิน SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1600 - 1650 เชิงกลยุทธ์การลงทุนตลาดเริ่มปรับฐานลงมาสอดคล้องกับที่เราแนะนำมาตลอดต่อการถือครองเงินสดและยังคงเน้นการถือครองเงินสดสูงต่อไปเนื่องจากยังมองไม่เห็นปัจจัยบวกและ Valuation ก็ค่อนข้างแพงส่วนรับความเสี่ยงสูงเน้น Trading แนะหุ้นมีปัจจัยบวก อาทิ ท่องเที่ยว (AOT CENTEL ERW MINT SPA SHR VRANDA) สื่อสาร (ADVANC INTUCH) ส่งออก (ASIAN TU) ผลบวกเงินบาทอ่อนค่า โรงไฟฟ้า (BGRIM GPSC GULF RATCH) ตามต้นทุนแก๊สที่ปรับลงต่อเนื่อง

TU (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 23.50 บาท) ด้วยธุรกิจของ TU ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคขณะที่สินค้าในกลุ่มอาหารกระป๋องมีราคาต่อหน่วยที่ไม่สูงนัก เราจึงคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจถดถอยไม่มากนัก นอกจากนี้ในส่วนของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (TU ถือหุ้นใน ITC 78%) ยังคงเห็นการเติบโตได้ต่อเนื่องจากความต้องการที่ยังคงมีอยู่มาก รวมถึงโรงงานใหม่ที่จะเสร็จในช่วงต้นปี 23 จะหนุนความสามารถในการผลิตให้เพิ่มขึ้นได้

VRANDA (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 9.50 บาท) บริษัทรายงานผลประกอบการ 4Q22 มีกำไรสุทธิที่ 18.6 ล้านบาท (+841%QoQ +47%YoY) หนุนจากการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรมตามการผ่อนคลายมาตรการ COVID-19 และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยแนวโน้มการฟื้นตัวจากนี้เชื่อว่าจะดำเนินต่อเนื่องเราคาดการณ์กำไรปี 2023 จะขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ Valuation ยังไม่แพงมากนักซื้อขายเพียง 1.3x เทียบกับโรงแรมขนาดใหญ่อยู่ที่ 4x

"บล.พาย" สหรัฐฯ รายงาน PCE สูงกว่าตลาดคาดการณ์ เป็นปัจจัยกดดันตลาด