กลุ่ม 'Eastern Cancer Network' หรือ ECN เครือข่ายการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดย 4 สถานพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลไทยนครินทร์, โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์, โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา (CAH) และสหคลินิกฉะเชิงเทรา(SCC) จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันมะเร็งโลก (World Cancer Day 2024) สอดรับธีม 'Close The Care Gap' สร้างความตระหนักรู้ ใส่ใจความเสี่ยง เพื่อปิดช่องว่างและเติมเต็ม ทุกการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง พร้อมสร้างการรับรู้ทุกสิทธิรักษาพยาบาลสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพได้ ผ่าน 4 สถานพยาบาลในเครือข่าย
ศ.คลินิก นพ.ทิพชาติ บุณยรัตพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลไทยนครินทร์ กล่าวว่า "มะเร็งคือโรคร้ายอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนมากมาย จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งได้ ซึ่งกระบวนการรักษามะเร็งมีหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด เคมีบำบัด ใช้ยามุ่งเป้า ยาภูมิคุ้มกัน และการฉายรังสีรักษา มะเร็งหลายชนิดจำเป็นต้องฉายรังสีรักษาเพื่อหยุดการลุกลาม และเพื่อป้องกันไม่ให้มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ ดังนั้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทันสมัย การที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความสำคัญมากในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้ และเนื่องจากสิทธิการรักษาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงทำให้มีผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมาก ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงการรักษามะเร็งที่สะดวกและมั่นใจ และมีสิทธิคุ้มครองการรักษาที่ดี โดยเฉพาะด้านรังสีรักษา
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดช่องว่าง และเติมเต็มการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง จึงเป็นที่มาของการลงนามบันทึกข้อตกลง 'Eastern Cancer Network' เครือข่ายการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในภาคตะวันออกของประเทศไทยเพื่อการส่งต่อผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ร่วมกันให้มีประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า และประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นความร่วมมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการระหว่างเครือข่าย โดยมี 4 สถานพยาบาลได้แก่ โรงพยาบาลไทยนครินทร์, โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์, โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา (CAH) และสหคลินิกฉะเชิงเทรา(SCC) วัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพได้ โดยใช้สิทธิรักษาพยาบาลของตนได้ ไม่ว่าจะเป็น การชำระเงินสด สิทธิประกันกลุ่ม สิทธิ์ประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิ 30 บาท)และสิทธิข้าราชการ ไม่ว่าคุณจะมีสิทธิการรักษาพยาบาลแบบใด ก็สามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีที่ทันสมัย ลดผลกระทบต่ออวัยวะข้างเคียง ทำให้เกิดผลลัพธ์การรักษาที่ดีได้ ตามเงื่อนไขของแต่ละสิทธิ์ ซึ่งตรงตาม Concept ของ UICC : Close the Care Gap Everyone deserves access to cancer care ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งได้ครับ"
พญ.วิภาวัลย์ วงศ์แพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ กล่าวถึงการเข้าถีงการรักษามะเร็งด้วยสิทธิประกันสังคม " โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ เข้าร่วมโครงการกับสำนักงานประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตนตั้งแต่เริ่มที่จะมีโครงการนี้เลย ณ เวลานี้เราดูแลผู้ประกันตนทั้งหมด 112,000คน
สำหรับผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเราให้การดูแลอย่างครบวงจรทั้งการผ่าตัด ให้เคมีบำบัด และรังสีรักษา กรณีที่แพทย์ของสำโรงการแพทย์ วินิจฉัยว่าควรจะรับการรักษาด้วยรังสีรักษาเราจะจะส่งตัวผู้ป่วยมาที่ศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ซึ่งเราเข้าร่วมเป็นเครือข่าย Eastern Cancer Network ด้วยกัน เบื้องต้นเราจะส่งประวัติคนไข้มาให้แพทย์รังสีรักษาประเมินและนัดคนไข้มาตรวจเบื้องต้น ผู้ประกันตนจะได้รับใบส่งตัวมาฉายแสงมาให้บริการรังสีรักษาที่ศูนย์รังสีรักษาของโรงพยาบาลไทยนครินทร์โดยที่ไม่ต้องรอคอย ไม่มีช่องว่าง ไม่มี Gap ได้รับการบริการอย่างสะดวกและรวดเร็ว และผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมเลยค่ะ"
ในส่วนของการรักษามะเร็งด้วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คุณสมพงษ์ ชื่นกิติญานนท์ ประธานบริษัทโรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ศรีราชา (CAH) กล่าวว่า "โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา มีประสบการณ์ในในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉายแสง สิ่งที่เรามีเจอปัญหาและเป็นประเด็นก็คือเรื่องการรอคิว เมื่อเราได้วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งแล้ว สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉายแสง จึงเป็นปณิธานหนึ่งของทีมของเราที่ทำให้เกิดการก่อตั้งโรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา เพื่อที่จะทำให้การรักษาของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ต่างๆ ที่อยู่ในภาคตะวันนออกของประเทศไทย สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว
ในโอกาสที่เราเป็นส่วนหนึ่งของ Eastern Cancer Network สิ่งนี้เป็นโครงการที่ดีมากที่จะทำให้เกิดการปิดช่องว่างที่เกิดขึ้นในที่เราประสบมาตลอดนั่นคือคิวของการรักษาและระบบการส่งต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิ์ต่างๆ ของผู้ป่วยไม่ว่าจะสิทธิ์ประกันสังคม สิทธิ์สปสช. หรือบัตรทอง สิทธิ์ข้าราชการ สิ่งต่างๆเหล่านี้ Eastern Cancer Network จะช่วยลดช่องว่างที่เกิดขึ้นและผมมั่นใจว่านี่ก็คือจะสิ่งที่ทำให้การรักษาโรคมะเร็งมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นนะครับ"
ด้าน สหคลินิกฉะเชิงเทรา คลินิกสาขาแห่งแรกของโรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมปิดช่องว่างการเข้าถึงการรักษามะเร็งในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษา พร้อมให้คำปรึกษา และประสานงานส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่าย ECN ตามสิทธิ์
ดร.นพ.พิชัย รัตนโรจน์สกุล ผู้บริหาร สหคลินิกฉะเชิงเทรา กล่าวว่า "สหคลินิกฉะเชิงเทรา เปิดคลินิกบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป ตรวจสุขภาพ และบริการวัคซีนเพื่อป้องกันโรค นอกจากนี้เรายังต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการลดช่องว่างในการเข้าถึงการรักษามะเร็งของประชาชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยการให้คำปรึกษา รวมถึงการส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งจากในพื้นที่ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีบริษัทและโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก สิทธิการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่จะเป็นสิทธิประกันกลุ่ม เป็นหนึ่งในสวัสดิการบริษัท นอกจากนี้ก็จะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม และการชำระเงินเอง แต่ด้วยความที่สถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการรักษามะเร็งมีไม่มาก ทำให้เกิดช่องว่างในการเข้ารับการรักษา เมื่อไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้โรคที่เป็นลุกลาม รุนแรงขึ้น
"หากผู้ป่วยมะเร็งในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความประสงค์ต้องการรับการรักษามะเร็งที่รวดเร็ว ไม่ต้องรอคอยนาน สหคลินิกฉะเชิงเทราก็พร้อมให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ประสานงานส่งต่อเพื่อ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่าย ECN ตามสิทธิ์ครับ"
เพื่อเป็นการร่วมรณรงค์ และสร้างการรับรู้ เพื่อการเข้าถึงสิทธิรักษามะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก ซึ่งตรงกับ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี กลุ่ม 'Eastern Cancer Network' หรือ ECN เครือข่ายการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในภาคตะวันออกของประเทศไทย จะเผยแพร่ความรู้โรคมะเร็งผ่านช่องทางต่างๆ พร้อมเดินรณรงค์ มอบเข็มกลัด Close The Care Gap โดยในเข็มกลัดจะมีมีสัญลักษณ์ Eastern Cancer Network Close The Care Gap พร้อมเบอร์ Hot Line: 062 590 1919 หากต้องปรึกษาสิทธิการรักษามะเร็ง สามารถสอบถามได้ 24 ชั่วโมง
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย ดร. ชานัน ติรณะรัต ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายแพทย์ สกล สุขพรหม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าว ความสำเร็จของความร่วมมือในการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสียโรงพยาบาล "โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้นวัตกรรมในการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสีย" โดยมี นายแพทย์ธิติ
"ปวดคอ" แบบไหน?... ให้สงสัยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
—
โรคกระดูกคอเสื่อม เกิดจากอายุที่มากขึ้นและการใช้งานคอผิดท่ามาเป็นเวลานาน ซึ่งเดี๋ยวนี้คนที่เป็นโรค...
"Drip & Sip" สร้างกลุ่มผู้รักสุขภาพ ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง VIVID by Verita Health และนิตยสาร Masala
—
วิวิด บาย เวอริตา เฮลธ์ (VIVID by Verita Heal...
นวดกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
—
แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด คือเส้าเจ๋อ (SI1) และ จู๋ซานหลี่ (ST36) โดยกดจุดละ 3-5 นาที...
เวทีนโยบายรับมือโรคอ้วนระหว่างเดนมาร์ก-ไทย: ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในวันนี้เพื่อคนรุ่นหลัง
—
สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร่วมกับบริษัท โนโว น...
ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันได้อย่างไร ?
—
ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพัน...
โรคพิษสุนัขบ้า ติดเชื้อถึงตาย สคร.12 สงขลา เตือน โดนสัตว์ข่วน-กัด ให้รีบพบแพทย์ แนะ ยึดหลัก 3 ป.
—
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงข...
ป้องกัน 'แอนแทรกซ์' ระบาด กรมอนามัย แนะ 3 วิธี เลือกซื้อ ปรุงประกอบอาหาร
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงประชาชน แนะ 3 วิธี ป้องกันการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ...
สุขภาพดี เริ่มต้นที่ลำไส้ ชวนรู้จักความเชื่อมโยงกับสุขภาพที่คาดไม่ถึง
—
หลายคนมักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย การกินอาหารที่ดีขึ้น หรือการลดน้ำหนัก แต่อี...
TM แนะนำลูกบอลบริหารกล้ามเนื้อ Massage ball
—
บริษัท เทคโนเมดิคัล จำกัด (มหาชน) หรือ TM โดย ดร.สุนทรี จรรโลงบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แนะนำ Massage...