โครงการ "วน" และ "รีไซเคิลเดย์" เปิดตัวการเป็นพันธมิตรเพื่อประสานความร่วมมือและนำจุดแข็งของทั้งคู่มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน โดยมุ่งเน้นไปที่การแสวงหาแนวทางและพัฒนากระบวนการในการลดปริมาณขยะพลาสติกยืด ซึ่งเป็นขยะที่มีปริมาณมากแต่ยังถูกละเลยและขาดกระบวนการจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถเก็บกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากปริมาณขยะฝังกลบที่มีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายชนัมภ์ ชวนิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด กล่าวว่า "การจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพเริ่มต้นจาก mindset ที่ถูกต้องต่อการแยกขยะ ทุกคนสามารถร่วมกันส่งขยะทิ้งปลายทางที่ถูกต้อง ซึ่งนี่เป็นพื้นฐานในการสร้างการจัดการขยะที่ดีขึ้น องค์ความรู้เป็นสิ่งที่ทั้งเอกชนและภาครัฐสามารถร่วมกันส่งเสริมให้ทุกคนเข้าใจถึงความสำคัญในการแยกขยะก่อนทิ้ง นอกจากนั้น การที่ทุกภาคส่วนออกมารวมพลังกันก็จะช่วยส่งต่อขยะให้ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องอย่างที่ "รีไซเคิลเดย์" ได้ร่วมกับ "โครงการ วน" ช่วยกันจัดการพลาสติกยืดที่เป็นถุงหรือฟิล์ม packaging ชนิดอ่อนและยืดได้ที่มีอยู่ทุกบ้าน เราก็ทำให้ขยะตรงนั้นไม่ต้องไปจบที่บ่อฝังกลบ ต้องช่วยกันให้ความรู้ว่าปลายทางขยะสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้จริง คนน่าจะอยากมีส่วนร่วมมากขึ้นแน่นอนครับ"
นายศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า "ขยะพลาสติกยืดนับว่าเป็นหนึ่งในขยะที่มีปริมาณมากและสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างมากในปัจจุบัน แต่กลับถูกละเลยและได้รับความใส่ใจน้อยกว่าขยะพลาสติกประเภทอื่นๆ ซึ่งสาเหตุสำคัญ เกิดจากการคัดแยกที่ค่อนข้างยากกว่าขยะประเภทอื่น อีกทั้ง ผู้บริโภคยังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะประเภทนี้ให้ถูกต้อง จึงส่งผลต่อเนื่องให้กลุ่มผู้ประกอบการกำจัดขยะไม่ให้ความสำคัญกับขยะพลาสติกยืดนี้เท่าที่ควร เนื่องจาก มีกระบวนการในการคัดแยกในภายหลังยากกว่าขยะกลุ่มอื่น ๆ หากไม่ได้มีการคัดแยกมาอย่างถูกต้องตั้งแต่ต้นทางจากผู้บริโภค จึงทำให้ขยะพลาสติกยืดส่วนใหญ่ต้องถูกส่งไปทิ้งที่บ่อฝังกลบ หรือ หลุดรอดออกไปสร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถเก็บกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่ได้ การที่โครงการ "วน" ได้มีโอกาสร่วมมือกับ "รีไซเคิลเดย์" จะช่วยให้สามารถลดช่องว่างดังกล่าว โดยโครงการ "วน" จะสนับสนุนในการให้ความรู้ตั้งแต่ต้นทางกับกลุ่มชุมชนที่ "รีไซเคิลเดย์" ให้บริการ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญในการแยกขยะพลาสติกยืดออกจากขยะประเภทอื่น ๆ ทำให้ง่ายกับผู้ประกอบการกำจัดขยะในการนำไปคัดแยกในภายหลัง นอกจากนั้น โครงการ "วน" ก็ยังเป็นปลายทางให้กับขยะพลาสติกยืดที่ "รีไซเคิลเดย์" เก็บกลับมาได้ โดยจะนำไปเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติก PCR (Post-Consumer Recycled) เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป"
เกี่ยวกับ "รีไซเคิลเดย์"- "รีไซเคิลเดย์" คือ แพลตฟอร์มจัดการขยะรีไซเคิลแบบครบวงจรโดยให้บริการผ่านแอพลิเคชั่น Recycle Day จุดเริ่มต้นคือ "รีไซเคิลเดย์" มองเห็นปัญหาการคัดแยกขยะรีไซเคิลที่ไม่ตอบโจทย์คนทั่วไป เราอยากให้การแยกขยะเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ทุกวัน จึงเริ่มจากการมีรถเข้าไปรับเป็นตารางตามหมู่บ้านก่อน แล้วจดบันทึกข้อมูลขยะและน้ำหนักลงในแอพลิเคชั่น Recycle Day ที่ได้พัฒนาเรื่อยมา จากนั้นเราขยายธุรกิจเพื่อให้เข้าถึงคนมากขึ้นในวงกว้างจึงเริ่มทำเป็นจุดให้บริการ Drop Point ทั้ง 8 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่คนสามารถนำขยะรีไซเคิลมาส่งได้ การส่งขยะรีไซเคิลให้รีไซเคิลเดย์ มั่นใจได้ว่าขยะถูกจัดการอย่างถูกต้อง 100% เชื่อถือได้กับเรทราคาที่แน่นอน พร้อมข้อมูลตัวเลขน้ำหนักจำนวนขยะที่ส่งที่ชัดเจน - สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่ Facebook : รีไซเคิลเดย์ Recycle Day Thailand
เกี่ยวกับ "วน"- โครงการ "วน" ริเริ่มโดย บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) ในเดือนมิถุนายน 2561 โดยมีเป้าหมายในการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่สาธารณชนในการจัดการขยะพลาสติกยืด รวมถึงเป็นปลายทางในการเก็บกลับเศษขยะพลาสติกยืดที่แห้งและสะอาดจากทั่วประเทศ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและอัพไซเคิลให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่อีกครั้ง ปัจจุบัน โครงการ "วน" มีจุดรับขยะพลาสติกยืดมากกว่า 400 จุดทั่วประเทศ สามารถเก็บกลับเศษพลาสติกยืดได้กว่า 350 ตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 304 ตันคาร์บอน หรือ การปลูกต้นไม้กว่า 33,800 ต้น - ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์ www.tpbigroup.com/sustainable-development/won-project หรือ เฟซบุ๊ค wontogether
มูลนิธิสัมมาชีพเปิดหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 15 "ESG in Practices" เป้าหมายสร้างความร่วมมือ ผู้นำองค์กร ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม รับมือกับกติกาใหม่โลก ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เผยจุดเด่นหลักสูตรองค์ความรู้ลึกด้าน ESG จากผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ พร้อมกรณีศึกษาจริงจากองค์กรชั้นนำ เอสเอ็มอี และชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อน ESG นายวิเชฐ ตันติวานิช ประธานกรรมการสถาบันผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership for Change- LFC) มูลนิธิสัมมาชีพ กล่าวว่า
มิสทิน ร่วมกับ ทช. เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการัง
—
มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้ส...
สธ. ลงพื้นที่เฝ้าระวังสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์สารหนูปนเปื้อนในแม่น้ำกก จังหวัดเชียงใหม่
—
วานนี้ (20 เมษายน 2568) ดร.นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่ม...
AGNI GALLERY เปิดตัวโครงการเพื่อสังคม "AGNI PROJECT" มุ่งเน้นทำความสะอาดชายฝั่งอ่าวไทยและคลองในกรุงเทพฯ จากขยะและมลพิษ
—
AGNI GALLERY ภูมิใจนำเสนอการเปิดต...
เอสซีจี นำเทรนด์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ร่วมงานสถาปนิก'68 ภายใต้แนวคิด "Seamless Quality Living"
—
เอสซีจี นำเทรนด์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ร่วมงานสถาปนิก'68 ภายใต้แ...
เอ็ม บี เค X พันธมิตรสายกรีน ร่วมแสดงพลังรักษ์โลก ในงาน "Green Community สรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่สังคมที่ยั่งยืน"
—
ส่งท้ายเดือนแห่งวันสิ่งแวดล้อมไทย...
"วน" ผนึกกำลัง "รีไซเคิลเดย์" เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการปัญหาขยะพลาสติกยืด
—
โครงการ "วน" และ "รีไซเคิลเดย์" เปิดตัวการเป็นพันธมิตรเพื่อประสานความร่วมมือแล...
กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ GLAND จับมือ เขตห้วยขวาง กทม. และ รีไซเคิลเดย์ จัดโครงการ "Journey to NET ZERO : Bangkok Zero Waste"
—
บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำก...