ม.มหิดล - UNDP เตรียมขยายผลวิจัยเพื่อความเข้าใจหลากหลายทางเพศสู่นโยบาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สิ่งที่ยากจะเปลี่ยนแปลง คือ "ค่านิยม" ของคนในสังคม จึงนับเป็นความท้าท้ายสำหรับนักวิชาการไทยในการสร้างสรรค์งานวิจัยที่จะนำไปสู่การเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจรอช้า

ม.มหิดล - UNDP เตรียมขยายผลวิจัยเพื่อความเข้าใจหลากหลายทางเพศสู่นโยบาย

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) และประธานสาขาการจัดการ

ที่ยั่งยืน (Managing for Sustainability) วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้เปิดเผยถึงการต่อยอดโครงการวิจัยสร้างเครื่องมือเพื่อความเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายทางเพศ (Gender Toolkit for LGBTQ+ in Business)

โดยเริ่มต้นศึกษาจากภาคธุรกิจ เพื่อทลายกำแพงอุปสรรคของการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารของพนักงานที่มีความแตกต่างหลากหลายทางเพศ และจะได้มีการปรับใช้กับการบริหารจัดการของภาครัฐเพื่อมุ่งผลักดันสู่ระดับนโยบายต่อไป

เป็นโครงการวิจัยที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDG5 แห่งสหประชาชาติ ที่ว่าด้วยความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) ที่อาจส่งผลต่อการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งมีการเปิดกว้างในด้านดังกล่าวที่ชัดเจนกว่าในระดับชาติ

เครื่องมือเพื่อความเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายทางเพศที่สร้างนี้ จัดทำเป็น "คู่มือ" โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้ในการบริหารบุคลากร สร้างความเข้าใจ ให้เกิดการยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย และปฏิบัติต่อ "เพศทางเลือก" โดยคำนึงถึง "ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์" ซึ่งรวมถึงการออกกฎระเบียบ และสวัสดิการต่างๆ ด้วยความเท่าเทียมกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา มองว่าในการปรับเปลี่ยนจำเป็นต้องพิจารณาของบริบทของสังคมไทย ที่ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบบ "อนุรักษ์นิยม" ซึ่งการ "มุ่งผลในระยะยาว" อาจต้องทำแบบ "ค่อยเป็นค่อยไป" ก่อนขยายผลให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างสมบูรณ์ในระดับนโยบาย และคาดว่าด้วย "พลังของคนรุ่นใหม่" จะทำให้การปรับตัวเพื่อการสร้าง "ค่านิยม" ให้เกิดการยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางเพศตามการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไปไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อเร็วๆ นี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล จากการสามารถคว้ารางวัล

Innovations that Inspire จากผลงาน "Gender Toolkit for LGBTQ+ in Business" ที่ได้ส่งเข้าประกวดในโครงการ2023 Innovations that Inspire จัดโดย สถาบันการรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านการบริหารธุรกิจ

และการบัญชีในระดับสากล (AACSB - Association to Advance Collegiate Schools of Business)

ก้าวต่อไป เตรียมพัฒนาสู่การจัดตั้งขึ้นเป็นหลักสูตร ภายใต้ความร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development: UNDP) ประเทศไทย โดยหวังปลูกฝังคนไทยรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความเข้าใจในวิถีของการอยู่ร่วมกันในสังคมโดย "ไม่เลือกปฏิบัติ" ด้วยจิต

สำนึกแห่งการเคารพใน "ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์"

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210


ข่าวการพัฒนาที่ยั่งยืน+วิทยาลัยการจัดการวันนี้

ม.มหิดลชูแนวคิดเกษตรยั่งยืน 'Resilience Agriculture’ สร้าง 'เศรษฐกิจชุมชน’ ก่อนก้าวสู่ 'เศรษฐกิจโลก’

แม้ไทยจะได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) มานานนับศตวรรษ โดยเริ่มต้นที่ด้านสาธารณสุข แต่ด้วยสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (Climate Change) ทำให้โลกในยุคปัจจุบันได้ขยายขอบเขตสู่ “การเกษตรและสิ่งแวดล้อม” ที่จะทำให้โลกยั่งยืนได้ต่อไปอย่างแท้จริง ภายใต้แนวคิด “Resilience Agriculture” รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) และประธานสาขาการจัดการที่ยั่งยืน (Managing for Sustainability) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ... อ.ส.ค. มอบรางวัลการประกวดโคนม ครั้งที่ 40 ยกระดับการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรไทย — องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จัดการประกวดโคนมระดับประเทศใ...