เหนื่อยนัก ก็พักก่อน แชร์ 7 วิธี ฮีลใจสำหรับวัยทำงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เหนื่อยนัก ก็พักก่อน แชร์ 7 วิธี ฮีลใจสำหรับวัยทำงาน 

เหนื่อยนัก ก็พักก่อน แชร์ 7 วิธี ฮีลใจสำหรับวัยทำงาน

* ทำไม?...การตื่นเช้าไปทำงานมันทรมานจัง* ทำไม?...ฉันทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม* ฉันกำลังเป็นซึมเศร้าหรือป่าวนะ! เหนื่อยนัก ก็พักก่อน แชร์ 7 วิธี ฮีลใจสำหรับวัยทำงาน

ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) ถือเป็นเรื่องปกติที่คนทำงานทุกคนมีโอกาสเป็นได้ แม้เราจะสตรองแค่ไหน แต่ถ้าสะสมความเครียดทีละเล็กละน้อย ก็อาจทำให้สุขภาพจิตเสียและเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ดังนั้นเรามาเริ่มเยียวยาตัวเองให้ผ่อนคลาย มีความสุขเพิ่มขึ้นในทุกๆวัน กับ 7 วิธีง่ายๆ ที่จะฮีลใจตัวเองให้กลับมามีพลังบวกอีกครั้ง คนทำงานอย่างเราๆได้มีแรงกายแรงใจ ก้าวเดินต่อไปในวันข้างหน้า มาลองทำไปด้วยกันนะครับ

  • Exercise ออกกำลังกายเรียกเอ็นโดรฟินหลังจากเลิกงานกันแล้ว ลุกขึ้นมาขยับแขนขยับขากันหน่อย ถ้ามัวแต่ทิ้งตัวลงบนเตียงเป็นผัก จะยิ่งทำให้จิตใจรู้สึกดาวน์ลงให้ลองวิ่งสัก 15 นาที หรือ คาร์ดิโอเบาๆเรียกเหงื่อ สัก 30 นาที พยายามฝืนตัวเองทำดู นอกจากจะเรียกเหงื่อได้แล้ว ยังทำให้เราเปลี่ยนโฟกัส ทิ้งเรื่องที่เครียดมาทั้งวันไปแบบไม่รู้ตัว แถมหลังจากออกกำลังเสร็จร่างกาย จะหลั่งสารสารแห่งความสุข "เอ็นโดรฟิน"ออกมาทำให้รู้สึกมีความสุขคลายเครียดและดีต่อสุขภาพมากๆ เลย
  • Meditate ฝึกนั่งสมาธิให้จิตใจสงบรู้มั้ยครับว่าการนั่งสมาธิให้ได้สักวันละ15 นาที เช้า-เย็น นอกจากจะทำให้จิตใจสงบแล้ว สมองยังแจ่มใส ผ่อนคลายความเครียดลงได้ และส่งผลให้ร่างกายทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นมีงานวิจัยยืนยันแล้วด้วย
  • Work Life Balance แยกเวลางานและเวลาส่วนตัวการที่คนทำงานเกิดความรู้สึกหมดไฟ ส่วนหนึ่งก็มาจากการทำงานหนักจนเกินเวลาส่วนตัว จนทำให้ไม่เวลาพักผ่อนไม่มีเวลาให้กับชีวิตส่วนตัวเลย ดังนั้นต้องแยกให้ออกเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว กำหนดให้ชัดเจน จัดสรรให้ลงตัวให้ได้ เพราะถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ รู้ตัวอีกทีความเครียดจากการทำงานตลอดเวลา ก็ทำลายสุขภาพจิตคุณไปหมดแล้ว
  • Relax พัก ปล่อยใจไปกับสิ่งที่ตัวเองชอบเวลาหลังเลิกงาน ให้ปล่อยใจไปกับสิ่งที่ตัวเองชอบบ้าง เช่น ดูซีรีส์ ดูหนัง ดูละคร ดูอะไรไร้สาระไปเรื่อยเปื่อย หรือจะนอนฟังเพลงเพราะๆชิลล์ๆ จะช่วยให้สมองผ่อนคลายจากความเครียดความเหนื่อยล้าลงได้
  • Positive Thinking เปลี่ยนวิธีคิดแค่เปลี่ยนวิธีคิดชีวิตก็เปลี่ยน หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินคำนี้ การคิดบวกนั้นไม่ใช่การหลอกตัวเอง แต่เป็นการยอมรับและเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเจอเรื่องร้ายหรือดี ก็พร้อมปรับตัว และยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น พยายามมองหาข้อดีของทุกอย่างคนที่มี Positive Thinking จะเป็นคนที่มีความสุขมากหากใครได้อยู่ใกล้ๆก็จะพลอยได้รับพลังงานบวกและมีความสุขไปด้วย
  • Travel ออกเดินทางเปิดมุมมองใหม่ๆการเดินทางเป็นการเยียวยาตัวเองได้เป็นอย่างดี เพราะเราจะได้มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น ไปในที่ที่ไม่เคยไป ไปสัมผัสเรื่องราวระหว่างการเดินทาง อยู่เงียบๆท่ามกลางธรรมชาติ ทะเล ภูเขา ได้ยินเสียงตัวเองมากขึ้น การเดินทางนอกจากจะให้ประสบการณ์มากมายกับเราแล้ว ยังทำให้เราทิ้งและปล่อยวางความเครียดทุกอย่างลงได้
  • พูดคุยระบายกับคนที่ไว้ใจได้ หรือปรึกษาจิตแพทย์

เมื่อมีความรู้สึกไม่สบายใจ หรือเครียดจากงาน หาทางออกไปเจอกับปัญหาอาจลองคุยกับเพื่อนหรือคนรอบข้างดูก่อน การพูดคุยระบายกับคนที่พร้อมรับฟังคนที่ไว้ใจได้อาจช่วยให้เราสบายใจขึ้นเพราะอย่างน้อยๆ ก็ทำให้เราไม่ต้องแบกความรู้สึกไว้ทั้งหมดคนเดียวอีกทางเลือกหนึ่งคือการพบจิตแพทย์การพบจิตแพทย์ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะการพูดคุยปรึกษาและรับคำแนะนำที่ดีจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้เรากลับมาเป็นคนที่มีแรงบันดาลใจ มีไฟในการทำงานอย่างเต็มเปี่ยมอีกครั้ง

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการฮีลใจที่นำมาฝาก ยังไง! ก็ลองนำไปใช้และทำให้ติดเป็นนิสัยกันดูนะครับที่สำคัญคือการจัดการความเครียด อะไรที่หนักเกินไปก็วางบ้าง อย่าลืมยิ้มหัวเราะให้ได้ในทุกๆวัน สร้างรอยยิ้มจากเรื่องเล็กๆรอบตัวให้ได้ แค่นี้คุณก็จะมีไฟในชีวิตการทำงานมากขึ้นและรู้สึกมีความสุขมากขึ้นอย่างแน่นอนครับ...

 


ข่าวโรคซึมเศร้า+สุขภาพจิตวันนี้

ซึมเศร้า - แพนิค - วิตกกังวล วิธีแยกอาการ และแนวทางการรักษา

ทุกวันนี้ คำว่า "ซึมเศร้า" "แพนิค" และ "วิตกกังวล" ถูกพูดถึงกันมากขึ้น แต่หลายคนยังแยกไม่ออกว่าตัวเอง หรือคนใกล้ชิด กำลังเผชิญกับอาการแบบไหนกันแน่ อาการทั้ง 3 แบบนี้ แม้จะมีความคล้ายคลึงในเรื่องความเครียดและภาวะอารมณ์ แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน และต้องการแนวทางการดูแลรักษาที่เหมาะสม วันนี้โรงพยาบาลสุขภาพจิต BMHH ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอาการทั้ง 3 ให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ โรคซึมเศร้า (Depression) สัญญาณสำคัญ: รู้สึกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง ต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ หมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ

ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญ... ทำไมความเศร้าบางครั้งอาจไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า? รู้จัก "โรคไบโพลาร์" ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ — ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตใ...

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจแล... ต้องทานยาไปตลอดชีวิตไหม? มาทำความเข้าใจการรักษาโรคซึมเศร้ากันเถอะ — โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลก แม้ว่...

สถานการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทยจากรายงานสำน... การพัฒนาแอปพลิเคชัน "PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน" — สถานการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทยจากรายงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภาวะด้านสังคม...

โรคซึมเศร้าเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตป... จิตใจที่ดีกว่าเริ่มต้นที่ศิลปะและเสียงเพลง วิธีบำบัดซึมเศร้าที่คุณอาจไม่รู้! — โรคซึมเศร้าเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและความสุขของผู้คนในทุกช่วง...

สถิติสุขภาพจิตในประเทศไทยประจำปี 2567 จาก... สุขภาพจิตในที่ทำงาน สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้า — สถิติสุขภาพจิตในประเทศไทยประจำปี 2567 จากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประช...

โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช BMHH หรือ Ban... BMHH พร้อมเปิดนวัตกรรมทางเลือกใหม่ dTMS รักษาโรคซึมเศร้า — โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช BMHH หรือ Bangkok Mental Health Hospital เปิดนวัตกรรมการรักษาโรคซึม...

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น ... โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม — วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น "วันสุขภาพจิตโลก" (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้...

คนไทยป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากกว่า 1 ล้านคน ... ร้านยาท็อปส์แคร์ เปิดบริการใหม่ "Mind Care Service" รับปรึกษาปัญหาสุขภาพใจ - รับยา - ครบจบที่เดียว — คนไทยป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากกว่า 1 ล้านคน ร้านยาท็อปส์...