Trailblaze Mission (เทรลเบลซ์ มิสชั่น) พร้อมสร้างและสื่อสารตัวตนใหม่ บนภารกิจต่อยอดการเรียนรู้ และพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัลผ่านงานประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่างานพีอาร์ หรือการทำประชาสัมพันธ์องค์กรนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นมากกว่าเดิมถ้าหากจะทำธุรกิจในโลกยุคดิจิทัล เพราะทุกสิ่งเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วและงานประชาสัมพันธ์เป็นงานที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร ยิ่งต้องมีความตื่นตัวและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรถือเป็นหัวใจสำคัญ ที่ต้องอาศัยกลยุทธ์ที่รอบคอบ ต่อเนื่อง และรวดเร็วอยู่เสมอในการส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถสื่อสารไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จ

Trailblaze Mission (เทรลเบลซ์ มิสชั่น) พร้อมสร้างและสื่อสารตัวตนใหม่ บนภารกิจต่อยอดการเรียนรู้ และพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัลผ่านงานประชาสัมพันธ์

บริษัท Trailblaze Mission (เทรลเบลซ์ มิสชั่น) หรือ Trailblaze PR (เทรลเบลซ์ พีอาร์) หน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารชั้นนำในท้องถิ่น ที่ให้บริการด้านการสื่อสารแบบครบวงจร เปิดเผยว่าหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ได้คลี่คลายลง ธุรกิจไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่ ต่างก็ปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเปลี่ยนวิธีคิด กลยุทธ์ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ โซลูชัน ให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โควิด-19 ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งให้องค์กรปรับกลยุทธ์และลงทุนในด้านดิจิทัลมากขึ้น ผู้บริโภคเน้นการใช้งานออนไลน์และเทคโนโลยีมากขึ้น โลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ที่มาทำลาย (Disrupt) รูปแบบธุรกิจแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็นการมาของ metaverse, ChatGPT, AI  และอื่น ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกกลยุทธ์หรือทุกเครื่องมือที่จะเหมาะกับทุกองค์กร องค์กรจึงต้องเลือกใช้มือให้เหมาะสมและตรงกับกลุ่มเป้าหมายจริงๆ

ดังนั้น จึงต้องมองให้ขาดว่าจะปรับธุรกิจอย่างไรให้ไปรอดและเติบโตต่อได้ อย่างเช่น ธุรกิจต้องมีจุดขายมากขึ้น เน้นสร้างประสบการณ์ สื่อสารกับผู้บริโภคให้มากขึ้นและให้ตรงจุดความต้องการได้ทันที หลักๆ ธุรกิจต้องเข้าใจลูกค้า ต้องมีการปรับปรุงรูปแบบให้เข้ากับพฤติกรรมใหม่ๆ หากสามารถรู้ใจลูกค้ารายบุคคลยิ่งเป็นเรื่องที่ดี การทำ Digital Transformation คือกลยุทธ์ที่จะสามารถสร้างประสิทธิภาพใหม่ๆจากความสามารถของธุรกิจ ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ดีกว่าการใช้งานหรือการรับบริการแบบเดิมๆ สามารถสร้างรูปแบบโมเดลทางธุรกิจหรือโมเดลการหารายได้ใหม่ๆ ที่เกิดจากการที่องค์กรมีความสามารถในการแข่งขัน ยกตัวอย่าง การนำเอาดาต้ามาใช้งานเพื่อพัฒนารูปแบบบริการสำหรับลูกค้า ตอบสนองต่อความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคจริง ๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างถาวร

การสื่อสารจากองค์กรสู่ลูกค้ายังเป็นเรื่องที่สำคัญเสมอมาและมากกว่าเดิม เพราะการทำ PR ในยุคดิจิทัลอย่างทุกวันนี้ไม่ใช่เพียงการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ (Press Release) แล้วส่งไปตามสื่อสำนักต่างๆ อีกต่อไป แต่ PR จะต้องรู้จักวิเคราะห์และใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ในการติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ รวมถึงเรียนรู้สื่อใหม่ๆ พร้อมทั้งพัฒนาความสัมพันธ์และวางกลยุทธ์ในระยะยาว นอกจากนี้ นักประชาสัมพันธ์ยังต้องเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่าง Customer Journey และบิ๊กดาต้ามากขึ้น เพื่อวางรากฐานที่แข็งแกร่งตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้ลูกค้าจากการเก็บข้อมูลและสังเกตพฤติกรรม ทำให้สามารถเข้าใจลูกค้าได้อย่างแท้จริง เพราะดาต้าในปัจจุบันสามารถวิเคราะห์ได้ลึกถึงระดับอารมณ์และความรู้สึก การย่อยข้อมูลและเลือกใช้ข้อมูลให้ถูกจุดจึงสำคัญต่อการพัฒนากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจให้เกิดขึ้นได้จริงและสามารถวัดผลได้ ตอบโจทย์แต่ละบุคคล และสร้างยอดขายต่อไปได้

การสื่อสารกับสาธารณะผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เพราะโซเชียลมีเดียสามารถเป็นเครื่องมือในการโต้ตอบกับผู้คนจำนวนมากทั้งในแง่บวก และแง่ลบได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสาร นโยบาย มาตรการรองรับและสนับสนุนต่างๆ รวมถึงบรรทัดฐานความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ถือเป็นเรื่องที่ทางองค์กรต้องสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับรู้อย่างต่อเนื่องทั้งภายในองค์กรและนอกองค์กร อีกทั้งองค์กรยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการแสดงออกถึงคุณค่าองค์กรในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมได้ เปิดโอกาสให้สังคม ผู้บริโภคและแบรนด์มีความเชื่อมถึงกันมากขึ้น เพื่อเป็นการความเชื่อมั่นและความผูกพันระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์

ภารกิจ "เปลี่ยนโลก" นั้นไม่ใช่เรื่องที่เพ้อฝันอีกต่อไป ตราบใดที่องค์กรกำลังแสดงถึงคุณค่าและเป้าหมายของพวกเขา การพัฒนาธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กรในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งก็จริง แต่ในขณะเดียวกันต้องผสมผสานนวัตกรรมเข้ากับความยั่งยืนที่แท้จริงเข้าไปด้วย เพราะผู้บริโภคต่างหันไปหาแบรนด์ที่รู้สึกถึงความเป็นมนุษย์มากขึ้น มี empathy มากขึ้น เมื่อองค์กรนั้นมีทั้งความเข้าใจและใส่ใจ ผลที่จะสะท้อนกลับมา ย่อมเป็นผลเชิงบวกที่จะนำไปสู่ผลบวกทางธุรกิจอย่างแน่นอน


ข่าวต่อยอดการเรียนรู้+ประชาสัมพันธ์วันนี้

"เอ็นไอเอ" ชวนเยาวชนเรียนรู้ทักษะ “นวัตกร” ในงานมหกรรมวิทย์ 67 พร้อมเนรมิตพื้นที่ S4i Learning Mart เปิดเครื่องมือต่อยอดการเรียนรู้ สร้างทักษะนวัตกร

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เดินหน้าส่งเสริมนวัตกรรุ่นใหม่ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567 ผ่านกิจกรรมใน “บูธ S4i Learning Mart” ที่ได้รวบรวมเครื่องมือพัฒนาทักษะนวัตกร ด้วยกระบวนการ “STEAM4INNOVATOR” ไว้อย่างหลากหลาย ที่ใช้ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์พร้อมแนวคิดด้านธุรกิจที่ครบครัน จัดกลุ่มเครื่องมือให้ได้ศึกษาและหยิบทดลองใช้งานทั้งกลุ่มครูอาจารย์ สถานศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครองและตัวน้องๆ เยาวชนเอง รูป

นายสยาม ประสิทธิศิริกุล (ที่ 2 จากซ้าย) ป... กรุงศรีมอบคอมพิวเตอร์ 200 เครื่อง เสริมโอกาสการศึกษาทั่วถึงและเท่าเทียมแก่เยาวชน — นายสยาม ประสิทธิศิริกุล (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเท...