แสงแดดใครคิดว่า "ไม่สำคัญ" แดดอ่อนๆในยามเช้าและช่วงเย็น ช่วยเพิ่มวิตามินดี ทำให้กระดูกแข็งแรง ลดภาวะเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน หลายคนคิดว่า "แสงแดด" เป็นอันตรายต่อผิว สร้างริ้วรอยหมองคล้ำ ฝ้า กระ ทำให้มองข้ามประโยชน์ของแสงแดดไป จากการศึกษาพบว่าแสงแดดมีส่วนสำคัญในการป้องกัน "โรคกระดูกพรุน" และ "ภาวะขาดวิตามินดี การออกกำลังกายรับแสงแดดอ่อนๆในยามเช้า ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดี ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ลดภาวะความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ซึ่งพบผู้ป่วยสูงถึง 2.5-3 % ของจำนวนประชากรไทย ในทุกเพศทุกวัย
นพ.พีรพงษ์ สวัสดิพงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม และการฝังเข็มลดปวดตามศาสตร์แพทย์แผนจีน รพ.พระรามเก้า กล่าวว่า ในปัจจุบันคนไทยมีภาวะขาดวิตามินดีสูงมาก ยิ่งตรวจยิ่งเจอ และพบในทุกเพศทุกวัย เฉลี่ยคนไข้ 100 คน จะตรวจพบว่าคนไข้มีภาวะขาดวิตามินดีประมาณ 30-40% คน สาเหตุมาจากคนไทยกลัวแดดมากเกินไป ในความเป็นจริงแสงแดดอ่อนๆในยามเช้า เมื่อซึมผ่านเข้าไปในผิวจนถึงชั้นผิวหนัง จะช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามินดีได้ดีมาก จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ลดภาวะเสี่ยงการเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคต เมื่อเข้าสู้วัยผู้สูงอายุ
"การขาดวิตามินดี" เกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุนอย่างไร หลายๆคนคงสงสัยและเกิดคำถามมากมายว่า เพราะอะไรเราต้องออกกำลังกายช่วงแดดอ่อนๆ นพ.พีรพงษ์ สวัสดิพงษ์ ให้ข้อมูลต่อว่า "วิตามินดี" มีประโยชน์มากมาย เป็นตัวช่วยดูดซึมแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปเพื่อเสริมสร้างกระดูกและป้องกัน โรคกระดูกพรุน ยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่คาดไม่ถึง เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ อีกทั้งยัง คลายความเครียด ลดอาการโรคซึมเศร้า ได้อีกด้วย ซึ่งเมื่อคนไทยเกิดภาวะขาดวิตามินดี แน่นอนว่า "กระดูกของเรา" จะไม่แข็งแรง เปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยปกติร่างกายจะสามารถสร้างเซลล์กระดูกที่ดีและแข็งแรงได้ถึงอายุ 30 ปี แต่หลังจากนี้ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะค่อยๆเสื่อมถอยลง และเมื่อเข้าสู่วัย 60 ปี หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน กระดูกจะเปราะบางและหักง่าย มีการประมาณการว่าในปี 2568 จะมีผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในประเทศไทยมากถึง 3หมื่นกว่าราย และเพิ่มขึ้นปีละ 2% จนในอนาคตอีก 25 ปี อาจมีผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมากถึง 5 หมื่นรายต่อปี โดยพบสัดส่วนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
"โรคกระดูกพรุน" เป็นเหมือนภัยเงียบ เพราะจะไม่แสดงอาการของโรค จนกว่าจะเกิดกระดูกหัก นพ.พีรพงษ์ เปิดเผยข้อมูลต่อว่า จากการศึกษาทางการแพทย์ เริ่มมีการศึกษาเรื่องกระดูกพรุน อย่างจริงจังในช่วง 10-20 ปี ที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่า "อาการกระดูกหัก เปราะบาง ในผู้สูงอายุ และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน" คือ "โรคกระดูกพรุน" ที่สะสมมานานเป็นเวลาหลายสิบปี
"โรคกระดูกพรุน" เกิดจากการสลายของเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มวลกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง เปราะบางทำให้มีโอกาสกระดูกหักผิดรูปได้ง่าย ระยะเวลาในการเกิดโรคหลายปี โดยปกติในร่างกายคนเรา จะมีเซลล์สร้างกระดูกและเซลล์ทำลายกระดูก ที่ทำหน้าที่สร้างและสลายกระดูกอย่างสมดุลกัน โดยเซลล์สร้างกระดูกจะทำหน้านำแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมมาใช้สร้างกระดูกให้แข็งแรง แต่เมื่อกระดูกได้รับบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพตามอายุ เซลล์ทำลายกระดูกก็จะทำหน้าที่ย่อยสลายกระดูกในส่วนนั้น เพื่อให้เซลล์สร้างกระดูกมาทำหน้าที่สร้างกระดูกใหม่ชดเชยกระดูกส่วนที่ถูกสลายไป
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 ในเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ภายใต้กลุ่ม BDMS ยืนยันเจตนารมณ์ในการยกระดับการดูแลผู้ป่วยประกันสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยวิสัยทัศน์ "รักษาอย่างเข้าถึง ดูแลอย่างเข้าใจ" พร้อมขับเคลื่อนบริการด้วยแนวคิด "Value-Based Healthcare" การออกแบบแผนการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล เพื่อส่งมอบการดูแลที่มีคุณภาพ ภายใต้มาตรฐานทางการแพทย์ และการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมประชากรกว่า 400,000 คนในย่านลาดพร้าว โชคชัย 4 วังหิน และรัชดา นพ.นพรัตน์ โง้วจุงดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเปาโล โชคชัย
พฤกษา ฉลองครบรอบ 32 ปี เปิดตัว "พรีวิวแรก" สู่ Wellness Residence มอบสิทธิพิเศษ โปรแกรมปรับไลฟ์สไตล์ ดีไซน์การดูแลครบทุกมิติ
—
ไม่มีค่าใช้จ่าย สะท้อนการพั...
ฟิตผิดชีวิตเปลี่ยน! แพทย์ รพ.วิมุต แนะเคล็ดลับออกกำลังกายให้ปลอดภัย ไม่เจ็บซ้ำ
—
ในช่วงนี้จะเห็นว่าเทรนด์ที่มาแรงในกลุ่มคนรุ่นใหม่คือเรื่องการดูแลสุขภาพ ไ...
COCKPIT Holds National Meeting 2025, Taking Nationwide Franchisees on a Journey to Experience Tire Performance at BRIDGESTONE TURANZA 6 Launch Event
—
Bridgestone...
"กรุงไทยรัก Smart University" เดินหน้าเสริมทักษะเยาวชนไทยสู่ความมั่นคงทางการเงิน
—
ในยุคที่เศรษฐกิจไทย ยังเผชิญความท้าทายรอบด้าน จากปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเ...