ครั้งแรกในไทย! มทร.ล้านนา พัฒนา "เซนเซอร์" ระบบเตือนภัยไฟป่าแบบเรียลไทม์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

มทร.ล้านนา ผุดนวัตกรรม "เซนเซอร์" ระบบเตือนภัยไฟป่าแบบเรียลไทม์ แจ้งพิกัดไฟป่า ป้องกันไฟลุกลามทำลายผืนป่า พร้อมลดการสูญเสียเจ้าหน้าที่ ช่วยแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 เดินหน้าพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้งานง่ายขึ้น และราคาถูก หวังติดตั้งระบบช่วยดับไฟป่าทั่วประเทศ

ครั้งแรกในไทย! มทร.ล้านนา พัฒนา "เซนเซอร์" ระบบเตือนภัยไฟป่าแบบเรียลไทม์

ศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ล้านนา เปิดเผยว่ามทร.ล้านนา เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยที่ได้มีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และดูแลพื้นที่ทางภาคเหนือตอนบน ซึ่งมีปัญหายาวนานเรื่องของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และการเผาไฟป่า มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการสร้าง 'นวัตกรรมเพื่อชุมชน' ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการแก้ปัญหาไฟป่า ครั้งแรกในไทย! มทร.ล้านนา พัฒนา "เซนเซอร์" ระบบเตือนภัยไฟป่าแบบเรียลไทม์

 "ศูนย์วิจับระบบพลังงานสะอาด มทร.ล้านนา ได้ดำเนินโครงการวิจัย "ลมหายใจเชิงดอย : การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการทำงานให้บริการสาธารณะ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะ ประชาชนของเครือข่ายเทศบาลลุ่มน้ำแม่กวงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์ม การเตือนภัยจุดที่มีความร้อน" อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้มีการพัฒนาระบบเซนเซอร์ เตือนภัยจุดที่มีความร้อน ทำให้สามารถรู้พิกัดจุดเกิดไฟป่า รวมถึงลดปริมาณการเข้าไปในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย เพราะที่ผ่านมา เมื่อไม่มีระบบเซนเซอร์ เวลาเกิดไฟป่า จะมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตจากการเข้าไปดับเพลิงจำนวนมาก เพราะไม่รู้ทิศทางของลม และไม่สามารถหนีออกมาทันได้" ศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ "ระบบเซนเซอร์" ที่พัฒนาขึ้น เป็นการแจ้งเตือน และรู้พิกัดไฟป่า จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดับเพลิงได้ทันควบคุมการลามของไฟป่าได้ รวมถึงเป็นการลดปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 อันเกิดจากไฟป่า โดยหลังจากนี้จะพัฒนาระบบเซนเซอร์ที่มีราคาไม่เกิน 100 บาท เป็นการใช้แบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งาน 2-3 ปี เมื่อแบตเตอรี่หมดก็สามารถนำกลับมาเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้

ศ.ดร.จัตตุฤทธิ์  กล่าวต่อว่าปัจจุบันยังไม่มีระบบเซนเซอร์แจ้งเตือนไฟป่าแบบเรียลไทม์ ซึ่งระบบดังกล่าวยังคงต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้น ประหยัดมากขึ้น และติดตั้งได้ตามพื้นที่ต่างๆ ในป่า เพราะการที่รู้ตำแหน่งเกิดไฟป่าอย่างชัดเจน จะช่วยให้ป่าไม่ถูกทำลาย ประเทศของเราก็จะมีป่าไม้มากขึ้น ช่วยแก้ปัญหามลพิษ และสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้ง จะมีการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึง และร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน

"มทร.ล้านนา ไม่ได้เพียงคิดค้นพัฒนานวัตกรรมชุมชน เพื่อแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ชีวิตความปัญหา ฝุ่นละออง PM2.5 ปัญหาสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่จะมีการถ่ายทอดนวัตกรรม เทคโนโลยี องค์ความรู้ให้แก่ชุมชนร่วมด้วย โดนเฉพาะการสร้างเด็กและเยาวชนให้มีองค์ความรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีในการช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่ของพวกเขา"รักษาราชการแทนอธิการบดีมทร.ล้านนา กล่าว

อย่างไรก็ตาม มทร.ล้านนาได้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ และชุมชน ในการดำเนินการเกี่ยวกับไฟป่าผ่านโครงการต่างๆ มากมาย อาทิ โครงการ Smoke Watch ซึ่งเป็นการออกแบบระบบแอปพลิเคชัน สำหรับผู้ใช้จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.จุดความร้อน VIIRS Hotspot 2.แจ้งการเกิดไฟ 3.สถิติรายงานการแจ้งไฟ และ 4.แผนที่แสดงการแจ้งไฟ และมีการแจ้งเตือน แสดงผลเฉพาะจุดความร้อน VIIRS ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย  เป็นต้น.


ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชวันนี้

"นวัตกรชุมชน" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนไทยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับโครงการสังเคราะห์และขับเคลื่อนแพลตฟอร์มสร้างรายได้ครัวเรือนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนสู่การใช้ประโยชน์และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน. ร่วมกันจัดการประชุมและนิทรรศการเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนพื้นที่ "นวัตกรชุมชน: เทคโนโลยีที่เหมาะสมขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนไทย" ภายใต้แนวคิด "พลังสร้างสรรค์ จากนวัตกรชุมชน สู่อนาคตที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม" ดร.กิตติ

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... นักศึกษา มทร.กรุงเทพ เดินสายกวาดรางวัล โชว์ศักยภาพในการแข่งขันหลากหลายเวที — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) กรุงเทพ เปิ...

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพติดอาวุธบุคลากรสู่การเป็นผู้นำเข้มแข็ง — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)กรุงเทพ กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ท...

ดร.เศรษฐา วีระธรรมานนท์ อาจารย์ประจำสาขาว... มทร.กรุงเทพ หนุนผลิตละครแนวตั้ง ดัน Soft Power ไทยสู่สากล — ดร.เศรษฐา วีระธรรมานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเท...

หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ... มทร.ธัญบุรี เจ๋ง! คิดค้นกระถางรักษ์โลกจากวัสดุชีวมวล สร้างรายได้ ลด PM 2.5 — หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห...

รศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทน อธ... "มทร.ล้านนา" ประเมินความเสียหาย พร้อมจัดทำคู่มือข้อปฏิบัติรับมือแผ่นดินไหว — รศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้...

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... inFASH มทร.กรุงเทพ ระดมสมองวิเคราะห์แนวโน้มสีและวัสดุไลฟ์สไตล์ ปี 2027 — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล( มทร.)กรุงเทพ เปิดเผยว...