ผู้นำและนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกประชุมที่ปารีส 27-29 มิถุนายน ถกประเด็นการวิจัยขั้นพื้นฐานสามารถบุกเบิกแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาท้าทายระดับโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เจ้าภาพร่วม:
องค์กรระหว่างประเทศ ฮิวแมน ฟรอนเทียร์ ไซเอนซ์ โปรแกรม ( International Human Frontier Science Program Organization) และกระทรวงการอุดมศึกษาและการวิจัยของฝรั่งเศส

ในความอุปถัมภ์ของ
นายเอมานูว์แอล มาครง
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

เริ่มถ่ายทอดสดออนไลน์เวลา 13.15 น. วันที่ 27 มิถุนายน 2566 (CEST) ที่
https://youtube.com/live/tRqXQSNh-YY?feature=share 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.hfsp.org/paris-summit-program  

การประชุม "ชีววิทยาศาสตร์พื้นฐานเพื่อสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน" (Fundamental Life Science Meets Climate, Environment, and Sustainability) ได้เชิญบรรดาผู้นำและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกมาสร้างความร่วมมือใหม่ ๆ และเสนอแนะแนวทางที่เป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาท้าทายระดับโลก เนื่องในปีสากลแห่งวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (U.N. International Year of Basic Sciences for Sustainable Development)

การประชุมสุดยอดระดับสูง วันที่ 27 มิถุนายน ณ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส (French Academy of Sciences)

  • นัยของนโยบายวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการใช้วิทยาศาสตร์พื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
  • การเชื่อมโยงชุมชนวิทยาศาสตร์เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • การระดมทุนทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่

การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์นานาชาติ วันที่ 28 และ 29 มิถุนายน ณ หอประชุม อองเดร แอนด์ ลีลีอาน เบตตองกูร์ (Auditorium Andre and Liliane Bettencourt)

  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ
  • ความหลากหลายทางชีวภาพในมหาสมุทรและทรัพยากรที่ใกล้สูญพันธุ์
  • ความมั่นคงทางอาหารท่ามกลางโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง
  • การเปลี่ยนผ่านระดับบุคคล สถาบัน และสังคม
  • วิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบสามารถเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาท้าทายระดับโลก

สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
ภาษาอังกฤษ: คุณราเชล บิชอป (Rachael Bishop) อีเมล: [email protected] โทร: +33 (0)7 81 87 62 21

ภาษาฝรั่งเศส: คุณเอเลน บูลองเช่ (Helene Boulanger) อีเมล: [email protected] โทร: +33 (0) 66 88 79 31 67

หากต้องการเข้าร่วมงานด้วยตนเอง กรุณาติดต่อเพื่อลงทะเบียนตามข้อมูลข้างต้น

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ขององค์กรระหว่างประเทศ ฮิวแมน ฟรอนเทียร์ ไซเอนซ์ โปรแกรม ที่ https://www.hfsp.org/paris-summit-symposium หรือรับชมวิดีโอเกี่ยวกับงานได้ที่ https://www.hfsp.org/paris-summit-symposium-multimedia ทั้งนี้ พันธมิตรของงานประกอบด้วย องค์การวิจัยแห่งชาติฝรั่งเศส (French National Research Agency), สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส (French Academy of Sciences), ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Center for Scientific Research), สถาบันปาสเตอร์ (Institut Pasteur), สภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Science Council), ห้องปฏิบัติการอณูชีววิทยาแห่งยุโรป (European Molecular Biology Laboratory) และยูเนสโก (UNESCO)

ฮิวแมน ฟรอนเทียร์ ไซเอนซ์ โปรแกรม ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2532 เพื่อพัฒนาการวิจัยและการฝึกอบรมด้านชีววิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการฝึกอบรมระหว่างทวีปในด้านการวิจัยแบบสหวิทยาการที่ทันสมัย ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ชีววิทยาศาสตร์ โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลหรือสภาวิจัยของประเทศออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา รวมถึงคณะกรรมาธิการยุโรป โปรแกรมนี้มอบทุนวิจัยร่วมและทุนวิจัยหลังปริญญาเอกมากกว่า 4,500 ทุน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักวิทยาศาสตร์กว่า 7,500 คนทั่วโลก และนับตั้งแต่เริ่มโปรแกรม มีผู้ได้รับทุนรวม 28 คนที่สามารถคว้ารางวัลโนเบลมาครอง

องค์กรระหว่างประเทศ ฮิวแมน ฟรอนเทียร์ ไซเอนซ์ โปรแกรม
ที่อยู่ 12 Quai Saint-Jean, Strasbourg, France
เว็บไซต์ www.hfsp.org | โทร: +33-(0)3 88 21 51 23 | ทวิตเตอร์ @HFSP | เฟซบุ๊ก
#LifeScience4Sustainability
#LS4S

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/2129669/HFSP_logo.jpg 


ข่าวกระทรวงการอุดมศึกษา+เอมานูว์แอล มาครงวันนี้

เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล

ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ดึงโมเดลศักยภาพองค์กรนวัตกรรม ผสานการเพิ่มผลิตภาพช่วยเอสเอ็มอีไทยด้วยผู้เชี่ยวชาญประเมินองค์กรปรับสมรรถนะลึกรายบุคคล กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (FTPI) และ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด (TRIS) เดินหน้าพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม ในการยกระดับศักยภาพด้านนวัตกรรมควบคู่กับการเพิ่มผลิตภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อเติบ

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการ... วช. ขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ 'ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5' มุ่งลดฝุ่นพิษภาคเหนืออย่างยั่งยืน — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยา...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...