ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สวรส. เผยผลวิจัยความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อทางโลหิตบริจาค "ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย"

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ยังไม่สามารถสรุปผลวิจัยความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อทางโลหิตบริจาคในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายอย่างชัดเจนได้ เนื่องจากอาสาสมัครเข้าร่วมวิจัยน้อยกว่าเป้าหมาย จำเป็นต้องหาแนวทางศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเชื่อถือได้ทางวิชาการสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของโลหิตบริจาค

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สวรส. เผยผลวิจัยความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อทางโลหิตบริจาค "ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย"

รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ตระหนักถึงหลักการความเท่าเทียมกันของมนุษย์และมาตรฐานสากลในการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริจาคและผู้ป่วยที่รับโลหิตเป็นสำคัญ ในอุบัติการณ์ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (Men who have sex with Men, MSM) เพื่อนำมาพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตของประเทศ เพิ่มโอกาสให้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีโลหิตที่ปลอดภัยเข้ามาเป็นผู้บริจาคโลหิตได้ โดยไม่ส่งผลกระทบกับผู้ป่วยที่รับโลหิต

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงได้หารือร่วมกับ นายกสมาคมและเลขาธิการสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางวิจัยสถานการณ์ในประเทศร่วมกัน โดยเปิดรับอาสาสมัคร คือชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่จากทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2566 - 15 กันยายน 2566 โดยตั้งเป้าหมายกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,250 คน

ทั้งนี้ มีผู้สมัครเข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 192 คน แต่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ เพียง 73 คน มีอายุระหว่าง 19 - 46 ปี แต่เนื่องจากการมีจำนวนอาสาสมัครน้อยกว่าที่กำหนดไว้มาก คือ 73 คนเมื่อเทียบกับ จำนวน 1,250 คนที่กำหนดไว้ จึงไม่สามารถสรุปผลอย่างชัดเจนและเพียงพอเพื่อมาพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกให้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เป็นผู้บริจาคโลหิตได้ จำเป็นต้องหาแนวทางศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนและเชื่อถือได้ในเชิงวิชาการ ให้มีความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้รับโลหิตต่อไป

ติดตามรายละเอียดผลการวิจัยทั้งหมดได้ที่ : https://shorturl.at/jyBJO หรือเฟซบุ๊กศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย


ข่าวo:member+o:healวันนี้

รู้ทันโรคเบาหวาน สร้างสุขภาพดีสู้ภัยเงียบ

สถานการณ์โรคเบาหวานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) กำลังทวีความรุนแรงขึ้น และคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะมีภาระค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจจากโรคเบาหวานสูงที่สุดในโลกภายในปี 2030 ซึ่งโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงได้ เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคและยังนำไปสู่ภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดร.อเล็กซ์ เตียว ผู้อำนวยการและฝ่ายพัฒนาการวิจัย

โรคมือ เท้า ปาก มักพบได้บ่อยในเด็กเล็กที่... "โรคมือ เท้า ปาก" ไวรัสตัวจิ๋ว ปกป้องลูกรักด้วยวัคซีนป้องกัน — โรคมือ เท้า ปาก มักพบได้บ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีและจะมีการระบาดอย่างมากในช่วงอาก...

โรคเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว... "เบาหวาน"... รู้ไวป้องกันได้ ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย — โรคเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนที่บกพร่อง...

โรงพยาบาลสมิติเวช ขอเรียนเชิญแพทย์ พยาบาล... โรงพยาบาลสมิติเวช จัดสัมมนาวิชาการ Advanced Age Emergency and Critical Care Forum - EP1 — โรงพยาบาลสมิติเวช ขอเรียนเชิญแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ทุกท...

รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.ว... รพ.ธนบุรี จับมือ รพ.ศิริราช จัดงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านกระดูกสันหลังนานาชาติ — รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าท...

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เจอเคสผู้ป่วยหญิงอา... ประจำเดือนมาเจ็บหน้าอกทุกที สาเหตุโรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด — เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เจอเคสผู้ป่วยหญิงอายุราว 40 ปี มารักษาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็น ๆ หาย...