นายอาดิล อาเหม็ด (Adil Ahmed) วัย 65 ปี เป็นหนึ่งในชาวปากีสถานที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาพลังงานสะอาดที่กำลังเฟื่องฟูในปากีสถาน ภายใต้โครงการพลังงานต่าง ๆ ที่ดำเนินการร่วมกับจีน
"ผมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน" นายอาเหม็ดกล่าว พร้อมเสริมว่าแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมากที่ใช้ในปากีสถานผลิตจากจีน
นอกจากการจัดหาแผงโซลาร์เซลล์แล้ว จีนยังช่วยเหลือปากีสถานในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์ผ่านโครงการพลังงานสีเขียวหลายโครงการ
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำคารอต (Karot Hydropower Plant) ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสะอาด 3.2 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี จะช่วยประหยัดถ่านหินได้ประมาณ 1.4 ล้านตัน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 3.5 ล้านตันต่อปี จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ชาวปากีสถานของโครงการดังกล่าว
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำคารอตเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความพยายามของจีนในการส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI)
ปีนี้เป็นวันครบรอบ 10 ปีที่จีนได้นำเสนอข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยตลอดทศวรรษที่ผ่านมา จีนไม่เพียงสร้างความก้าวหน้าในการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศเท่านั้น แต่ยังสร้างความก้าวหน้าที่สำคัญในการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางอีกด้วย
"ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จีนสามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยต่อปีที่ระดับ 6% และมีการใช้พลังงานเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้น 3%" นายหวง หรุ่นฉิว (Huang Runqiu) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม กล่าวในการประชุมโต๊ะกลมว่าด้วยการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และการประชุมสมัชชาใหญ่ของแนวร่วมการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนานาชาติภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
นายหวงเปิดเผยว่า จีนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยจีดีพีลดลงประมาณ 35% ซึ่งเทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 3.7 พันล้านเมตริกตัน พร้อมเสริมว่าในปี 2565 กำลังการผลิตติดตั้งของไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในจีนสูงถึง 1.2 พันล้านกิโลวัตต์ แซงหน้าไฟฟ้าพลังงานถ่านหินได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
นอกเหนือจากการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนในประเทศแล้ว ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จีนยังแบ่งปันเทคโนโลยีขั้นสูงและดำเนินโครงการความร่วมมือด้านพลังงานสีเขียวที่สะอาด คาร์บอนต่ำ และมีคุณภาพร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีกหลายโครงการ
รายงานสมุดปกขาวหัวข้อ "ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง: เสาหลักของประชาคมโลกที่มีอนาคตร่วมกัน" ระบุว่า จีนอาศัยความเชี่ยวชาญด้านพลังงานหมุนเวียน การอนุรักษ์พลังงาน การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการผลิตที่สะอาด ตลอดจนใช้เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และประสบการณ์ของตนเอง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางอย่างแข็งขัน
ในประเทศเอธิโอเปียที่มีแหล่งพลังงานหมุนเวียนอุดมสมบูรณ์ ซึ่งรวมถึงพลังงานลมและพลังงานน้ำ คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 60,000 เมกะวัตต์ ภายใต้ความช่วยเหลือของจีนในโครงการต่าง ๆ เช่น ฟาร์มกังหันลมอดามา (Adama Wind Farm) ในเทือกเขาหินบนที่ราบสูง และโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเกนาเล-ดาวา 3 (Genale-Dawa III) ขนาด 254 เมกะวัตต์
นอกจากการใช้ทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนในท้องถิ่นแล้ว จีนยังให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในกระบวนการพัฒนาพลังงานอีกด้วย
ในการสร้างทางรถไฟขนาดมาตรฐานมอมบาซา-ไนโรบี (Mombasa-Nairobi Standard Gauge Railway) ซึ่งวิ่งผ่านเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหลายเขต เช่น อุทยานแห่งชาติไนโรบีและอุทยานแห่งชาติซาโว ได้มีการใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระหว่างการออกแบบและก่อสร้างทางรถไฟ
ตลอดทางรถไฟมีการสร้างทางเดินสำหรับสัตว์ป่าขนาดใหญ่ 14 แห่ง และสะพาน 79 แห่งที่มีความสูงกว่า 6.5 เมตร ช่วยให้สัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้างและยีราฟ สามารถผ่านได้ง่าย นอกจากนั้นยังมีการติดตั้งรั้วกั้นสองข้างทางรถไฟเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์กับรถไฟเจอกัน
ทั้งนี้ ความร่วมมือในการพัฒนาพลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำไม่ได้จำกัดอยู่แค่ไม่กี่ประเทศเท่านั้น
รายงานสมุดปกข่าวระบุว่า จีนได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมกับกว่า 30 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงเปิดตัวโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกับ 31 ประเทศ และก่อตั้งแนวร่วมการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนานาชาติภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางร่วมกับพันธมิตรมากกว่า 150 ราย จากกว่า 40 ประเทศ
นอกจากนี้ จีนพร้อมที่จะทำงานร่วมกับประเทศอื่น ๆ เพื่อสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิผลมากขึ้นภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เพื่อสร้างโลกที่เปิดกว้าง ครอบคลุม สะอาด และสวยงามต่อไป
https://news.cgtn.com/news/2023-10-12/How-China-contributes-to-building-a-green-Belt-and-Road--1nQ4RB6xsn6/index.html
นนทบุรี- บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประกาศลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Minh Luong ซึ่งเดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว ขนาด 30 เมกะวัตต์ ในจังหวัดหล่าวกาย (L?o Cai) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม การลงทุนครั้งนี้ดำเนินการผ่านบริษัทร่วมทุน NEXIF RATCH Energy Investment Pte. Ltd. (NREI) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 49 โดยได้เข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Minh Luong เป็นเงินจำนวนประมาณ 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นเงินไทย ประมาณ 860 ล้านบาท จาก กลุ่มบริษัท Nam Tien Group เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2566 โรง
RT ทิศทาง Q1/66 เร่งดำเนินงานก่อสร้างต่อเนื่อง มุ่งขยายงานอุโมงค์ดินอ่อน เตรียมรับงานสร้างเขื่อนเติมพอร์ตต่อเนื่อง
—
RT เผยทิศทางธุรกิจไตรมาส 1/2566 แนวโน...
'ผลิต-ไฟฟ้าลาว' หรือ EDL-Gen เปิดจองหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 28-30 มี.ค.นี้ วงเงินไม่เกิน 4,078.1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6.50% ต่อปี
—
'บริษัท ผลิ...
RT กวาดงานเพิ่ม โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำหลวงพระบาง มูลค่า 1,615 ลบ.
—
RT รับงานต่อเนื่อง งานโยธาโครงสร้างถาวร โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำหลวงพระบาง...
BCPG ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2565
—
"บีซีพีจี" เปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 3/2565 มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 จากไตรมาสที่ 2...
ราช กรุ๊ป กำไรครึ่งปีแรก 3,775.45 ล้านบาท คาดปิดดีลลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าต่างประเทศ บรรลุเป้าหมาย 700 เมกะวัตต์ภายในปีนี้สำเร็จ
—
บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มห...
RT ส่งสัญญาณดี ไตรมาส 2/65 เดินหน้ารับงานต่อเนื่อง หนุน Backlog ทะลุเป้า 8,500 ล้านบาท
—
RT เผยแนวโน้มธุรกิจไตรมาส 2/65 เดินหน้ารับงานก่อสร้างต่อเนื่อง เส...