PwC ประเทศไทย แนะผู้ประกอบการเตรียมรับมือเกณฑ์การจัดเก็บภาษีใหม่ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

PwC ประเทศไทย แนะผู้ประกอบการทำความเข้าใจและปรับตัวเพื่อรับมือกับการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ แนวทางการตีความ และข้อปฏิบัติของกรมสรรพากร รวมถึงนโยบายทางภาษีที่ได้รับการพัฒนาและอาจถูกนำมาปรับใช้ในอนาคตอันใกล้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น เป็นผลโดยตรงจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องในยุคการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล อันนำมาซึ่งความพยายามในการสร้างระบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม และสอดรับกับการดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดนแบบไร้รอยต่อของผู้ประกอบธุรกิจข้ามชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

PwC ประเทศไทย แนะผู้ประกอบการเตรียมรับมือเกณฑ์การจัดเก็บภาษีใหม่ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

การเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ย่อมทำให้ผู้ประกอบการต้องมีความพร้อมและสามารถปฏิบัติตามกฎหมายภาษีที่ปรับเปลี่ยนใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานทางภาษีที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกัน ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกตั้งคำถาม หรือการต้องแบกรับภาระการพิสูจน์ในกรณีของการถูกประเมินภาษี

นาย สมบูรณ์ วีระวุฒิวงศ์ หุ้นส่วนและหัวหน้าสายงานภาษีและกฎหมาย PwC ประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนาประจำปี Maximise Shareholder Value 2024 ในหัวข้อ 'รับมือความท้าทายในปัจจุบัน เปิดรับโอกาสอันยั่งยืนแห่งอนาคต' (Embracing today's complexities, welcoming tomorrow's opportunities) ว่า ในโลกปัจจุบันที่เป็นยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการดำเนินธุรกิจแบบไร้พรมแดน หน่วยจัดเก็บภาษีในประเทศต่าง ๆ มีการหารือทั้งในเชิงวิชาการและทางปฏิบัติเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์สากลอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันและสอดรับกับแนวคิดที่ว่า ทุกประเทศควรได้รับสิทธิในการจัดเก็บภาษีตามสัดส่วนที่เหมาะสมและเป็นธรรมจากการทำธุรกรรมข้ามชาติของผู้ประกอบการ 

ในปัจจุบัน ภาครัฐของไทยมิได้นิ่งเฉยต่อกรอบการพัฒนาการจัดเก็บภาษีดังกล่าว โดยประเทศไทยมีได้มีส่วนร่วมและนำนโยบายการจัดเก็บภาษีในระดับสากลมาปรับใช้เป็นกฎหมายภายในอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแนวทางการจัดเก็บภาษีกรณีการโอนถ่ายกำไรโดยใช้ช่องว่างทางกฎหมายภาษี เพื่อการหลบเลี่ยง กัดกร่อนฐานภาษีในประเทศ (Base Erosion and Profit Shifting: BEPS) การแก้ไขอนุสัญญาพหุภาคีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการตามบทบัญญัติของอนุสัญญาภาษีซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อน (MLI) หลักการของ Pillar 1 และ Pillar 2 ที่เกี่ยวข้องกับจัดสรรสิทธิในการจัดเก็บภาษีให้แต่ละประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการความเสี่ยงด้านการกำหนดราคาโอน ผ่านข้อตกลงการกำหนดราคาเป็นการล่วงหน้า (APA) และวิธีการดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน (MAP) เป็นต้น

ในอนาคต [1]กรมสรรพากรมีแนวทางในการพัฒนาระบบภาษีไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลอย่างต่อเนื่อง อันจะเห็นได้จากการปรับใช้แผนปฏิบัติราชการกรมสรรพากร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อเป็นทิศทางในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายในมิติต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมสรรพากรได้พิจารณาทิศทางและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการกำหนดนโยบายภาษีและการพัฒนาการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศต่าง ๆ ตลอดจนข้อตกลงความร่วมมือด้านภาษีอากรในระดับนานาชาติ เช่น OECD Inclusive Framework on Base Erosion and Profit Shifting (BEPS) หรือ กรอบความร่วมมือเกี่ยวกับการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษี และการโอนกำไรไปต่างประเทศ และ Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes หรือ กรอบความร่วมมือเกี่ยวกับความโปร่งใสและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ด้านภาษี 

"นอกจากการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับกฎเกณฑ์การจัดเก็บภาษีใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติทางภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมายปัจจุบันด้วย การขยายธุรกิจของผู้ประกอบการยังคงต้องคำนึงถึงการวางแผนโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม ทั้งในแง่ของการกำหนดความมุ่งหมายทางการค้า การเลือกรูปแบบการลงทุน การบริหารความเสี่ยงและการสร้างโอกาสทางภาษีผ่านการควบรวมกิจการ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานเรื่องภาษี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และมีความพร้อมในเชิงข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบในอนาคต" นาย สมบูรณ์ กล่าว

นอกเหนือจากความเปลี่ยนแปลงทางภาษีสรรพากร การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการค้าข้ามพรม แดนและการปฏิวัติดิจิทัล ยังนำมาซึ่งความท้าทายทางศุลกากรในมิติของแนวโน้มการตรวจสอบหรือสอบสวนในด้านพิกัด การประเมินราคา และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร (BOI) อีกทั้งยังมีประเด็นเรื่อง มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญภายใต้แนวคิดสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ของสหภาพยุโรป ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจไทย และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจและเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจของผู้ประกอบการ

"การพัฒนาทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจยุคดิจิทัล อันนำมาซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพและช่องทางในการทำธุรกิจเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถหยุดยั้งได้ การสร้างระบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้น จึงป็นความรับผิดชอบของหน่วยจัดเก็บภาษี ผู้ประกอบการในฐานะผู้เสียภาษีจึงต้องเตรียมความพร้อม กลยุทธ์ และทรัพยากร ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นโดยมีการเสียภาษีและปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ลดความเสี่ยงและภาระจากการถูกตรวจสอบ และยังส่งผลเชิงบวกต่อภาพลักษณ์ของบริษัท ทั้งต่อคู่ค้า นักลงทุน และหน่วยงานของรัฐอีกด้วย" นาย สมบูรณ์ กล่าว 

[1] กรมสรรพากร


ข่าวยุคเศรษฐกิจดิจิทัล+เศรษฐกิจดิจิทัลวันนี้

เจมาร์ทฯ เปิดฉากเวทีประกวด "ครบรอบ 25 ปี Jaymart Miss Mobile Thailand 2025" ชูกลยุทธ์ Soft Power สู่ Business Platform รับโอกาสยุค Digital First

บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (JMART) ผนึกกำลัง บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด (Jaymart Mobile) เดินหน้ากลยุทธ์ Digital First พร้อมนำ "Soft Power Technology Lifestyle" ต่อยอดสู่ Business Platform ขับเคลื่อนการเติบโตของกลุ่มธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เชื่อมต่อ Ecosystem ระหว่าง FinTech Commerce Tech ผ่านการสร้างประสบการณ์ลูกค้าทุกรูปแบบ โดยมีเวที Jaymart Miss Mobile Thailand 2025 เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ยุคใหม่ให้กับผู้บริโภค นายเอกชัย สุขุมวิทยา รองประธาน

ปัจจุบันเกมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล... จับตาอนาคตอุตสาหกรรมเกมไทยกับโอกาสก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางเกมของอาเซียน — ปัจจุบันเกมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ ส่งผลให้อุตสาหกรรมเกมในประเท...

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์ก... สายครีเอเตอร์ห้ามพลาด!! CEA เปิดหลักสูตรคอร์สออนไลน์ Introduction to Virtual Production และ Metaverse101 — สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาช...