ม.มหิดลวิจัยสู่ความยั่งยืน เสริมงานวิจัยพื้นฐาน ผสานสู่ประโยชน์เพื่อมวลมนุษยชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

บทบาทของนักวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยท่ามกลางสังคมและเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง การทำงานวิจัยต้องตอบโจทย์และแก้ปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงรวมถึงสามารถต่อยอดนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน

ม.มหิดลวิจัยสู่ความยั่งยืน เสริมงานวิจัยพื้นฐาน ผสานสู่ประโยชน์เพื่อมวลมนุษยชาติ

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงบทเรียนที่ผ่านมาซึ่งพบว่าการเตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์ด้วยการทำวิจัยที่เป็น "พื้นฐาน" แม้จะต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล แต่เมื่อถึงเวลาต้องใช้จริง อย่างเช่นในวิกฤติที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาด ก็สามารถนำความรู้ที่สั่งสมมาจากการทำวิจัยที่เป็นพื้นฐานที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มาผลิตวัคซีน หรือยารักษาโรคได้อย่างรวดเร็ว ม.มหิดลวิจัยสู่ความยั่งยืน เสริมงานวิจัยพื้นฐาน ผสานสู่ประโยชน์เพื่อมวลมนุษยชาติ

สิ่งสำคัญที่สุดคือ "การสร้างงานวิจัยที่มี "คุณภาพ" สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อสร้างคุณค่า ต้องมองโจทย์แบบ"Outside In" ที่รับเอาปัญหาความต้องการ และโอกาสจากภายนอกเข้ามาเป็นโจทย์วิจัย หาทางแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ และสร้างทางออกที่นำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาได้ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว หากงานวิจัยทำแบบ "Inside Out" โดยการสร้างโจทย์วิจัยเอง โดยไม่มีพื้นฐานของสังคมและเศรษฐกิจที่มองไปข้างหน้า อาจจะไม่สามารถต่อยอดไปใช้ประโยชน์ได้จริง" ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน กล่าว

ในฐานะที่มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเปรียบเสมือน "ขุมพลังทางความคิด" เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศสู่ความก้าวหน้า ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ ต้องอาศัยองค์ความรู้จากงานวิจัยที่มีคุณภาพ

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน มองว่ามหาวิทยาลัยไม่ได้วางตัวเองเป็น "ผู้ผลิต" แต่เป็น "ผู้สร้าง" ทั้ง "องค์ความรู้ใหม่" และ "บัณฑิตที่จะไปสร้างงานต่อยอดในอนาคต" ตลอดจนทำให้เกิด "ความร่วมมือ" ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงประสานภาคการผลิตและชุมชน เพื่อให้เกิดวงจรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดคุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้ลงทุนไปในทุกงานวิจัย

มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ด้วยการสร้างงานวิจัย และนักวิจัยที่มีคุณภาพ เราไม่ได้แข่งขันกับใคร แต่ต้องแข่งกับตัวเอง ที่จะผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณค่ายิ่งขึ้นกว่าเดิม สร้างพันธมิตรกับองคาพยพของสังคมที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกันด้วยเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

 


ข่าวนายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุน พสวท. ปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ "SEE THE SEA : ค้นหาทะเล ค้นหาตัวตน"ระหว่างวันที่ 28 เมษายน-3 พฤษภาคม 2568 ณ สิริน พลา รีสอร์ท แอนด์ เรสเทอร์รองท์ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานในพิธีเปิด รวมทั้งรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้... วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School — มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...

"เชื้อแบคทีเรียดื้อยา" ยังคงเป็นปัญหาทางส... ม.มหิดลชี้วิจัยเชื้อดื้อยาแบบสหสาขาวิชา เสริมความมั่นคงสาธารณสุขโลก — "เชื้อแบคทีเรียดื้อยา" ยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่คอยคุกคามความมั่นคงของโลกอย่างต่...

จากความสำเร็จในการวิจัยผลิตภัณฑ์อาหารทางก... ม.มหิดล ถอดบทเรียนนวัตกรสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์จากข้าวไทย ผ่านระบบออนไลน์ 23 มี.ค.นี้ — จากความสำเร็จในการวิจัยผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์จากข้า...

วิกฤติ COVID-19 ได้ให้บทเรียนไว้คอยกระตุ้... ม.มหิดล พร้อมร่วมวิจัยสร้างสรรค์นวัตกรรมสู้วิกฤติ COVID-19 — วิกฤติ COVID-19 ได้ให้บทเรียนไว้คอยกระตุ้นเตือนให้ทุกคนใช้ชีวิตกันอย่างมีสติ โดย COVID-19 ไม่...

นักวิจัยในโลกยุคดิสรัปชันเช่นปัจจุบัน สร้... ม.มหิดล สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์โลกแห่งอนาคต — นักวิจัยในโลกยุคดิสรัปชันเช่นปัจจุบัน สร้างสรรค์นวัตกรรมโดยมองถึงผลกระทบ (impact) ที่จะเกิดขึ้นในอน...

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันบริหารจัดการเท... ม.มหิดล เปิด “ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม" (MICC) เชื่อมต่อนักวิจัยสู่โลกธุรกิจ — มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) กำหนดเ...