ป.ป.ช. เร่ง มาตรการป้องกันทุจริตรถบรรทุกน้ำหนักเกิน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สำนักงาน ป.ป.ช. เร่งเครื่องติดตามหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ให้เดินหน้ามาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินอย่างจริงจัง ย้ำ ไม่ปล่อยผ่าน หากพบเจ้าหน้าร่วมรู้เห็นรับส่วยสติกเกอร์ตามที่เป็นข่าว เผย ไม่นิ่งนอนใจ ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามรวบรวมพยานหลักฐาน เชื่อ หากมีมาตรการเข้มข้น นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการชั่งน้ำหนัก จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องส่วยได้ ที่สำคัญ คือ ธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว

ป.ป.ช. เร่ง มาตรการป้องกันทุจริตรถบรรทุกน้ำหนักเกิน

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า ในเรื่องของการติดตาม ควบคุม และลดปัญหาการทุจริตรถบรรทุกน้ำหนักเกิน เป็นเรื่องที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เสนอมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 เพื่อเป็นมาตรการในการแก้ไขปัญหา เพราะเล็งเห็นว่าทำให้เกิดความเสียหายต่อทางหลวงแผ่นดินและถนนหมดอายุการใช้งานก่อนช่วงเวลาที่ได้ออกแบบไว้ ทำให้ภาครัฐต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมากในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาถนน และยังเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตดังกล่าว ตามที่ ป.ป.ช.เสนอ และกำหนดให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับข้อเสนอแนะนำไปดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งประกอบด้วย 6 ประเด็นสำคัญ ได้แก่

1. การบังคับใช้กฎหมายให้สามารถเอาผิดและลงโทษผู้ประกอบการที่บรรทุกน้ำหนักเกินได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 84

2.พิจารณาการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MoU) ในการควบคุม กำกับ ดูแลถนนในแต่ละเขตความรับผิดชอบอย่างบูรณาการ

3.จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย

4.ให้มีการออกมาตรการให้รถบรรทุกมีใบชั่งระบุน้ำหนักบรรทุกตั้งแต่ต้นทาง โดยเครื่องชั่งที่ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานจากสำนักงานกลางชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์ การควบคุมน้ำหนักที่ต้นทางให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และรถบรรทุกต้องจัดให้มีป้ายแสดงน้ำหนักที่บรรทุกจริงขณะวิ่งด้วย พร้อมทั้งสร้างช่องทางให้ประชาชนแจ้งเบาะแสเมื่อพบผู้กระทำความผิด

5.ผลักดันการนำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินการ เช่น เทคโนโลยีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกโดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ความเร็วสูง (High-speed weigh-in-motion: HSWIV)              และเทคโนโลยีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกชนิดติดตั้งใต้สะพาน (Bridge weigh-in-motion: BVIM) มาใช้ในการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกิน เพื่อลดปฏิสัมพันธ์และการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการชั่งน้ำหนัก

6.เพิ่มมาตรการการกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่มีปัญหาการทุจริต

จากการติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อเสนอแนะข้างต้น กระทรวงคมนาคม ได้มีการกำหนดเป็นมาตรการระยะสั้น และมาตรการระยะยาวเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ อาทิ มีการจัดหลักสูตรอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ให้เข้าใจเกี่ยวกับการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกิน, กรมทางหลวงได้จัดทำ MoU ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการกับรถบรรทุกที่กระทำผิดอย่างเข้มงวด, นำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินการ ซึ่งปัจจุบันกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทได้มีการนำระบบเทคโนโลยีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกโดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ความเร็วสูง (High-speed weigh-in-motion: HSWIV) และเทคโนโลยีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกชนิดติดตั้งใต้สะพาน (Bridge weigh-in-motion: BVIM) มาใช้แล้ว แต่ยังขาดการรับรองเครื่องชั่งน้ำหนักจากสำนักงานกลางชั่งตวงวัดเพื่อให้สามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้ โดยกระทรวงคมนาคมได้มีแนวทางในการพิจารณารายละเอียดการบันทึกน้ำหนักโดยเครื่องชั่งน้ำหนักขณะรถเคลื่อนที่ หรือ WIM ทุกรูปแบบ และรูปถ่ายจากกล้อง CCTV เพื่อให้สามารถเป็นเครื่องมือตรวจจับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เพื่อศึกษาวิจัยความพร้อม และความเที่ยงตรงของเทคโนโลยีก่อนนำมาเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบจับกุมในอนาคต และจะดำเนินการตั้งหน่วยชั่งน้ำหนักยานพาหนะเคลื่อนที่ (Spot Check) เพื่อป้องกันรถบรรทุกหลีกเลี่ยงการเข้าจุดชั่งน้ำหนัก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สำนักงาน ป.ป.ช. ได้เร่งผลักดันให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงรุกเพื่อป้องกันการทุจริตรถบรรทุกน้ำหนักเกิน เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลเสียกับประเทศชาติ ซึ่งไม่ได้เพียงแต่เรื่องของการบรรทุกน้ำหนักเกิน ยังรวมไปถึงเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้ขับขี่บนท้องถนนด้วย อาทิ การที่รถบรรทุกหนักวิ่งช้าแต่วิ่งเลนขวาสุดตลอดทาง ทำให้รถเล็กที่มีความเร็วมากกว่าต้องขับแซงซ้ายซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เป็นต้น ในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ก็เป็นสิ่งที่ต้องกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจตรากวดขัน บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงกำชับไปยังเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ควรยึดมั่นในการปฏิบัติงานด้วยความสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ และส่วนตัวเชื่อว่า จากกรณีที่เป็นข่าวส่วยสติกเกอร์ น่าจะมีเจ้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานที่ร่วมแก้ปัญหาทุจริตรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ควรมีการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในกระบวนการติดตามตรวจสอบ เพราะนอกจากจะมีความแม่นยำแล้ว ยังช่วยลดดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะเป็นการปิดช่องโหว่ของการทุจริตคอร์รัปชันได้


ข่าวป้องกันการทุจริต+ธรรมาภิบาลวันนี้

บัญชี SPU! เปิดโลกบัญชีสู่นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคตรัง! สอนเจาะลึก สอบบัญชี ตรวจสอบภายใน และป้องกันการทุจริต

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจกรรมบริการวิชาการสู่สังคม ด้วยการให้ถ่ายทอดความรู้ ผ่านรูปแบบออนไลน์ ในหัวข้อ "การสอบบัญชี ตรวจสอบภายใน และการตรวจสอบการทุจริต" โดยมี อาจารย์ถิรวุฒิ ยังสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิตและอาจารย์กิตติยา จิตต์อาจหาญ อาจารย์คณะบัญชี SPU เป็นวิทยากร เพื่อถ่ายทอดความรู้ และส่งเสริมการพัฒนาทักษะความรู้ด้านบัญชี พร้อมแชร์เทคนิคต่างๆให้แก่นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคตรัง ผ่าน ZOOM ONLINE นอกจากนี้นักศึกษาที่ผ่านการอบรมจะได้รับเกียรติบัตรอีกด้วย

บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด โดยฝ่ายบริหารความเ... ทรูมันนี่ รับโล่ประกาศเกียรติคุณ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปี 2566 — บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด โดยฝ่ายบริหารความเสี่ยงและป้องกันการทุจริต รับมอบโล่ประกาศ...

บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด โดยฝ่ายบริหารความเ... ทรูมันนี่ รับโล่ประกาศเกียรติคุณ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปี 2566 — บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด โดยฝ่ายบริหารความเสี่ยงและป้องกันการทุจริต รับมอบโล่ประกาศ...

เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบนโยบายเชิงร... เลขาธิการฯ ป.ป.ช. วางนโยบายพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสให้หน่วยงานรัฐ สอดรับปีงบประมาณ 2567 — เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบนโยบายเชิงรุกแนวทางการพัฒนาการปร...

ขอนแก่น เฝ้าระวังความเสี่ยงทุจริตในงบบริห... ป.ป.ช. ขอนแก่น ขับเคลื่อนงานเชิงรุก ติดตามเฝ้าระวังทุจริตใน อปท. — ขอนแก่น เฝ้าระวังความเสี่ยงทุจริตในงบบริหารจัดการ อปท. เดินหน้าเชิงรุก ลงพื้นที่ ร่วมรั...

ผู้เข้าอบรมหลักสูตร นยปส.รุ่นที่ 14 สำนัก... เชิญรับฟังเวทีสัมมนาสาธารณะ ในวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 — ผู้เข้าอบรมหลักสูตร นยปส.รุ่นที่ 14 สำนักงาน ป.ป.ช. ขอเชิญร่วมรับฟัง เวทีสัมมนาสาธารณะ "ยุทธศาส...

นางสาวอำภา นรนาถตระกูล ผู้อำนวยการสำนักกา... กทม.กำชับหน่วยงานในสังกัดดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยความคุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ — นางสาวอำภา นรนาถตระกูล ผู้อำนวยการสำนักการคลัง (สนค.) กทม.กล่าวถึงมาต...