นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม.กล่าวกรณีมีข้อวิจารณ์ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้าง Skywalk ย่านบางกะปิ เนื่องจากมีเสาเต็มพื้นที่ทางเท้าว่า การก่อสร้างทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) ในบริเวณดังกล่าวเป็นงานส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างปรับปรุงสะพานข้ามแยกบางกะปิ (สะพานลาดพร้าว - เสรีไทย) เพื่อเป็นทางเดินเชื่อมกับระบบขนส่งมวลชน โดยจะแยกการก่อสร้างเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 ต่อเชื่อมกับทางเดินของสถานีรถไฟฟ้าบางกะปิถึงสะพานลอยคนเดินข้ามห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ความยาว 200 เมตร รูปแบบก่อสร้างมีเสา Skywalk ตั้งอยู่บนทางเท้าเดิม ซึ่งปัจจุบันงานโครงสร้างดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างก่อสร้างพื้นทางเดิน ราวกันตก และงานระบบไฟฟ้า ส่วนการปรับปรุงทางเท้า จะขยายทางเท้าให้มีความกว้างที่เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการสัญจรของประชาชนบริเวณจุดเชื่อมต่อดังกล่าว กำหนดเปิดใช้ในเดือน ส.ค.66 ช่วงที่ 2 ต่อเชื่อมกับสะพานลอยคนเดินข้ามห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ไปตามแนวใต้รถไฟฟ้าสายสีเหลืองถึงสี่แยกลำสาลี ความยาว 600 เมตร กำหนดเปิดใช้ประมาณสิ้นปี 2566 และช่วงที่ 3 ต่อเชื่อมจากสามแยกบางกะปิถึงสะพานลอยคนเดินข้ามท่าเรือวัดศรีบุญเรือง ความยาว 600 เมตร กำหนดเปิดใช้เดือน ก.พ.67 โดยรูปแบบการก่อสร้างในช่วงที่ 2 และช่วงที่ 3 โครงสร้างเสา Skywalk จะอยู่บริเวณเกาะกลางใต้สะพานข้ามทางแยกและแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งไม่กระทบกับพื้นที่ทางเท้าแต่อย่างใด
นอกจากนั้น กทม.ยังได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนก่อสร้างลิฟต์โดยสารบริเวณทางขึ้น - ลง Skywalk เป็นต้นแบบบริเวณสี่แยกบางกะปิและสี่แยกลำสาลี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการและคนชราอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการก่อสร้าง สนย.ได้กำชับผู้รับจ้างให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฝุ่นละอองและมลภาวะ มาตรการความปลอดภัย พร้อมทั้งจัดให้มีจุดทางข้ามและทางเดินชั่วคราวไว้ตลอดแนว เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน ทั้งนี้ เมื่อเปิดใช้งานทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) แล้วจะส่งผลให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งระบบรถไฟฟ้าและการขนส่งทางเรือในคลองแสนแสบ รวมถึงการเดินทางไปติดต่อราชการที่สำนักงานเขตบางกะปิอีกด้วย
นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเข้มงวดตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษทั่วพื้นที่ 50 เขต และแนวทางดำเนินการกรณีพบการก่อสร้างอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษไม่ปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์และข้อกฎหมายที่กำหนด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะการเข้าถึงพื้นที่ของรถดับเพลิง หน่วยกู้ภัย หรือรถพยาบาล หากเกิดเหตุอัคคีภัย หรือภัยพิบัติ ตามที่ประชาชนยื่นเรื่องร้องเรียนต่อสภาองค์กรของผู้บริโภคว่า อาคารสูงและขนาดใหญ่พิ
กทม. แจงปรับเนื้องานปรับปรุงทางเท้าและผิวจราจรถนนรถไฟสายเก่าปากน้ำตามความเหมาะสมการใช้ประโยชน์พื้นที่
—
นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (ส...
กทม. สำรวจอาคารในสังกัด ยันโครงสร้างมั่นคงปลอดภัยจากเหตุแผ่นดินไหว
—
นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการประ...
กทม. แจงย้ายต้นไม้ถนนมิตรไมตรี-ประชาร่วมใจ รองรับขยายถนน-เพิ่มช่องจราจร ยืนยันปลูกคืนหลังแล้วเสร็จ
—
นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย....
กทม. เพิ่มมาตรการควบคุมการซ่อม-ปรับปรุงโครงการก่อสร้าง ตรวจเข้มก่อนรับคืนพื้นที่
—
นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวกรณีพบ...